ทุกคนคงรู้จัก “แคลเซียม” กันเป็นอย่างดีในฐานะสารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน แต่รู้ไหมคะว่า แคลเซียมตัวเดียวกันนี้ หากไปสะสมผิดที่ผิดทาง เช่น ไปเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ก็จะกลายเป็น “หินปูน” ที่อันตรายต่อสุขภาพ เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบตัน และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ค่ะ หินปูนไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร? หินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcification) เกิดจากการที่แคลเซียมไปสะสมบริเวณผนังหลอดเลือดที่มีการอักเสบหรือเสื่อมสภาพ ร่างกายของเราพยายามซ่อมแซมจุดที่มีปัญหาโดยใช้แคลเซียมมาเกาะ แต่แทนที่จะช่วยป้องกัน กลับทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตันง่ายขึ้นกว่าเดิมค่ะ แถมแคลเซียมมักจะเกาะในบริเวณที่มีไขมันสะสมอยู่ก่อนแล้วด้วย ทำให้การอุดตันเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหินปูน ได้แก่ อายุที่มากขึ้น (โดยเฉพาะอายุ 45 ปีขึ้นไป) มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง พฤติกรรมเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย เครียด พักผ่อนน้อย กรรมพันธุ์ ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น การกินอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันเลวหรือไขมันทรานส์ เช่น อาหารจานด่วน เบเกอรี ของทอด จะเกิดอะไรขึ้น หากหินปูนสะสมจนหลอดเลือดหัวใจตีบ? เมื่อหินปูนสะสมมากขึ้น […]
Author Archives: admin
รู้ไหมคะว่า โรคหลอดเลือดในสมอง คือ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย! ทั้งยังเป็นโรคที่เกิดอาการได้เฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตได้ทันทีหากนำผู้ป่วยส่งถึงมือคุณหมอได้ไม่เร็วพอ ดังนั้น การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนของร่างกายก่อนสมองจะถูกทำลายจึงสำคัญมาก มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักโรคหลอดเลือดในสมองกันก่อนนะคะ โรคหลอดเลือดในสมอง หมายถึงโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงในสมอง เป็นเหตุให้สมองเสียหายและทำให้เซลล์สมองตาย แบ่งได้เป็น 2 แบบค่ะ 1. หลอดเลือดในสมองตีบ/ตัน เกิดจากหลอดเลือดในสมองหนาตัวขึ้นจากไขมันที่สะสมบนผนังหลอดเลือด หรือลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือด จนเลือดไหลผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยลง หากเลือดไหลเข้าสู่สมองได้ไม่เพียงพอจะทำให้สมองส่วนนั้นๆ เกิดความเสียหาย และกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ค่ะ 2. หลอดเลือดในสมองแตก เกิดจากหลอดเลือดในสมองโป่งออกจนแตก เป็นผลให้เลือดออกในสมอง สมองเสียหาย และเกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ตามมานั่นเอง การที่หลอดเลือดแตก อาจเกิดจากการที่มีภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันมาก่อน หรือจากโรคความดันโลหิตสูงจนดันให้หลอดเลือดโป่งออกค่ะ แต่ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดในสมอง ตีบ ตัน หรือแตก โอกาสรอดชีวิต การรักษา และความปลอดภัยของคนไข้ ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับ “เวลา” ค่ะ เพราะนับตั้งแต่เกิดอาการ เซลล์สมองกว่า 2 ล้านเซลล์จะตายลง ทุกๆ […]
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะอ้วนหรือผอม หากไม่ดูแลการกินและการออกกำลังกาย ไขมันชนิดนี้สามารถนำพามาสู่โรคต่างๆ ได้มากมาย มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีป้องกันไขมันในช่องท้องไปพร้อมๆ กันนะคะ! ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) คืออะไร? ไขมันในช่องท้อง หรือที่เรียกว่า Visceral Fat คือไขมันที่สะสมอยู่รอบๆ อวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ ตับอ่อน และลำไส้ ซึ่งต่างจากไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) ที่อยู่บริเวณผิวหนังที่เราสามารถจับหรือบีบได้ ไขมันในช่องท้องจะอยู่ลึกเข้าไปในร่างกาย และที่สำคัญคือเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง Visceral Fat มักเป็นไขมันที่มองไม่เห็นจากภายนอก และสามารถสะสมได้ทั้งในคนที่ดูผอมและคนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยง ถึงแม้บางคนอาจดูผอม แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรือการไม่ออกกำลังกาย ไขมันในช่องท้องก็สามารถสะสมได้เช่นกันนะคะ! ปัจจัยที่ทำให้เกิดไขมันในช่องท้อง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในช่องท้องมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล มาดูกันว่ามีอะไรที่คุณควรระวังบ้าง: 1. อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตแปรรูป เช่น เบเกอรี่ ขนมเค้ก น้ำเชื่อมข้าวโพด หรืออาหารฟาสต์ฟู้ดที่ให้พลังงานสูงแต่ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ […]
ปัญหา “ไขมันในเลือดสูง” เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ทานของทอดบ่อยๆ หรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรเริ่มต้นตรวจระดับไขมันในเลือดอย่างจริงจังค่ะ มาดูกันว่าไขมันในเลือดควรมีค่าเท่าไหร่ และวิธีป้องกันดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้สุขภาพแย่ลงค่ะ ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง? ไขมันในเลือดที่ต้องจับตามองมี 2 ชนิดหลักค่ะ ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglycerides) ไตรกลีเซอร์ไรด์เป็นไขมันที่ร่างกายใช้เก็บพลังงานไว้ในระยะยาว หากระดับสูงเกินไปจะสะสมตามหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจค่ะ ระดับปกติ: ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เสี่ยงสูง: 200 มิลลิกรัมขึ้นไป คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คอเลสเตอรอลมีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนและเซลล์ แต่ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมค่ะ คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น: LDL (ไขมันไม่ดี): หากเกิน 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด HDL (ไขมันดี): ควรมีไม่น้อยกว่า 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพื่อช่วยลดไขมันส่วนเกิน คอเลสเตอรอลรวม: ควรไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากเกิน 240 มิลลิกรัมถือว่าเสี่ยงมากค่ะ […]
คุณเคยประสบปัญหานี้ไหม? น้ำหนักลดลงแต่รูปร่างยังไม่กระชับ หรือออกกำลังกายอย่างหนักแต่ไม่แน่ใจว่ากล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจริง ๆ หรือเปล่า? นั่นเป็นเพราะว่าตัวเลขบนตาชั่งทั่วไปบอกได้เพียง “น้ำหนักรวม” ของร่างกายเท่านั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าน้ำหนักนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือปริมาณน้ำในร่างกาย BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) คืออะไร? เพื่อทำความเข้าใจร่างกายของคุณให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราขอแนะนำให้รู้จักกับ เครื่อง BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับร่างกายของคุณได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณกล้ามเนื้อ บอกให้คุณรู้ว่ามีกล้ามเนื้ออยู่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเผาผลาญพลังงานและรูปร่างที่ดี ไขมันสะสม แสดงปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยให้คุณประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ น้ำในร่างกาย ตรวจสอบความสมดุลของน้ำในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ มวลกระดูก ประเมินความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งสำคัญต่อสุขภาพกระดูกในระยะยาว อัตราการเผาผลาญพื้นฐาน (BMR) บอกว่าร่างกายของคุณใช้พลังงานไปเท่าไหร่ในภาวะพักผ่อน เพื่อช่วยวางแผนการรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม พิเศษกว่าตาชั่งทั่วไปอย่างไร? เครื่อง BIA มีความแตกต่างและโดดเด่นกว่าตาชั่งทั่วไปอย่างมาก ดังนี้ รู้ลึกถึงภายใน ไม่ใช่แค่บอกว่า “หนักเท่าไหร่” แต่ยังลงลึกไปถึงองค์ประกอบภายในว่าในน้ำหนักนั้นมีไขมันหรือกล้ามเนื้อเท่าไหร่ แยกแยะสุขภาพจริงจากตัวเลขบนตาชั่ง […]
หากคุณกำลังเผชิญปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือตื่นกลางดึก สิ่งแรกที่ต้องแก้ไข คือ สุขลักษณะการนอนหลับ หรือ Sleep Hygiene ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยปรับสมดุลการนอนของคุณให้ดีขึ้น 12 วิธีปรับสุขลักษณะการนอน 1. นอนและตื่นให้เป็นเวลา ควรเข้านอนและตื่นในเวลาเดิมทุกวัน โดยเฉพาะการนอนหัวค่ำเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพที่สุด และไม่ควรเข้านอนเกินเที่ยงคืน เพราะการนอนเกินเที่ยงคืนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสม คือ นอนเกิน 7 ชั่วโมงขึ้นไป 2. รับแสงแดดยามเช้า หลังตื่นนอน ควรออกไปรับแสงแดดในตอนเช้า อย่างน้อย 3-5 นาที เพื่อช่วยรีเซ็ตนาฬิกาชีวิตของร่างกาย ทำให้สมองรู้ว่าเป็นช่วงเวลาเช้า และช่วยปรับวงจรการหลับ-ตื่นให้เป็นปกติ 3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกระตุ้นระบบประสาท กาแฟและแอลกอฮอล์ เป็น 2 สิ่งที่ควรงดหากคุณมีปัญหานอนไม่หลับ เพราะกาแฟมีคาเฟอีนที่ทำให้ตื่นตัว ขณะที่แอลกอฮอล์อาจทำให้หลับง่ายขึ้นในช่วงแรก แต่ส่งผลให้คุณตื่นกลางดึกได้ง่าย 4. งดการงีบกลางวัน โดยเฉพาะช่วงบ่ายและเย็น หากต้องการให้ง่วงและนอนหลับสนิทในตอนกลางคืน ควรหลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวัน 5. หลีกเลี่ยง 3 สิ่งนี้ก่อนนอน 3 ชั่วโมง ไม่รับประทานอาหารหนัก เพราะระบบย่อยอาหารที่ทำงานหนักอาจรบกวนการนอน […]
ถ้าถามถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย ให้พูดทั้งวันก็ไม่หมด ทั้งช่วยให้ร่างกายอึดทน ช่วยเผาผลาญไขมันออกจากตัวให้เพรียวสวย ช่วยลดความเฉื่อยชาทำให้มีแรงตลอดวัน แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องความเยาว์วัยกันค่ะ ไปดูกันว่าทำไมการออกกำลังกายถึงช่วยชะลอความชราลงได้ ทำให้เซลล์เสื่อมช้า แก่หรือไม่ ไม่ได้วัดกันที่วันเวลาบนโลกค่ะ แต่วัดกันจากอายุเซลล์ ยิ่งเราอายุมากขึ้นส่วนปลายของโครโมโซมในเซลล์ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมอายุขัยเซลล์ต่างๆ จะสั้นลงเรื่อยๆ ค่ะ ยิ่งเซลล์แก่ก็ยิ่งทำให้ร่างกายแก่ลง เป็นเหตุให้ร่างกายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเสื่อมและชรานั่นเอง แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีผลให้อายุเจ้าหมวกส่วนปลายของโครโมโซมนี้เสื่อมช้าลงและคงความยาวได้นานขึ้น หรือก็คือทำให้แก่ช้าลงจากภายในนั่นเองค่ะ ช่วยรักษาระดับฮอร์โมน ร่างกายจำเป็นต้องมีฮอร์โมนอย่างเพียงพอเพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ ทั้งที่ฮอร์โมนจำเป็นกับร่างกายมากๆ แต่ยิ่งเราอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง เลยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลงด้วย แต่การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้มากขึ้น เช่น ฮอร์โมนเพศที่ช่วยรักษาระดับการเผาผลาญ ฮอร์โมนอินซูลินที่ช่วยสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด โกรทฮอร์โมนที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมร่างกาย รวมทั้งฮอร์โมนอื่นๆ ที่ช่วยคงประสิทธิภาพการทำงานของสมองและอารมณ์ด้วยค่ะ ถนอมผิวพรรณเปล่งปลั่ง งานวิจัยพบว่า ผู้หญิงวัย 40 ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีสุขภาพผิวที่ดีเทียบเท่ากับสาวอายุ 30 เลยค่ะ หมายความว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณดูเด็กลงได้เป็น 10 ปี นั่นเป็นเพราะการออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อรวมถึงผิวหนังของเราแข็งแรง มีโครงสร้างชั้นผิวที่ดีและมีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ริ้วรอยต่างๆ ก็เกิดได้ยากขึ้น รวมทั้งช่วยให้ผิวขจัดสารตกค้างและสิ่งสกปรกออกไปได้มากผ่านทางเหงื่อด้วยค่ะ ช่วยเสริมกระดูกแข็งแรง เมื่อคุณอายุแตะเลขสาม ร่างกายจะเริ่มหยุดสร้างมวลกระดูกค่ะ พออายุแตะเลขสี่ กระดูกก็จะเริ่มเกิดความเสียหายทีละน้อย เริ่มปวดหลัง ปวดตามข้อ กระดูกเริ่มเปราะ ส่งผลให้บุคลิกร่างกายเปลี่ยนไปเป็นคนเจ็บออดแอดเหมือนคนแก่ด้วยนั่นเอง […]
วิตามิน D เป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นส่วนประกอบคล้ายฮอร์โมนและทุกๆ เซลล์ในร่างกายของเรา แล้วร่างกายเราจะขาดวิตามิน D ไม่ได้ ส่วนมากคนไทยมักขาดวิตามิน D เพราะว่าคนไทยส่วนมากกลัวแดด ไม่ค่อยโดนแดด วิตามิน D ปกติเราจะได้รับจากแสงแดด โดยแสงแดดจะมาเปลี่ยนคอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามิน D กลุ่มคนที่ขาดวิตามินดี คือ กลุ่มคนที่เป็นโรคตับ โรคไต เพราะว่าเมื่อโดนแดดและมีการสังเคราะห์วิตามิน D จะต้องใช้ตับ ใช้ไต ช่วยเปลี่ยนวิตามิน D ให้ Active และใช้งานได้ เพราะฉะนั้นคนที่ตับและไตไม่ดีจึงขาดวิตามิน D ไปด้วย วิตามิน D พบได้มากในจำพวกปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ไข่แดง ตับ นม เห็ด ซึ่งบางครั้งวิตามิน D ที่ได้รับอาจมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอในการรับประทานจากอาหารเพียงอย่างเดียว 8 อาการที่บอกว่า ‘คุณกำลังขาดวิตามิน D’ ป่วยบ่อยและติดเชื้อไวรัสง่าย เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ […]
หลายคนอาจไม่รู้ว่า “ไต” คืออวัยวะสำคัญที่ช่วยกรองของเสียในร่างกาย ถ้าไตเริ่มมีปัญหา อย่านิ่งนอนใจ! 3 สิ่งที่เราต้องรีบเช็ก ถ้าอยากดูแลไตให้ดี 1. ยาที่ทานอยู่ หลายคนไม่รู้ว่า “ยาบางชนิดทำร้ายไต” โดยไม่รู้ตัว! ควรเช็กว่ายาอะไรที่เราทานเป็นประจำ อาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่ามียาตัวไหนที่ควรหลีกเลี่ยง 2. ค่า “ยูริก” ยูริกสูง = ภาระหนักของไต โดยเฉพาะในผู้หญิงและผู้ชายที่มีปัจจัยเสี่ยง ค่า “ยูริก” ที่ปลอดภัยควร ผู้ชาย ต่ำกว่า 7.0 mg/dL ผู้หญิง ต่ำกว่า 5.3 mg/dL สาเหตุของยูริกสูงมาจากหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมน การทานอาหารที่มีพิวรีนสูง หรือพฤติกรรมการดื่มน้ำน้อย สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงถ้ายูริกสูง น้ำผลไม้ ผลไม้ปริมาณมาก แนะนำ: ถ้าจะทานผลไม้ ควรเลือกที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้มโอ ฝรั่ง และควบคุมปริมาณอย่างเหมาะสม 3. ความดันโลหิต ความดันสูง = ทำลายไตโดยตรง ถ้าคุมได้ที่ […]
เคยเป็นแบบนี้กันไหมคะ พอตื่นนอนแล้วลุกขึ้นมา กลับรู้สึกหน้ามืด เวียนศีรษะ คล้ายๆ จะเป็นลม หากคุณมีอาการเหล่านี้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจนะคะ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกายและความแข็งแรงของหัวใจ ดังเช่น หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่ทันหลังลุกขึ้นมาจากท่านอน จึงเกิดอาการหน้ามืด (มักพบในกลุ่มผู้สูงวัยมากกว่าคนหนุ่มสาว) ร่างกายอาจกำลังขาดน้ำ จากการทานน้ำน้อยเกินไป ร่างกาย ปอด และหัวใจไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ จนร่างกาย สมอง และหัวใจเกิดอาการล้าสะสม อาจมีภาวะความดันโลหิตต่ำ เลือดจาง หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย แม้อาการเหล่านี้จะไม่ใช่สัญญาณเตือนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าร่างกายและหัวใจของเรากำลังอ่อนแอลงค่ะ หากใครพบว่ามีอาการหน้ามืดตอนลุกขึ้นมาจากเตียงหรือเก้าอี้บ่อยๆ ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยแก้ไขอาการเหล่านี้ค่ะ หลังตื่นนอนแล้ว อย่าเพิ่งลุกขึ้นมาพรวดพราด ให้ค่อยๆ ลุกจากท่านอนช้าๆ เพื่อให้หัวใจได้ปรับตัว หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองทัน นั่งพักให้ร่างกายได้ตื่นตัวก่อน แล้วจึงค่อยลุกขึ้นจากเตียง เพื่อไม่ให้หน้ามืดจนล้มเกิดอุบัติเหตุได้ค่ะ หันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเพื่อเน้นให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น เช่น เดิน วิ่ง แอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายให้ได้ 30 นาทีต่อวัน ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยเฉลี่ยคือประมาณ […]