ภาวะกรดยูริกสูง เคยได้ยินกันบ่อยเลยใช่มั้ยคะ เพราะสิ่งนี้คือสาเหตุหลักของโรคโรคเกาต์แน่ๆ แต่ทราบไหมคะ ว่านอกจากโรคเกาต์แล้ว กรดยูริกยังเป็นตัวต้นเรื่องของอีกหลายโรคและเราควรทำอย่างไรจึงจะรักษาระดับกรดยูริกในร่างกายของเราไว้ไม่ให้มันสูงเกิน กรดยูริก “กรดยูริก” (Uric Acid) ในร่างกายของเรานั้นเกิดมาจากสองอย่างค่ะ อย่างแรกร้อยละ 80 คือ เกิดจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายขณะที่ร่างกายมีการสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ อย่างที่สองร้อยละ 20 คือ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีกรดยูริกสูง เมื่อกรดยูริกสูง การที่ร่างกายของเรามีกรดยูริกสูง หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง” (Hyperuricemia) นั้นหลักๆ เลย คือเกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายมากเกินกว่าความสามารถของไตที่จะขับออกหรือละลายกรดได้ (Monosodiumurate) หรือจากปัญหาในการทำงานของไตเอง จึงทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติสำหรับผู้ชายคือสูงกว่า 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนในผู้หญิงคือสูงกว่า 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตรค่ะ โรคเกาต์ หากเรามีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงติดต่อกันนานหลายปี จะก่อให้เกิดการตกผลึกของยูเรต (Urate Crystal) ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบหรือโรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง จากการศึกษาพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงกับความดันโลหิตสูงนั้นแปรผันตามกัน กรดยูริกที่สูงจะทำให้หลอดเลือดแดงที่เข้าสู่ไตหนาขึ้น ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาค่ะ หลอดเลือดเสื่อม เมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วนั้น แน่นอนหลอดเลือดเสื่อมย่อมตามมา เนื่องจากแรงดันเลือดจากหัวใจสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เสื่อมเร็ว และแตกง่าย โรคไต ผลจากการที่มีระดับยูริกสูงมากๆ […]