⚠️ 1. การดูค่ากรดยูริก ถ้ามีกรดยูริกสูงจะยิ่งเสี่ยง เมื่อไปตรวจยูริกเราจะอดอาหารเพื่อไปตรวจ แล้วค่ายูริกที่ดีควรจะน้อยกว่า 6 ควรคุมค่ายูริกให้อยู่ในเกณฑ์นี้ ⚠️ 2. การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูภาวะไขมันพอกตับ หากมีภาวะไขมันพอกตับจะยิ่งเสี่ยง เวลาที่มีไขมันพอกตับเยอะๆ จะยิ่งทำให้ตับเกิดการอักเสบ ปกติเวลาไปตรวจสุขภาพจะมีการตรวจค่าเอนไซม์ตับ ซึ่งจะสัมพันธ์กับ ALT (alanine aminotransferase) มากที่สุด ถ้ามี ALT สูงบ่งบอกว่าอาจมีไขมันพอกตับ ถ้ามีค่าเอนไซม์ตับสูงแสดงว่า เกิดไขมันพอกตับแล้วและจะทำให้เกิดตับอักเสบด้วย ⚠️ 3. การดูน้ำตาล ดูได้ 2 แบบ คือ 🔸 1. ค่าน้ำตาลทั่วไป ถ้าน้ำตาลเกิน 100 จะยังไม่เป็นเบาหวาน เพราะเบาหวานจะต้องมีค่าน้ำตาลเกิน 126 แต่หากมีค่าน้ำตาลอยู่ในช่วง 100-126 คือ คุณมีภาวะก่อนเบาหวาน ควรต้องระวังเรื่องน้ำตาลให้มากขึ้น 🔸 2. ค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งจะสามารถดูย้อนหลังได้เลยว่า ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดของเรา 3 เดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง? การกินอาหารต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง? […]
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
นับวันร่างกายก็ถดถอยลง อายุมากขึ้น ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัย เตรียมรับมือหาทางแก้และเรียนรู้ให้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในผู้ชายและผู้หญิงวัยกลางคนหรือที่เรียกง่ายๆว่า ‘วัยทอง (Golden age)’กัน ฮอร์โมนเพศหญิงมี 2 ประเภทคือ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกความเป็นผู้หญิง และเอสโตรเจน ปกป้องไม่ให้เป็นมะเร็ง เป็นฮอร์โมนผู้หญิงที่ทำให้มีหน้าอก สะโพก ผิวพรรณดี โปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่เบรกเอสโตรเจน ทำให้สงบ ไม่เหวี่ยงวีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่โดยมากจะลดลงก่อนเอสโตรเจนเมื่อมีอายุมากขึ้น อาการผู้หญิงวัยทอง (Menopause) วัยใกล้หมดประจำเดือนหรือหมดแล้ว คือมีอารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ผิวแห้ง ริ้วรอยเพิ่มขึ้น นอนหลับยาก ส่วนฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ทำให้ผู้ชายอารมณ์ดี กล้าตัดสินใจ และมีความมั่นใจมากขึ้น อาการของผู้ชายวัยทอง คือ สมรรถภาพทางเพศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า ง่วงนอน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เหนื่อยง่าย นอกจากอาการต่างๆ ในวัยทองแล้ว ความเสื่อมต่างๆ ของคนในวัยทองก็จะตามมา เช่น โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคคอเลสเตอรอล/ความดันสูง […]
ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ยูริกสูง คือ การขับยูริกออกจากร่างกายได้น้อย โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนที่ควรระวังอย่างมาก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวช่วยขับยูริกออก แล้วเมื่อหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนก็จะลดลง การขับกรดยูริกออกก็จะลดลงไปด้วย ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ถ้าดื่มน้ำเยอะยูริกก็ขับออกได้เยอะ อาจปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงด้วย Female Hormones ช่วยให้ฮอร์โมนเพศหญิงสมดุลมากขึ้น หลับสบาย ต้านเครียด เสริม Magnesium ช่วยให้ร่างกายมีความเป็นด่างมากยิ่งขึ้น และช่วยขับยูริกออกได้ดี Multimineral ทำให้ร่างกายเป็นด่าง ช่วยขับยูริกออกได้ดีขึ้น Bluvas มีส่วนผสมของ Celery ที่ช่วยลดกรดยูริกและความดันโลหิตได้ ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ยูริกสูง คือ การขับยูริกออกจากร่างกายได้น้อย โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนที่ควรระวังอย่างมาก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวช่วยขับยูริกออก ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ถ้าดื่มน้ำเยอะยูริกก็ขับออกได้เยอะ อาจปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงด้วย Female Hormones ช่วยให้ฮอร์โมนเพศหญิงสมดุลมากขึ้น ต้านเครียด เสริม Magnesium ช่วยให้ร่างกายมีความเป็นด่างมากยิ่งขึ้น Multimineral ช่วยขับยูริกออกได้ดีขึ้น Bluvas มีส่วนผสมของ Celery ที่ช่วยลดกรดยูริกและความดันโลหิตได้
ความดันโลหิตสูงเป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดสมอง พบว่า 80% ของคนที่เส้นเลือดสมองแตกเป็นคนที่มีความดันโลหิตสูง พอเส้นเลือดสมองแตกอาการที่ตามมาก็จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต นอนติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งการที่เป็นโรคนี้มักเกิดกะทันหัน บางทีอยู่ดีๆ เส้นเลือดจะแตกก็แตกเลย แตกปุ๊ปก็มีอาการเลย จึงควรคุมความดันให้ดี งดรับประทานอาหารเค็ม น้ำซุป น้ำแกง อาหารแปรรูป ควรรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียม เช่น ฝรั่ง มัน กล้วย ผักโขม อะโวคาโด หรือรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วชนิดต่างๆ อีกทั้งควรคุมยูริกเพราะยูริกที่สูงในเลือดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันสูงและทำให้ไตวายได้ จึงอาจคุมความดันด้วย Bluvas ที่มีส่วนประกอบของ Magnesium, Celery, L-Arginine จะช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดกรดยูริกที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และช่วยเพิ่มการสร้างไนตริกออกไซด์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว #อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #Disease #ความดันโลหิตสูง #เส้นเลือดสมองแตก #กรดยูริก
ความเสี่ยง และ วิธีป้องกัน Stroke (สโตรก) หลอดเลือดในสมองตีบ Stroke หรือ “โรคหลอดเลือดสมอง” เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองบางส่วนตายและสูญเสียการทำงานไป หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ บทความนี้ ทีมแพทย์ “Health Focus Clinic” จะมาเจาะลึกถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกัน Stroke โดยเฉพาะสาเหตุจาก “เส้นเลือดสมองตีบ” ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเริ่มต้นดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง “สโตรก คือ” อะไร “Stroke (สโตรก) คือ” ภาวะที่สมองได้รับความเสียหายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นๆ ตายภายในเวลาอันสั้น ซึ่งมีผลทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหว การพูด ความคิดความเข้าใจ หรือการรับรู้ผิดปกติไป ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อสมองส่วนใดได้รับผลกระทบ “อาการสโตรก” มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้านานนัก ผู้ป่วยจึงมักจะไม่ทันตั้งตัว และเข้ารับการรักษาล่าช้า ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีอาการรุนแรงมากขึ้นไปอีก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด “โรคหลอดเลือดสมอง” ปัจจัยที่มีผลเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ อายุ ยิ่งสูงอายุ ความเสี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป เพศ […]
Stroke หรือ “โรคหลอดเลือดสมอง” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการสูงที่สุดอีกด้วย ผู้ป่วยที่รอดชีวิตส่วนใหญ่มักมีอาการอัมพาตครึ่งซีก พูดลำบาก กลืนลำบาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก แม้ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปมาก แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ผู้ป่วย Stroke ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี วันนี้จะมาไขข้อข้องใจว่า “โรคหลอดเลือดสมอง” นั้นรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ พร้อมแนะนำแนวทางการดูแลรักษาแบบ Anti-aging และเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อหวังลดการพึ่งพายา และป้องกันไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำอีก “Stroke คือ” อะไร “Stroke (สโตรก) คือ” ภาวะที่สมองได้รับความเสียหายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เนื้อสมองบางส่วนตายและสูญเสียการทำงานไป อาจมีสาเหตุจากเส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน ถ้าอุดตันเรียกว่า Ischemic stroke แต่ถ้าแตกจะเรียกว่า Hemorrhagic stroke ซึ่งทั้ง 2 แบบจัดเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องรีบรักษาอย่างทันท่วงที มิเช่นนั้นความเสียหายของสมองจะลุกลามจนเกินเยียวยา “เส้นเลือดในสมองตีบอาการเริ่มแรก” “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่มีสาเหตุจาก “หลอดเลือดสมองตีบ” อาจจะแสดงอาการนำร่องบางอย่างก่อนเกิด Stroke เต็มรูปแบบ “อาการสโตรก” เริ่มแรกที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนแรงหรือชาที่ใบหน้า แขน ขา […]
“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือที่เรียกว่า Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลายและเสียการทำงานไป ผู้ที่เคยมี “อาการสโตรก” มาแล้ว นอกจากต้องพักฟื้นและทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำเป็นอย่างมาก เพราะการเกิด “อาการสโตรก” ซ้ำซ้อนจะทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรมลงไปอีก บางรายถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ รู้จัก “โรคหลอดเลือดสมอง” ให้มากขึ้น “โรคหลอดเลือดสมอง” เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทั้งจากภาวะ “หลอดเลือดสมองตีบ” อุดตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองขาดออกซิเจนและสารอาหาร จนเซลล์สมองค่อยๆ ตายลงในที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทตามมา เช่น อาการอัมพาตแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง พูดลำบาก สับสน มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ เป็นต้น โดยระยะเวลาที่เนื้อสมองจะถูกทำลายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการขาดเลือด และความรวดเร็วของการรักษา ป้องกัน Stroke ด้วย 8 วิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ความดันโลหิตสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆ ของ “โรคหลอดเลือดสมอง” เพราะจะไปทำลายผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดการตีบแคบ ตัน และโป่งพอง จนมีโอกาสแตกทะลุได้ง่าย ควรวัดความดันโลหิตสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ร่วมกับการรับประทานยาลดความดันตามแพทย์สั่ง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด […]
“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที มิเช่นนั้นเซลล์สมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะค่อยๆ ตายลงเรื่อยๆ จากประสบการณ์ของ หมออรรถ อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองและเวชศาสตร์ชะลอวัย แห่ง “Health Focus Clinic” พบว่าหลายครั้งผู้ป่วยและญาติมักจะมีความเข้าใจผิดหรือปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ทางคลินิกจึงได้รวบรวมข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มี “อาการสโตรก” มาฝากกัน ดังนี้ “Stroke คือ” อะไร “Stroke คือ” ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเฉียบพลัน เนื่องจากหลอดเลือดสมองเกิดการอุดตันหรือแตกทะลุ ทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นๆ ถูกทำลายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซีก อ่อนแรง ชา พูดลำบาก สับสน ปวดศีรษะรุนแรง ตามตำแหน่งของหลอดเลือดสมองที่มีปัญหา ซึ่งเป็นอาการเตือนที่ผู้ป่วยและญาติควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ “เส้นเลือดในสมองตีบอาการเริ่มแรก” หากเส้นเลือดในสมองเกิดการตีบแคบหรืออุดตัน จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ เนื้อสมองส่วนนั้นก็จะค่อยๆ ขาดออกซิเจนและสารอาหาร จนในที่สุดก็จะตายไป โดย “อาการสโตรก” ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะอ่อนแรงหรือชาที่แขนขาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง ใบหน้าเบี้ยว ลากเท้าขณะเดิน พูดลำบาก ปากเบี้ยว สับสน มึนงง ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ถ้าพบอาการผิดปกติเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ยิ่งได้รับการวินิจฉัยและรักษาเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสรักษาหายและฟื้นตัวได้มากขึ้น […]
การดูแลผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ ผู้ที่มี “อาการสโตรก” ภายหลังกลับมาพักฟื้นที่บ้านนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อช่วยเสริมการรักษา ฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วย Stroke ที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนัก การปฏิบัติตัวในการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยดีขึ้น ลดความพิการจากการเป็นโรคได้ โดยมีวิธีปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้ 1. ให้อาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม ผักต้ม ไม่ควรให้อาหารแข็งหรือต้องเคี้ยวมาก ผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” มักมีอาการอ่อนแรง พูดลำบาก กลืนลำบาก การให้อาหารจึงควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม ซุป โจ๊ก ไข่ต้ม ผักต้มสุกโขลกน้ำ ฯลฯ เป็นต้น เพื่อง่ายต่อการกลืนและไม่ต้องเคี้ยวมาก ควรหลีกเลี่ยงอาหารแห้งที่ต้องเคี้ยวนาน อาหารแข็ง หรืออาหารที่มีเส้นใยมาก เพราะอาจทําให้แทรกซ้อนการกลืนได้ 2. ช่วยพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ การช่วยพลิกตัวผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” บ่อยๆ จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนกดทับที่สำคัญ คือ แผลกดทับ (Bedsore) ซึ่งเป็นแผลเปื่อยที่เกิดจากการกดทับบริเวณกระดูกสะโพก […]
“Stroke คือ” โรคที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ทําให้เซลล์สมองบางส่วนเสียหาย มี 2 ชนิดคือ “เส้นเลือดสมองตีบ” และเส้นเลือดในสมองแตก ผู้ป่วย Stroke มักมีประวัติความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติอยู่แล้ว การรับประทานอาหารบางประเภทจะยิ่งกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติ นำไปสู่การเกิด Stroke ซ้ำได้ง่าย จึงควรเลี่ยงอาหารประเภทที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ซึ่งควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท ดังนี้ อาหารรสเค็ม อาหารเค็มจะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง Stroke สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผัดไท กะปิ ปลาร้า กุ้งเค็ม หมูยอ เป็นต้น อาหารรสเค็มจะทําให้เสี่ยงเกิด “อาการสโตรก” ได้ เพราะอาหารเค็มจะทําให้ร่างกายเก็บน้ำไว้มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิด “โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke และอาหารเค็มก็มีโซเดียมซึ่งเป็นตัวการสําคัญ ทําให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว เสี่ยงต่อการอุดตันและเกิด Blood clot อีกด้วย อาหารหวาน น้ำตาล อาหารหวานจะทําให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง Stroke […]