วิตามิน E ถือเป็นวิตามินที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิตามินชะลอความแก่ เนื่องด้วยมีคุณสมบัติในการทำงานที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จึงช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายไม่ให้แก่ก่อนวัยหรือถูกทำลายได้ จึงช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส ชุ่มชื่น ไม่เหี่ยวย่น ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดคอเลสเตอรอล วิตามิน E ยังเป็นตัวสำคัญที่ช่วยป้องกันไขมันพอกตับ ช่วยป้องกันตับแข็ง ป้องกันเซลล์ตับไม่ให้เกิดการอักเสบอีกด้วย มักพบวิตามิน E ในน้ำมันมะกอก อัลมอนด์ อะโวคาโด กล้วย ผักโขม บรอกโคลี จึงควรรับประทานอาหารที่มีวิตามิน E เป็นประจำเพื่อร่างกายที่แข็งแรง เสริมวิตามิน E แบบอาหารเสริมในรูปแบบวิตามิน E (Tocopherol) ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นและช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)_________________________________________________ทำความรู้จักกับหมออรรถ (อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)https://hfocusclinic.com/หมออรรถ-อย่าฝากชีวิตไว้/ทำไมต้องมาตรวจสุขภาพที่ Health Focus Clinichttps://hfocusclinic.com/ทำไมต้องเรา/
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
การรับประทานผักเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพ ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก มีการชี้แจงว่าพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ดี รวมถึงการรับประทานอาหารที่สมดุล เช่น การมีส่วนผสมของผักและผลไม้ในอาหารประจำวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ถึง 30-50% เลยทีเดียว! ผัก : โลกแห่งวิตามินและเกลือแร่ ผักนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับการรักษาสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้ ผักยังมีกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดของเสียในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ สารต้านอนุมูลอิสระในผัก ผักหลากหลายชนิดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะสาร Polyphenol ที่พบในผักสีต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า มะเขือเทศ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยลดการเกิดเซลล์มะเร็งได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง กินอาหารอย่างสมดุลเป็นกุญแจสำคัญ การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีผักผลไม้เป็นส่วนประกอบในมื้ออาหาร จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งนรีเวชได้ค่ะ วิจัยเกี่ยวกับการกินผักและมะเร็ง ถึงแม้การกินผักจะเป็นวิธีที่ดีในการลดความเสี่ยงของมะเร็ง แต่มะเร็งเป็นโรคที่มีความซับซ้อน และไม่สามารถใช้การกินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการป้องกันได้ เราจึงควรกินผักให้หลากหลายชนิด โดยมีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่รับประทานผักเป็นประจำมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่รับประทานผัก นี่เป็นเหตุผลที่เราควรใส่ใจในการรับประทานผักเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดีของเราเองค่ะ โดยสรุป การกินผักเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ โดยควรผักให้หลากหลายชนิด และมีปริมาณเพียงพอในทุกๆ วัน หรือคือให้ได้ประมาณ 50% ของมื้ออาหาร จะเป็นส่วนสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันไม่เพียงแต่โรคมะเร็งแต่ยังรวมถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ค่ะ วันนี้คุณกินผักเพียงพอแล้วหรือยังคะ? […]
ภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงนั้นอย่างที่ทราบกันว่าโดยมากมักเกิดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกันซึ่งจะนำพาทำให้เราเป็นโรคเบาหวานได้ต่อไปนั่นเองค่ะ แล้วเราจะสามารถหลีกเลี่ยงหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ไปไกลได้อย่างไร มาดูกันดีกว่า น้ำตาลในเลือด เมื่อเราพูดถึง ‘น้ำตาลในเลือด’ เรากำลังพูดถึงระดับความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในเลือดค่ะ ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ในร่างกาย โดยปกติร่างกายของเรานั้นจะมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้สมดุลอยู่เสมอ ระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติคือประมาณ 90-110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนอาหารเช้า ต่ำกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังอาหาร นอกจากนั้นค่าน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ควรน้อยกว่า 6.5% เพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดค่ะ น้ำตาลในเลือดควบคุมอย่างไรดี มีเคล็ดลับ อาหาร เริ่มด้วยปัจจัยที่เราควบคุมได้อย่างแรกค่ะ อาหาร คาร์โบไฮเดรตที่ถูกต้อง โดยปกติเมื่อคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยจะได้เป็นน้ำตาลกลูโคสค่ะ ดังนั้นเราต้องเลือกชนิดคาร์โบไฮเดรตที่จะทานให้เหมาะสม ต้องลดคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวแต่เลือกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทนค่ะ ซึ่งคือคาร์โบไฮเดรตที่อุดมไปด้วยใยอาหาร เช่น แป้งหรือข้าวที่ไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ธัญพืช ผัก นอกจากนั้นเราต้องพยายามจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อไม่ให้มากเกินไปด้วยค่ะ แบ่งมื้อเล็ก การแบ่งทานเป็นมื้อเล็กหลายๆมื้อ แทนที่จะเป็นมื้อใหญ่มื้อเดียว สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลสู่ร่างกายเราได้ค่ะ น้ำเปล่าต้องเพียงพอ ทั้งนี้โดยปกติหากร่างกายเราขาดน้ำจะส่งผลทำให้เลือดข้นและระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ เราจึงควรดื่มน้ำเปล่าให้มากเพียงพอ ประมาณ 8 แก้วต่อวัน นอกจากนั้นยังเป็นการบังคับตัวเองทางอ้อมไม่ให้ไปดื่มน้ำหวานอีกด้วย ระวังน้ำตาล โดยเฉพาะในเครื่องดื่ม ควบคุมตัวเอง ไม่ทานขนมหรืออะไรก็ตามที่มีน้ำตาลสูงช่วยได้แน่ค่ะ […]
ทุกวันนี้อาหารหลายชนิดที่เราบริโภคอยู่เป็นประจำมักมีน้ำตาลซ่อนอยู่ ซึ่งหากรับประทานเข้าไปเกินความจำเป็น ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ จนอาจเกิดภาวะดื้ออินซูลินและเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ตามมาได้ในที่สุด วันนี้เรามาดูสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานค่ะ: 1. ปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวันและกลางคืน: นี่เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนแรกๆ ที่ชัดเจนที่สุดค่ะ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะพยายามขจัดน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทำให้คุณต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน เนื่องจากร่างกายพยายามขจัดน้ำตาลออกจากเลือดผ่านการปัสสาวะนั่นเอง 2. กระหายน้ำมากขึ้นผิดปกติ: เป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากข้อแรก เนื่องจากเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมากๆ จากการปัสสาวะ ร่างกายก็จะส่งสัญญาณเตือนว่าต้องการน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปด้วยการทำให้คุณรู้สึกกระหายน้ำเป็นอย่างมาก 3. รู้สึกอ่อนเพลียและน้ำหนักลดลง: ปกติแล้วร่างกายของเราใช้น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานหลัก แต่เมื่อมีน้ำตาลในเลือดมากเกินไปเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ จะทำให้ร่างกายเริ่มเบิร์นไขมันและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานแทน ซึ่งก็จะนำไปสู่ความรู้สึกอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่อง และน้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ 4. ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด: น้ำตาลในเลือดสูงสามารถทำให้เลือดไหลเวียนไปยังดวงตาไม่สะดวก และอาจเกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดในดวงตา ส่งผลทำให้เกิดอาการตาพร่า เห็นภาพไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อนได้ 5. หิวบ่อย กินเก่งขึ้นกว่าเดิม: แม้ว่าคุณจะรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลเหล่านั้นได้เป็นปกติ จึงส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลาและร่างกายต้องการรับประทานอาหารมากขึ้นเพื่อหาแหล่งพลังงาน 6. คันตามตัว ผิวติดเชื้อได้ง่าย: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือตกขาวเยอะผิดปกติ 7. เท้าชาเนื่องจากปลายประสาทเสื่อม: เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงทั่วร่างกายเสื่อมลง ก่อให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท […]
ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันสูงถึง 7 ล้านคนทั่วโลก สาเหตุหลักคือการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังหัวใจได้ ส่งผลให้หัวใจขาดออกซิเจนและหยุดทำงานชั่วขณะ หรือในบางกรณีอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายไปได้ ภาวะหัวใจวายเกิดจากอะไร? ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมักเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ไขมันเหล่านี้จะกลายเป็นตะกรัน (Plaque) และเมื่อแตกตัว ร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างลิ่มเลือดเพื่อซ่อมแซม แต่กลับทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้เต็มที่ และทำให้หัวใจขาดออกซิเจน ไขมันสะสมในหลอดเลือดเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันเลวเป็นประจำภาวะเครียดที่ทำให้ร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้นการพักผ่อนน้อยและน้ำหนักเกินจากการไม่ออกกำลังกาย อาการเตือนของภาวะหัวใจวาย เจ็บแน่นหน้าอกเหนื่อยง่าย หายใจสั้น หายใจไม่สะดวกเหงื่อออกง่าย หน้ามืดบ่อยปวดแขนซ้าย กราม หลัง หรือท้องคลื่นไส้ อาเจียน อาการเหล่านี้มักไม่ชัดเจนในผู้หญิงและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เหนื่อยง่ายอยู่แล้ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่แสดงอาการเหล่านี้เลย การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก วิธีป้องกันหัวใจวาย ออกกำลังกายแบบแอโรบิคและแรงต้านทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันเลวน้อยทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะพร้าว อโวคาโด ไขมันจากปลาทะเลคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์งดสูบบุหรี่พักผ่อนให้เพียงพอหากมีอาการต้องเตรียมตัวรับมืออาการฉุกเฉินให้พร้อมทานอาหารเสริมป้องกันหลอดเลือดอุดตันที่เป็นสาเหตุของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน คือ CoQ10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการอักเสบของหลอดเลือด ป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะหลอดเลือด ป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวได้ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเป็นอันตรายร้ายแรงที่เราสามารถป้องกันได้ด้วยการใส่ใจดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในด้านการออกกำลังกาย การเลือกอาหารที่ดี และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยง การดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและป้องกันภาวะหัวใจวายในอนาคตได้ค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine […]
หากปล่อยให้มีไขมันในเลือดสูงจะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ภาวะหัวใจหยุดเต้น จึงควรคุมอาหารประเภทที่มีไขมันทรานส์ (Trans Fat) เพราะไขมันทรานส์ทําให้ค่า LDL ขึ้นสูงได้มากที่สุด ควรนอนให้เร็ว นอนก่อน 22.00 น. ถ้าเกิดเรานอนดีการฟื้นฟูฮอร์โมนของร่างกายจะทําได้ดี ควรรับประทานมื้อเย็นให้น้อย ไม่ควรรับประทานอาหารแคลอรี่สูงในมื้อเย็น เพราะคอเลสเตอรอลสร้างตอนกลางคืนได้มากขึ้น ปกติแล้ว 70%-80% ของไขมันที่อยู่ในเลือดเกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง แล้วเกิดจากการรับประทานอาหาร 20%-30% ดังนั้นจึงควรหาอาหารเสริมที่ไปลดการสร้างคอเลสเตอรอลของร่างกาย นั่นคือ โพลิโคซานอล สารสกัดจากข้าวโพด และ Red Yest Rice สารสกัดจากยีสต์แดง หรือเสริม Lipizone ที่มีส่วนประกอบของ Red Yeast Rice, Policosanol ก็จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยลด LDL และไตรกลีเซอไรด์ได้.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายLine : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj […]
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างฉับพลัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่, มีความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, คอเลสเตอรอลสูง และหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งสามารถตรวจพบจากค่าต่าง ๆ เช่น CRP และ Homocysteine ในการตรวจสุขภาพประจำปี อาการที่ควรระวัง การเจ็บหน้าอกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เจ็บขณะพัก โดยไม่ต้องออกแรง เช่น เจ็บขณะนอนหลับ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เจ็บขณะออกแรง แม้จะรุนแรงน้อยกว่า แต่หากอาการไม่หายไปภายใน 20 นาที ก็ควรรีบไปโรงพยาบาลเช่นกัน การป้องกัน เน้นการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบและตีบตัน ได้แก่ ลดน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดและกระตุ้นการเกิดคอเลสเตอรอลสะสม หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีโอเมก้า 6 สูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งทำให้หลอดเลือดอักเสบ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ติดมันที่มีโอเมก้า 6 สูง แนะนำให้เสริม Fish Oil […]
วิตามินดี เป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นส่วนประกอบคล้ายฮอร์โมนและทุกๆ เซลล์ในร่างกายของเรา แล้วร่างกายเราจะขาดวิตามินดี ไม่ได้ ส่วนมากคนไทยมักขาดวิตามินดี เพราะว่าคนไทยส่วนมากกลัวแดด ไม่ค่อยโดนแดด วิตามินดี ปกติเราจะได้รับจากแสงแดด โดยแสงแดดจะมาเปลี่ยนคอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามินดี กลุ่มคนที่ขาดวิตามินดี คือ กลุ่มคนที่เป็นโรคตับ โรคไต เพราะว่าเมื่อโดนแดดและมีการสังเคราะห์วิตามินดี จะต้องใช้ตับ ใช้ไต ช่วยเปลี่ยนวิตามินดี ให้ Active และใช้งานได้ เพราะฉะนั้นคนที่ตับและไตไม่ดีจึงขาดวิตามินดี ไปด้วย วิตามินดี พบได้มากในจำพวกปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ไข่แดง ตับ นม เห็ด ซึ่งบางครั้งวิตามินดี ที่ได้รับอาจมีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอในการรับประทานจากอาหารเพียงอย่างเดียว กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการขาดวิตามินดี คนที่มีสีผิวคล้ำ คนที่อายุมาก หรือผู้สูงอายุ คนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน คนที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารประเภทปลา คนที่อยู่ในเขตประเทศที่ไม่ค่อยมีแสงแดด คนที่ใช้ครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน คนที่อยู่แต่ในที่ร่มตลอดเวลา แทบไม่ค่อยออกข้างนอก 8 อาการที่บอกว่า คุณกำลังขาดวิตามินดี ป่วยบ่อยและติดเชื้อไวรัสง่าย เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ […]
การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อวัยวะสำคัญในร่างกายอาจถึงขั้น ‘พัง’ ได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ป่วยเป็นภาวะความดันโลหิตสูง และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ภาวะความดันโลหิตสูงนี้ เกิดจากหลายปัจจัยรวมถึงสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น บริโภคอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน เช่น อาหารรสเค็ม หวาน มันสูง การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความดันโลหิตที่สูงขึ้นได้ ความดันโลหิตสูงถูกเรียกว่า ‘ภัยเงียบ’ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจนจนกว่าจะถึงระยะที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น วิงเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาไหล หอบหายใจเร็ว แน่นหน้าอก หรือมือเท้าชา เป็นต้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง หากปล่อยให้ภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้รับการควบคุมอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย ได้แก่ 1. สมอง : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก นำไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเลือดออกในสมอง 2. หัวใจ : ความดันโลหิตสูงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาและแข็งตัวขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตในที่สุด […]
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการกินของทอด ของมัน แถมยังดื่มหนักๆ เป็นประจำ คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเดินเข้าสู่ความเสี่ยงของ “ภาวะไขมันพอกตับ” ซึ่งเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นค่ะ ภาวะไขมันพอกตับคืออะไร? ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของไขมันในตับเกินกว่าปกติ โดยปกติตับไม่ควรมีไขมันเกิน 5-10% ของน้ำหนักตับ เมื่อไขมันสะสมมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุดค่ะ ถือเป็นภัยเงียบเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่จะค่อยๆ ส่งผลร้ายต่อตับโดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจากมักไม่มีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจน สาเหตุหลักๆ ของไขมันพอกตับ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การบริโภคอาหารไขมันสูง ของทอด Junk Food โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อตับ เช่น ยาสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส ระยะของไขมันพอกตับ ไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ค่ะ: ระยะที่ 1: ไขมันสะสมในตับโดยไม่มีอาการอักเสบ ระยะที่ 2: ตับเริ่มมีอาการอักเสบ อาจนำไปสู่อักเสบเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา ระยะที่ 3: ตับถูกทำลายและเริ่มมีการสร้างพังผืดจากอาการอักเสบรุนแรง ระยะที่ 4: ตับถูกทำลายอย่างรุนแรง […]