ความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกอาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่หลอดเลือดของเราจะถูกทำลายอย่างช้าๆ หลอดเลือดที่โค้งไปมาจะกลายเป็นหงิกงอได้ คนที่เริ่มมีความดันโลหิตสูง ก่อนที่หมอจะให้เริ่มใช้ยา หมอจะแนะนำให้ออกกำลังกาย และควบคุมอาหารก่อน หากระยะเวลาผ่านไปยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตได้ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มยา แล้วเราจะกินอย่างไรเพื่อจะลดความดันโลหิต? ก่อนอื่นเราควรรู้จัก DASH diet ก่อน โดย DASH ย่อมาจาก Dietary Approaches to Stop Hypertension เป็นหลักโภชนาการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความดันโลหิตโดยไม่ใช้ยา ที่วิจัยและพัฒนาโดยทุนของ National Institute of Health (NIH) ประเทศสหรัฐอเมริกา DASH diet จะเน้นรับประทานอาหารเส้นใยสูง โดยเฉพาะผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และรับประทานไก่ ปลา ถั่ว และธัญพืชในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ไขมันสูงและอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ไขมันสัตว์ ไข่ ครีม ชีส โดยวิธีนี้จะสามารถลดความดันโลหิตไปได้ 11mm Hg อึกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ‘ลดเค็ม’ โดยปกติแล้วคนทั่วไปสามารถบริโภคโซเดียมได้ 2,300 mg […]
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
หลายคนจะรู้แค่ว่า ยูริกสูงทำให้เกิดเก๊าท์ แต่ยังมีโรคอีกหลายโรคที่เกิดขึ้นเพราะยูริกสูง ซึ่งยูริกสูงย่อมเป็นภัยร้ายทำลายสุขภาพ การที่ยูริกสูงจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น เรามาดูกันค่ะ 1. ยูริกสูงบ่งบอกว่า ร่างกายมีอนุมูลอิสระสูง ซึ่งการสร้างกรดยูริกของร่างกายเป็นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมา หากมียูริกสูงแสดงว่า ร่างกายเรามีอนุมูลอิสระสูงด้วย จึงเป็นเรื่องที่ไม่ดีเพราะหากมีอนุมูลอิสระสูงจะทำให้เซลล์ยิ่งเสื่อม ยิ่งแก่ เป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ ตามมา 2. ยูริกสูงทำให้เกิด Metabolic Syndrome เป็นภาวะอ้วนลงพุง โดยสังเกตได้จากค่าเลือดที่ผิดปกติ คือ ค่าน้ำตาลจะสูง เริ่มสูงเกิน 100 ซึ่งทำให้รู้ว่ากระบวนการทางร่างกายเริ่มผิดปกติ เริ่มคุมน้ำตาลไม่ได้ ค่าไขมัน HDL ต่ำ ในผู้ชายจะต่ำกว่า 40 ผู้หญิงต่ำกว่า 50 หรือมีค่าไตรกลีเซอร์ไรด์สูงเกินว่า 150 ค่าความดันเริ่มสูงขึ้น ประมาณเกินว่า 130/85 แล้วความดันที่จัดว่าสูงแล้วต้องเริ่มกินยา คือ 140/90 รอบเอวเริ่มใหญ่ขึ้น หรือเรียกว่า อ้วนลงพุง ในผู้ชายรอบเอวเกิน 37 นิ้ว ผู้หญิงรอบเอวเกินกว่า 31.5 นิ้ว หากใน 4 ข้อนี้ […]
มาสำรวจตัวเองกัน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ หิวน้ำบ่อย หิวตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย เพลียและง่วงงัวเงียบ่อย ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ ตาพร่ามัว ตาเบลอ อาการที่กล่าวมาข้างต้นอาจกำลังบ่งชี้ว่า คุณกำลังมีความเสี่ยง “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” (Hyperglycaemia) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ปกติ คือ มากกว่า 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง และเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะนี้และไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้ค่ะ โดยสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้น สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ภาวะนี้เกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย การติดเชื้อมีไข้ การเป็นโรคเกี่ยวกับตับอ่อน หรือการรับประทานยาบางชนิด จากการสำรวจของกรมอนามัยและ สสส. พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มักบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 20 ช้อนชา หรือก็คือเกินกว่าปริมาณที่แนะนำถึงกว่า 3 เท่า! ด้วยเหตุนี้ อัตราผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจึงติดอันดับ 3 โรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งมักบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากกว่ากลุ่มอื่นๆ […]
อย่างรู้กันว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ที่ทางเดินอาหารประมาณ 75% เลยทีเดียว ถ้าระบบทางเดินอาหารไม่แข็งแรงอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ในลำไส้ของเราจะมีจุลินทรีย์ที่ดีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็คือ โปรไบโอติก ที่เป็นมิตรต่อลำไส้และสุขภาพ ดีต่อระบบย่อยอาหารและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ในบางคนก็อาจพบเจอระบบทางเดินอาหารหรือมีลำไส้ที่ไม่แข็งแรง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เราจึงมาพูดคุยถึงเรื่องเหตุผลที่ทำให้ลำไส้ของคุณไม่แข็งแรงกันค่ะ 1. ความเครียดและความวิตกกังวล มีผลเสียต่อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ซึ่งความเครียดทางจิตใจ ทางด้านอารมณ์ สภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา ทำให้เกิดภาวะ Dysbiosis เป็นภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ภายในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะ 2. การนอนหลับไม่เพียงพอและคุณภาพการนอนหลับไม่ดี อาจทำให้เกิดโรค dysbiosis ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง สามารถเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ทั้งโรคเรื้อรัง ไข้หวัด อ่อนเพลียเรื้อรัง 3. อาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลและไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จะไปกระตุ้นให้เชื้อโรคเติบโตมากเกินไป และทำให้จุลินทรีย์ที่ดีแบบโปรไบโอติกไม่เจริญเติบโต ขาดความสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดี 4. การกินยาปฏิชีวนะและยาอื่น ๆ เช่น ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump Inhibitors (PPIs) ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจะไปทำลายแบคทีเรียที่มีประโยชน์ จนอาจก่อให้เกิดภาวะ Dysbiosis เป็นภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ภายในร่างกาย […]
ความดันโลหิตแบบไหนที่เรียกว่าสูง? ความดันโลหิตแบบไหนที่เรียกว่าดี? ความดันโลหิตที่ดีที่สุดที่จะถือว่าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด คือ 110/70 ซึ่งความดันมีอยู่ 2 ตัว คือ ความดันตัวบนและความดันตัวล่าง แล้วความดันที่ปกติ คือ ต่ำกว่า 120/80 แต่ถ้าค่าความดันเกิน 120/80 จะถือว่าเป็นความดันสูงไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวบนหรือตัวล่างที่สูงก็ตาม เช่น 125/80 คือตัวบนเกินไปแล้ว อย่างนี้ก็ถือว่ามีภาวะเป็นความดันโลหิตสูง หรือ 120/85 คือตัวล่างเกิน ก็ถือว่ามีภาวะเป็นความดันโลหิตสูงเช่นกัน ซึ่งการมีภาวะความดันโลหิตสูงก็ยังไม่ได้จัดเป็นโรคความดันโลหิตสูง แล้วถ้าจัดเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็คือ ความดันโลหิตแตะที่ 140/90 ที่จะต้องได้รับยาในการรักษา ซึ่ง 10 ข้อในที่นี้ใช้ได้กับคนที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้กินยาก็สามารถลองเอาไปปฏิบัติตามดูได้ หรือว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ แล้ว กินยาแล้วแต่ก็ยังคุมได้ไม่ดีพอก็สามารถนำไปปฏิบัติดูได้เช่นกัน 1. วัดความดันโลหิตของตัวเอง 5 ครั้ง/วัน โดยวัดในช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน ในงานวิจัยพบว่า คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและวัดความดันโลหิตด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แล้วก็ปรับยาจะสามารถคุมความดันโลหิตได้ดีมากกว่าคนที่ไม่ได้วัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง แต่ว่าการวัดวันละ 5 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องวัดตลอดไป เป็นการเช็คดูประมาณ […]
ในหลายมักคิดว่า เมื่อเราต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นก็ทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ในคนที่เล่นกล้ามก็จะไปทานโปรตีนจากพวกเวย์โปรตีน จากนม ซึ่งการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โปรตีนจากนมนั้นก็มีข้อเสียที่บางคนอาจยังไม่รู้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันคนเริ่มหันมาทานโปรตีนจากพืชเพิ่มมากขึ้น ทั้งนักกีฬาต่างๆ เช่น นักกีฬาวิ่ง นักกล้าม คนที่เล่นเวท แล้วพบว่าความแข็งแรง ความเร็ว พละกำลัง ดีขึ้นเมื่อกินโปรตีนจากพืช ทำให้มี Performance ในการเล่นกีฬาได้ดีกว่า แล้วโปรตีนจากสัตว์หรือนมมีข้อเสียอะไรบ้าง วันนี้เราจึงนำข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากนมมาฝากกันค่ะ 1. มีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมัน คือ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เนื้อสัตว์รสชาติอร่อยถูกปากกว่าพืชผักมาก แต่ก็ตามมาด้วยโทษเช่นกัน ไขมันในเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่แล้วเป็นไขมันอิ่มตัวแล้วถูกจัดว่าอยู่ในไขมันประเภทเลว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจ 2. มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากโปรตีนสัตว์หรือโปรตีนที่มาจากนมจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าโปรตีนจากพืชอยู่แล้ว ในโปรตีนพืชจะไม่มีคอเลสเตอรอลเลย 3. ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากนมวัวจะทำให้เกิดภูมิแพ้ได้สูง เพราะโปรตีนที่มาจากนมวัวจะมีเคซีน (Casein) เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย 4. ไตทำงานหนักขึ้น เพราะว่าโปรตีนจากสัตว์หรือโปรตีนจากนมทำให้ร่างกายเป็นกรดมากขึ้น เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการขับกรดส่วนเกินออกจากร่างกายจึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้น 5. เกิดกระดูกบางกระดูกพรุน คนที่ทานโปรตีนจากสัตว์หรือนมจะทำให้เกิดกระดูกบางกระดุกพรุนมากขึ้น การศึกษาพบว่า ประเทศที่มีทานการนมในปริมาณมาก เช่น ในโซนยุโรปหรืออเมริกา เมื่อเทียบกับประเทศที่กินทานนมวัวน้อย เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่า […]
การตรวจสุขภาพในแต่ละครั้งมักจะมี 7 ค่าเลือดสำคัญที่คนส่วนมากไม่ได้ตรวจ แล้วโดยทั่วไปก็จะไม่มีในแพ็คเก็จตรวจสุขภาพ ซึ่งค่าเลือดเหล่านั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อสุขภาพของเรา วันนี้เราจึงพามารู้จักกับ 7 ค่าเลือดที่สำคัญที่เราควรตรวจกันค่ะ 1. ค่า CRP (C-Reactive Protein) เป็นค่าที่บ่งบอกการอักเสบของร่างกาย บ่งบอกการอักเสบของหลอดเลือด โดยสมาคมโรคหัวใจที่อเมริกา (AHA) กำหนดค่านี้ว่า เป็นค่าที่บ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย ซึ่งค่านี้ถ้าต่ำกว่า 1 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถ้าอยู่ในช่วง 1-3 ถือเป็นค่ากลางๆ แต่ถ้ามากเกินกว่า 3 ขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจ หากค่า CRP สูง หลอดเลือดจะยิ่งอักเสบ คอเลสเตอรอลจะยิ่งไปเกาะ แต่ถ้าคอเลสเตอรอลสูงแล้วค่า CRP ไม่ได้สูงตาม หลอดเลือดไม่ได้มีการอักเสบ โอกาสที่คอเลสเตอรอลไปเกาะก็จะลดลง แต่หากตรวจแล้วค่า CRP สูงเกิน 3 หรือบางคนเกิน 5 ถือว่า อันตรายเป็นอย่างมาก ข้อแนะนำ คือ ดูน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดโดยตรง เป็นตัวหลักที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ดังนั้นคนเป็นเบาหวานส่วนมากค่า CRP จะสูง เพราะมีน้ำตาลสูงจึงควรไปคุมน้ำตาลเพื่อไม่ให้น้ำตาลไปทำให้หลอดเลือดอักเสบ […]
หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย 1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา 2.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์ 3. ลดเค็ม ลดโซเดียม การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ของหมักดองต่าง […]
ไม่ใช่แค่โควิด-19 ที่น่าสงสัย แต่เมื่อไรก็ตามที่จมูกเริ่มไม่ค่อยได้กลิ่น อาจสงสัยว่าเป็นโรคเหล่านี้ได้ด้วย ผศ. นพ.วิชิต ชีวเรืองโรจน์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึงสาเหตุที่อาจทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น หรือความสามารถในการรับรู้กลิ่นน้อยลง ดังนี้ สาเหตุของปัญหาจมูกไม่ได้กลิ่น การอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โพรงไซนัส ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น เนื้องอกอุดกลั้น ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น อุบัติเหตุที่ศีรษะที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ (หน้าผาก ท้ายทอย) บาดเจ็บ หรือฉีกขาด ส่งผลต่อการได้กลิ่นที่ลดลง หรืออาจไม่ได้กลิ่นเลย การได้รับสารเคมีบางอย่างที่ทำลายการรับกลิ่น อาทิ การได้รับกลิ่นฟอร์มาลีนเป็นเวลานาน อาจทำให้ปลายประสาทอักเสบและตายลงบางส่วน ส่งผลให้การรับกลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่นเลย ผิดปกติทางพันธุกรรม อาจไม่มีปลายประสาทรับกลิ่นหรือมีความผิดปกติที่ปลายประสาทรับกลิ่น อายุที่เพิ่มขึ้นและโรคทางสมองบางชนิด ลักษณะอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น อาจเกิดอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น หรือได้รับกลิ่นลดน้อยลงอย่างเฉียบพลัน และเรื้อรัง ไม่ได้รับกลิ่นอย่างเฉียบพลัน มักเกิดจากอุบัติเหตุ บางรายเกิดทันทีหลังผ่าตัด ไม่ได้รับกลิ่นเรื้อรัง มักเกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุโพรงจมูก เนื้องอก การได้รับสารเคมี อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อาการค่อยๆ ดำเนินไป วิธีการรักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น อาการที่สามารถรักษาได้ คือ เกิดจากการอักเสบ หวัด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น […]
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อพบว่าเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกันที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายและติดต่อได้ง่าย เนื่องจากเวลารับประทานอาหารต้องถอดหน้ากากอนามัยและอาจมีการสนทนาระหว่างมื้ออาหารทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้มากขึ้น พฤติกรรมเสี่ยงระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน การสนทนากันระหว่างรับประทานอาหาร ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านละอองน้ำลายขณะพูดคุย การหันหน้าเข้าหากันขณะรับประทานอาหารร่วมกัน เนื่องจากไม่มีการเว้นระยะห่างในโต๊ะรับประทานอาหาร ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสูง การใช้ภาชนะรับประทานอาหารร่วมกัน เช่น ช้อนกลางจาน แก้ว หรือการเผลอใช้ช้อนตนเองตักอาหารจากจานอื่น ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19