ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันสูงถึง 7 ล้านคนทั่วโลก สาเหตุหลักคือการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังหัวใจได้ ส่งผลให้หัวใจขาดออกซิเจนและหยุดทำงานชั่วขณะ หรือในบางกรณีอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายไปได้ ภาวะหัวใจวายเกิดจากอะไร? ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้จะกลายเป็นตะกรัน (Plaque) และเมื่อแตกตัว ร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างลิ่มเลือดเพื่อซ่อมแซม แต่กลับทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้เต็มที่ และทำให้หัวใจขาดออกซิเจน ไขมันสะสมในหลอดเลือดเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันเลวเป็นประจำภาวะเครียดที่ทำให้ร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้นการพักผ่อนน้อยและน้ำหนักเกินจากการไม่ออกกำลังกาย อาการเตือนของภาวะหัวใจวาย เจ็บแน่นหน้าอกเหนื่อยง่าย หายใจสั้น หายใจไม่สะดวกเหงื่อออกง่าย หน้ามืดบ่อยปวดแขนซ้าย กราม หลัง หรือท้องคลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้มักไม่ชัดเจนในผู้หญิงและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เหนื่อยง่ายอยู่แล้ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่แสดงอาการเหล่านี้เลย การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก วิธีป้องกันหัวใจวาย ออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแรงต้านทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันเลวน้อยทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะพร้าว อโวคาโด ไขมันจากปลาทะเลคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์งดสูบบุหรี่พักผ่อนให้เพียงพอหากมีอาการต้องเตรียมตัวรับมืออาการฉุกเฉินให้พร้อมทานอาหารเสริมป้องกันหลอดเลือดอุดตันที่เป็นสาเหตุของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน คือ CoQ10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการอักเสบของหลอดเลือด ป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะหลอดเลือด ป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวได้ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเป็นอันตรายร้ายแรงที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในด้านการออกกำลังกาย การเลือกอาหารที่ดี และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง การดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและป้องกันภาวะหัวใจวายในอนาคตได้ค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine […]
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
หากปล่อยให้มีไขมันในเลือดสูงจะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ภาวะหัวใจหยุดเต้น จึงควรคุมอาหารประเภทที่มีไขมันทรานส์ (Trans Fat) เพราะไขมันทรานส์ทําให้ค่า LDL ขึ้นสูงได้มากที่สุด ควรนอนให้เร็ว นอนก่อน 22.00 น. ถ้าเกิดเรานอนดีการฟื้นฟูฮอร์โมนของร่างกายจะทําได้ดี ควรรับประทานมื้อเย็นให้น้อย ไม่ควรรับประทานอาหารแคลอรี่สูงในมื้อเย็น เพราะคอเลสเตอรอลสร้างตอนกลางคืนได้มากขึ้น ปกติแล้ว 70%-80% ของไขมันที่อยู่ในเลือดเกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง แล้วเกิดจากการรับประทานอาหาร 20%-30% ดังนั้นจึงควรหาอาหารเสริมที่ไปลดการสร้างคอเลสเตอรอลของร่างกาย นั่นคือ โพลิโคซานอล สารสกัดจากข้าวโพด และ Red Yest Rice สารสกัดจากยีสต์แดง หรือเสริม Lipizone ที่มีส่วนประกอบของ Red Yeast Rice, Policosanol ก็จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยลด LDL และไตรกลีเซอไรด์ได้.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj […]
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างฉับพลัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่, มีความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, คอเลสเตอรอลสูง และหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งสามารถตรวจพบจากค่าต่าง ๆ เช่น CRP และ Homocysteine ในการตรวจสุขภาพประจำปี อาการที่ควรระวัง การเจ็บหน้าอกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เจ็บขณะพัก โดยไม่ต้องออกแรง เช่น เจ็บขณะนอนหลับ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เจ็บขณะออกแรง แม้จะรุนแรงน้อยกว่า แต่หากอาการไม่หายไปภายใน 20 นาที ก็ควรรีบไปโรงพยาบาลเช่นกัน การป้องกัน เน้นการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบและตีบตัน ได้แก่ ลดน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดและกระตุ้นการเกิดคอเลสเตอรอลสะสม หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีโอเมก้า 6 สูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งทำให้หลอดเลือดอักเสบ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ติดมันที่มีโอเมก้า 6 สูง แนะนำให้เสริม Fish Oil […]
วิตามินดี เป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นส่วนประกอบคล้ายฮอร์โมนและทุกๆ เซลล์ในร่างกายของเรา แล้วร่างกายเราจะขาดวิตามินดี ไม่ได้ ส่วนมากคนไทยมักขาดวิตามินดี เพราะว่าคนไทยส่วนมากกลัวแดด ไม่ค่อยโดนแดด วิตามินดี ปกติเราจะได้รับจากแสงแดด โดยแสงแดดจะมาเปลี่ยนคอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามินดี กลุ่มคนที่ขาดวิตามินดี คือ กลุ่มคนที่เป็นโรคตับ โรคไต เพราะว่าเมื่อโดนแดดและมีการสังเคราะห์วิตามินดี จะต้องใช้ตับ ใช้ไต ช่วยเปลี่ยนวิตามินดี ให้ Active และใช้งานได้ เพราะฉะนั้นคนที่ตับและไตไม่ดีจึงขาดวิตามินดี ไปด้วย วิตามินดี พบได้มากในจำพวกปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ไข่แดง ตับ นม เห็ด ซึ่งบางครั้งวิตามินดี ที่ได้รับอาจมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอในการรับประทานจากอาหารเพียงอย่างเดียว กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการขาดวิตามินดี คนที่มีสีผิวคล้ำ คนที่อายุมาก หรือผู้สูงอายุ คนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน คนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทปลา คนที่อยู่ในเขตประเทศที่ไม่ค่อยมีแสงแดด คนที่ใช้ครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน คนที่อยู่แต่ในที่ร่มตลอดเวลา แทบไม่ค่อยออกข้างนอก 8 อาการที่บอกว่า คุณกำลังขาดวิตามินดี ป่วยบ่อยและติดเชื้อไวรัสง่าย เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ […]
การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อวัยวะสำคัญในร่างกายอาจถึงขั้น ‘พัง’ ได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ป่วยเป็นภาวะความดันโลหิตสูง และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ภาวะความดันโลหิตสูงนี้ เกิดจากหลายปัจจัยรวมถึงสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น บริโภคอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน เช่น อาหารรสเค็ม หวาน มันสูง การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความดันโลหิตที่สูงขึ้นได้ ความดันโลหิตสูงถูกเรียกว่า ‘ภัยเงียบ’ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจนจนกว่าจะถึงระยะที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น วิงเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาไหล หอบหายใจเร็ว แน่นหน้าอก หรือมือเท้าชา เป็นต้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง หากปล่อยให้ภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการควบคุมอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย ได้แก่ 1. สมอง : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก นำไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเลือดออกในสมอง 2. หัวใจ : ความดันโลหิตสูงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาและแข็งตัวขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตในที่สุด […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการกินของทอด ของมัน แถมยังดื่มหนักๆ เป็นประจำ คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเดินเข้าสู่ความเสี่ยงของ “ภาวะไขมันพอกตับ” ซึ่งเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นค่ะ ภาวะไขมันพอกตับคืออะไร? ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของไขมันในตับเกินกว่าปกติ โดยปกติตับไม่ควรมีไขมันเกิน 5-10% ของน้ำหนักตับ เมื่อไขมันสะสมมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุดค่ะ ถือเป็นภัยเงียบเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่จะค่อยๆ ส่งผลร้ายต่อตับโดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจากมักไม่มีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจน สาเหตุหลักๆ ของไขมันพอกตับ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การบริโภคอาหารไขมันสูง ของทอด Junk Food โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อตับ เช่น ยาสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส ระยะของไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ค่ะ: ระยะที่ 1: ไขมันสะสมในตับโดยไม่มีอาการอักเสบ ระยะที่ 2: ตับเริ่มมีอาการอักเสบ อาจนำไปสู่อักเสบเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา ระยะที่ 3: ตับถูกทำลายและเริ่มมีการสร้างพังผืดจากอาการอักเสบรุนแรง ระยะที่ 4: ตับถูกทำลายอย่างรุนแรง […]
“โรคไต” เป็นภัยเงียบที่หลายคนอาจไม่ตระหนักถึงความรุนแรงจนกว่าจะถึงจุดที่ยากจะแก้ไขได้ การสังเกตสัญญาณเตือนจึงเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและจัดการกับโรคไตให้เร็วที่สุด วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 7 สัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงต่อโรคไต เพื่อช่วยให้คุณและคนรอบข้างสามารถเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพไตของตนเองได้อย่างทันท่วงทีนะคะ สัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเสี่ยง “โรคไต” ปกติในการสังเกตอาการโรคไตนั้น สามารถพิจารณาได้ 2 ทาง คือ จากลักษณะปัสสาวะที่ผิดปกติ กับอาการทางกายที่ผิดปกติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ อาการทางปัสสาวะ 1. ปัสสาวะมีเลือดปน อาจเป็นสัญญาณของหลายๆ โรค เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในไต หรือภาวะไตอักเสบ ในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับเนื้องอกหรือมะเร็งไต หากพบเห็นเลือดในปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 2. ปัสสาวะเป็นฟอง ถ้าฟองไม่หายไปหลังจากปัสสาวะแล้วช่วงหนึ่ง หรือภายใน 1 นาที อาจบ่งบอกถึงโปรตีนหลุดรั่วไปในปัสสาวะ เนื่องจากมีความผิดปกติทางระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับไต หรืออาการของโรคเบาหวาน ซึ่งควรไปตรวจดูว่ามีโปรตีนหรือน้ำตาลมากเกินไปในปัสสาวะหรือไม่ 3. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หากคุณมีอาการปัสสาวะน้อยลงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แม้จะดื่มน้ำในปริมาณเท่าเดิมหรือดื่มมากขึ้นก็ตาม นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาในไต เช่น ภาวะไตเสื่อม หรือทางเดินปัสสาวะอุดกั้น 4. ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน การต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะหลายครั้งในช่วงกลางคืน อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติอื่นๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงโรคไต […]
ทุกคนคงรู้กันแล้วใช่ไหมคะ ว่าน้ำมันปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะช่วยเรื่องต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการปวดข้อ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเรื่องความจำให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยค่ะ น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดมาจากปลาจากแหล่งธรรมชาติค่ะ โดยในน้ำมันปลาจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เข้มข้นอยู่ค่ะ ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเราอย่างมากเลยล่ะคะ แต่ร่างกายเราก็ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ค่ะ แล้วในกรดไขมันโอเมก้า 3 จะมีกรดไขมันสำคัญอยู่ 2 ตัวที่เราต้องการ นั่นคือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ค่ะ โดย EPA จะช่วยเรื่องหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อมได้ค่ะ ส่วน DHA จะช่วยเรื่องสมองและดวงตา ช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาให้ดีขึ้นได้ค่ะ แล้วอย่างที่บอกไปค่ะว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริม ทุกวันนี้จึงมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลา (โอเมก้า 3) วางจำหน่ายกันอย่างมากในท้องตลาดเลยค่ะ แต่ละยี่ห้อ แต่ละแบรนด์ก็มีส่วนผสมในน้ำมันปลาที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ในท้องตลาดส่วนมากเรามักเห็นน้ำมันปลาขนาดเม็ดละ 1,000 mg ใช่ไหมคะ […]
ภาวะกรดยูริกสูง เคยได้ยินกันบ่อยเลยใช่มั้ยคะ เพราะสิ่งนี้คือสาเหตุหลักของโรคโรคเกาต์แน่ๆ แต่ทราบไหมคะ ว่านอกจากโรคเกาต์แล้ว กรดยูริกยังเป็นตัวต้นเรื่องของอีกหลายโรคและเราควรทำอย่างไรจึงจะรักษาระดับกรดยูริกในร่างกายของเราไว้ไม่ให้มันสูงเกิน กรดยูริก “กรดยูริก” (Uric Acid) ในร่างกายของเรานั้นเกิดมาจากสองอย่างค่ะ อย่างแรกร้อยละ 80 คือ เกิดจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายขณะที่ร่างกายมีการสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ อย่างที่สองร้อยละ 20 คือ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีกรดยูริกสูง เมื่อกรดยูริกสูง การที่ร่างกายของเรามีกรดยูริกสูง หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง” (Hyperuricemia) นั้นหลักๆ เลย คือเกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายมากเกินกว่าความสามารถของไตที่จะขับออกหรือละลายกรดได้ (Monosodiumurate) หรือจากปัญหาในการทำงานของไตเอง จึงทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติสำหรับผู้ชายคือสูงกว่า 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนในผู้หญิงคือสูงกว่า 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตรค่ะ โรคเกาต์ หากเรามีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงติดต่อกันนานหลายปี จะก่อให้เกิดการตกผลึกของยูเรต (Urate Crystal) ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบหรือโรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง จากการศึกษาพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงกับความดันโลหิตสูงนั้นแปรผันตามกัน กรดยูริกที่สูงจะทำให้หลอดเลือดแดงที่เข้าสู่ไตหนาขึ้น ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาค่ะ หลอดเลือดเสื่อม เมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วนั้น แน่นอนหลอดเลือดเสื่อมย่อมตามมา เนื่องจากแรงดันเลือดจากหัวใจสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เสื่อมเร็ว และแตกง่าย โรคไต ผลจากการที่มีระดับยูริกสูงมากๆ […]
คุณคงเคยได้ยินว่า “ไต” นั้นสำคัญแค่ไหนกับร่างกายเรา เพราะมันทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งหากไตของเรามีปัญหา ก็จะส่งผลต่อการขับของเสียในร่างกาย เกิดอาการตัวบวม และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายหรือไตล้มเหลวก็ได้! โดยในประเทศไทยมีประชากรกว่า 17.5% ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งไม่ใช่แค่คนที่อายุมากแค่นั้นนะคะ แต่เด็กๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ด้วยเช่นกันค่ะ ดังนั้น การดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้ ซึ่งอาหารที่เราเลือกมาทานก็มีส่วนในการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตมากมายเลยทีเดียว อย่างเช่น อาหารรสเค็ม ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูง ผงชูรส ผงปรุงรส และซอสต่างๆอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักกาดดองอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน ซึ่งมีสารปรุงแต่งหลายอย่างอาหารกระป๋อง เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องปลากระป๋อง ซึ่งมักจะใส่สารกันบูดและมีปริมาณโซเดียมสูงอาหารที่มีไขมันสูงและคอเลสเตอรอลสูง เช่น กะทิ ไข่แดง หมูสามชั้น เนื้อสัตว์ติดมันอาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก คุกกี้ เบเกอรี่ ของหวาน ขนมที่ใส่กะทิ แต่ไม่ต้องห่วง วันนี้เรามีข้อแนะนำการเลือกทานอาหารที่ดีต่อไตมาฝากกันค่ะ ตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์ ควรรับประทานจำพวกปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำและโอเมก้า 3 หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันไข่ขาววันละ 2-3 […]