การดูแลสุขภาพในวัยทำงานเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะกิจวัตรประจำวันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การทำงานหน้าจอคอมนานๆ ประชุมไม่หยุดหย่อน ไม่ค่อยได้พักผ่อนหรือออกกำลังกาย และการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล ขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น แม้วิตามินและแร่ธาตุจะเป็นสารอาหารรอง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาและเสริมสร้างประสิทธิภาพของร่างกาย ในที่นี้ จะแนะนำวิตามินที่เหมาะสมสำหรับอาการทางกายที่เกิดจากวิถีชีวิตของคนวัยทำงานกันค่ะ ปัญหาผิวแห้ง ริ้วรอย ผิวไม่สดใส วิตามินซี: ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม, เบอร์รี, ผักคะน้า, บรอกโคลี (ไม่เกิน 2,000 มก./วัน) วิตามินเอ: ผักผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียว เช่น ตำลึง, ฟักทอง (ชาย 900-1,000 ไมโครกรัม/วัน, หญิง 700-800 ไมโครกรัม/วัน) โอเมก้า 3: ปลา, ถั่ว คอลลาเจน: ผักใบเขียว เช่น คะน้า, หน่อไม้ฝรั่ง, ดาร์กช็อกโกแลต (ไม่เกิน 10,000 มก./วัน) ธาตุเหล็ก: ตับ, เนื้อสัตว์, ไข่แดง, […]
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
ตับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานหนักเพื่อกรองสารพิษ สร้างโปรตีน และเก็บพลังงาน แต่ไลฟ์สไตล์ปัจจุบันทำให้ โรคตับ กลายเป็นภัยใกล้ตัว รู้ตัวอีกทีก็อาจสายเกินแก้ มาดู 3 พฤติกรรมเสี่ยง พร้อมวิธีป้องกันง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้! สายดื่ม สายปาร์ตี้ โรคที่เสี่ยง: ตับแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้ตับสะสมพังผืด จนตับเสียหายถาวร สัญญาณอันตราย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องบวม เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ลดหรือเลิกแอลกอฮอล์ ดื่มไม่เกิน 1-2 ดริงค์/วัน (เบียร์ 1 กระป๋อง = 13 กรัม) สายหวาน สายมัน โรคที่เสี่ยง: ไขมันพอกตับ ไม่ใช่แค่คนอ้วน! คนผอมแต่ชอบกินหวาน-มัน และไม่ออกกำลังกาย ก็เสี่ยงเช่นกัน สัญญาณอันตราย โรคนี้มักไม่มีอาการในระยะแรก แต่สามารถพัฒนาไปเป็นตับแข็งได้ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ลดอาหารหวาน มัน และจังก์ฟู้ด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 150 นาที/สัปดาห์ สายรักสนุก ไม่ป้องกัน […]
ในยุคที่ใครก็เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง สภาพแวดล้อมและอาหารที่เราทานเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสเสี่ยง หากคุณยังทานอาหารเหล่านี้บ่อยๆ ควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้! 1. อาหารแปรรูปและปรุงแต่ อาหารอย่างไส้กรอก เบคอน และเนื้อเค็มมักมีสาร ดินประสิว (โปตัสเซียมไนเตรต) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่ 2. อาหารปิ้งย่าง รมควัน การย่างเนื้อที่โดนควันไฟทำให้เกิดสาร PAH ที่สะสมในร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในระยะยาว 3. อาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ น้ำมันที่ใช้งานซ้ำๆ สร้างสาร อะคริลาไมด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร 4. อาหารไขมันสูง ไขมันจากเนื้อแดง น้ำมันปาล์ม หรือไขมันแปรรูป อาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก 5. อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง แม้เกลือมีประโยชน์ แต่การบริโภคมากเกินไปอาจเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร 6. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ถูกเปลี่ยนเป็น อะเซทแอลดีไฮด์ ที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง โดยเฉพาะหากสูบบุหรี่ร่วมด้วย วิธีลดความเสี่ยง เลือกอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้วิธีอบ ต้ม หรือนึ่ง เพิ่มผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอและอีในทุกมื้อ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะสุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวคุณเอง! […]
ท้องผูก ท้องอืด นิ่วในไต ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง หลอดเลือดแข็งตัวและเสื่อม โรคดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดต่างๆ ส่วนมากปัญหาของคนที่รับประทานแคลเซียม คือ การรับประทานแคลเซียมที่ดูดซึมได้ไม่ดี จึงส่งผลให้… ท้องผูก ท้องอืด มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต บางกรณีได้รับมากเกินไปก็อาจทำให้แคลเซียมสะสมในเลือด กลายเป็นภาวะแคลเซียมในเลือดสูง บางคนรับประทานแคลเซียมผิดฟอร์ม เมื่อรับประทานเข้าไปจะเกาะเป็นตะกอนหินปูนอยู่ในหลอดเลือด เวลาที่มีหินปูนเกาะก็จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เกิดหลอดเลือดเสื่อม ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เกิดโรคหลอดเลือดต่างๆ จึงควรรับประทานแคลเซียมในฟอร์ม Chelated Calcium เป็นฟอร์มที่ปลอดภัย ร่างกายดูดซึมได้ดี ช่วยเสริมสร้างกระดูก ปกป้องแคลเซียมในทางเดินอาหาร #อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #แคลเซียม #กระดูก #CalciumChelate
ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งการประเมินระดับไขมันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคำนวณดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ตรวจระดับคอเลสเตอรอล นำค่าคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) หารด้วยค่า HDL (ไขมันดี) หากผลลัพธ์มากกว่า 4 แสดงว่าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง การประเมินนี้ช่วยให้ทราบความเสี่ยงเบื้องต้นในการมีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ นำค่าไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หารด้วยค่า HDL (ไขมันดี) หากผลลัพธ์มากกว่า 2 แสดงว่าคุณมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ความเสี่ยงจากไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตรกลีเซอไรด์สูงทำให้ไขมันสะสมที่ตับ เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) และตับอักเสบได้ หากตับอักเสบเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับในระยะยาว การประเมินไขมันในเลือดด้วยวิธีนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ควรตรวจสุขภาพกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมปรับพฤติกรรม เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกาย ใครคำนวณแล้วได้เท่าไหร่ มาแชร์กันได้นะคะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย Line […]
อาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตื่นเต้น เครียด วิตกกังวล หรืออาจมาจากการดื่มกาแฟมากเกินไป แต่ถ้าใครมีอาการมือสั่นอย่างรุนแรงและไม่สามารถหาสาเหตุได้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงานได้เลยค่ะ “มือสั่น” แบบไหนเสี่ยงโรคร้าย? อาการมือสั่นมีทั้งแบบที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยมีจุดที่สังเกตเบื้องต้นได้ดังต่อไปนี้ค่ะ: 1. หากมีอาการมือสั่นทั้ง 2 ข้าง และพบว่าสัมพันธ์กับความเครียด ความวิตกกังวล การทำงานหรือออกกำลังกายหักโหม หรือการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจเป็นอาการมือสั่นที่พบได้ตามปกติและไม่เป็นอันตราย อาการนี้มักจะหายไปเองได้หากปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม โดยมีแนวทางดูแลตัวเองดังนี้ค่ะ – หาวิธีจัดการกับความเครียดและวิตกกังวลที่เข้ามา เช่น ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ทำสมาธิ หรือโยคะ – พักจากงาน หาเวลาว่างทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานอดิเรก – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน – ออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไป เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยานเบาๆ หรือว่ายน้ำ – ลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง 2. […]
‘ตับ’ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย… เอาแค่เรื่องนี้ก็อาจนับเป็นความรู้ใหม่แล้วสำหรับหลายๆ คนนะคะ นอกจากตับจะมีขนาดใหญ่ที่สุดแล้ว หน้าที่ของตับในการกรองของเสียและกำจัดสารพิษที่ตกค้างในร่างกายนั้นก็มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ดังนั้นการใส่ใจดูแลสุขภาพน้องตับของเราแท้จริงแล้วจึงมีความสำคัญ ไม่เช่นนั้นอาจนำมาซึ่งภาวะโรคตับอักเสบได้ค่ะ โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่เซลล์ตับเกิดการอักเสบ ทำให้ตับเกิดความเสียหายจนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา โดยหากเราปล่อยให้ตับอักเสบอย่างเรื้อรัง ความอักเสบนี้จะส่งผลกระทบทำให้การทำงานของตับผิดเพี้ยน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายอย่างโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ โรคตับอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ และความน่ากลัวอยู่ที่ทุกคนนั้นสามารถที่จะเป็นโรคนี้ได้ค่ะ โรคตับอักเสบที่พบมากที่สุดคือ : โรคตับอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ และพฤติกรรมการทานอาหารที่มีไขมันสูง โรคไวรัสตับอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งสายพันธุ์ที่พบบ่อยได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ A, B, และ C ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบส่วนใหญ่ได้แก่ พฤติกรรมการทานอาหารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ หรืออาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง การได้รับสารเคมีหรือใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน การใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ อาการของผู้ป่วยโรคตับอักเสบโดยรวมมีลักษณะคล้ายกันคือ มีอาการปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือเจ็บใต้ชายโครงด้านขวา ปัสสาวะเป็นสีเข้ม ตัวและดวงตามีสีเหลืองหรือภาวะดีซ่าน ถ้าเราอยากป้องกันและดูแลน้องตับให้เค้าแข็งแรงและอยู่กับเราไปได้นานๆ โดยเบื้องต้นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรค เช่น อาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ควรออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ, มีการรักษาสุขอนามัยขั้นพื้นฐานอยู่เสมอ […]
โรคเกาต์โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจนิ่วในทางเดินปัสสาวะไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้เป็นผลพวงที่เกิดจากยูริกสูง ดังนั้นจึงควรคุมอาหารที่ทําให้ยูริกสูง เช่น แอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์ทําให้ยูริกสูงมากที่สุด เลี่ยงน้ําตาลฟรุกโตสหรือน้ําตาลจากผลไม้ ยิ่งเครื่องดื่มทุกชนิดที่ใส่น้ำเชื่อมจะมีความหวานเป็นน้ําตาลฟรุกโตส เช่น น้ําอัดลม ชานม กาแฟใส่นม สิ่งเหล่านี้ทําให้ยูริกสูงได้ ควรลดน้ำหนักตัว ดื่มน้ำให้มากขึ้นก็จะช่วยขับกรดยูริกออกได้ดี เสริมตัวช่วยที่จะขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ดีขึ้น คือ โซดามินท์ เพราะโซดามินท์ทำให้ร่างกายเป็นด่าง เนื่องจากยูริกเป็นกรดละลายได้ดีในปัสสาวะที่เป็นด่าง ถ้าเกิดปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้นการขับกรดยูริกก็จะทำได้ดีขึ้น เสริม Z-min ที่มีส่วนผสมของโซดามินท์ ทำให้ร่างกายเป็นด่างมากขึ้น ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย แล้วยังมี Citric acid จะช่วยจับกรดในกระเพาะ ช่วยป้องกันกรดไหลย้อน และยังมีกรดอะมิโน Cysteine ที่ช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยขจัดสารพิษของตับและช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)_________________________________________________ทำความรู้จักกับหมออรรถ (อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)https://hfocusclinic.com/หมออรรถ-อย่าฝากชีวิตไว้/ทำไมต้องมาตรวจสุขภาพที่ Health Focus Clinichttps://hfocusclinic.com/ทำไมต้องเรา/#healthfocusclinic #โซดามินท์ #Citricacid #Cysteine #กรดไหลย้อน #สารต้านอนุมูลอิสระ
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ในรูปแบบของความผิดปกติทั่วไป เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ภาวะมีบุตรยาก ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ และฮอร์โมนเอสโตรเจนครอบงำ เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลมักจะมีอาการรู้สึกกระวนกระวาย เหนื่อย หงุดหงิดง่าย น้ำหนักขึ้นหรือลด นอนหลับไม่สนิท และสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในความต้องการทางเพศ การมีสมาธิจดจ่อ และความอยากอาหาร ซึ่งสาเหตุของความไม่สมดุลของฮอร์โมนนั้นเกิดจากสุขภาพลำไส้ไม่ดี การอักเสบ ความเครียดสูง ความอ่อนแอทางพันธุกรรม น้ำหนักเกิน และความเป็นพิษในร่างกาย หากคุณมีอาการเหล่านี้ เรามีวิธีปรับสมดุลฮอร์โมนที่อาจเป็นตัวช่วยที่ช่วยให้คุณหายจากอาการเหล่านี้ได้ 1. เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นไขมันเพื่อสุขภาพ ร่างกายต้องการไขมันหลายชนิดเพื่อใช้ในสร้างฮอร์โมน ซึ่งไขมันจำเป็นเหล่านี้ ยังช่วยรักษาระดับการอักเสบให้ต่ำ เพิ่มการเผาผลาญ และช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งไขมันดีมีผลตรงกันข้ามกับคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นตัวนำไปสู่การอักเสบ และอาจส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนได้ อาหารที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าว อะโวคาโด และปลาแซลมอน ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตแปรรูป และน้ำมันพืช เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของความไม่สมดุลของฮอร์โมน 2. อาหารเสริมเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการ แม้ว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสุขภาพทุกด้าน แต่บางครั้งก็จำเป็นต้องเสริมเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการที่อาจนำไปสู่ความไม่สมดุลของฮอร์โมนอาหารเสริมอันดับต้น ๆ ที่ควรเน้นเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมน Vitamin D : เป็นวิตามินที่ดีที่สุดสำหรับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื่องจากมันเกือบจะทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนภายในร่างกาย […]
การดูแลสุขภาพของผู้หญิงเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากมีหลายโรคที่พบว่าเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันและฮอร์โมน มาดูกันว่าโรคอะไรบ้างที่ผู้หญิงต้องระวังเป็นพิเศษ และวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้กันค่ะ 1. โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis – MS) โรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต และสูญเสียการมองเห็น ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึงสองในสามของผู้ป่วยทั้งหมด แม้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถรักษาตามอาการได้ค่ะ 2. โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) โรคลูปัสเป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อต่อและอวัยวะต่าง ๆ ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 9-10 เท่า อาการที่พบได้บ่อยคือ ความเหนื่อยล้า ข้อต่อบวม อักเสบ มือเท้าบวมแดง แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนเพศหญิง สิ่งแวดล้อม การตั้งครรภ์ รังสียูวี หรือสารเคมีบางชนิด 3. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายถึงสี่เท่า โดยอาการของโรคคือ ความอ่อนเพลียอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนไม่ค่อยหลับ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ระบบขับถ่ายแปรปรวน […]