Tag Archives: ไขมันในเลือดสูง

วิธีดูง่าย ๆ ว่าไขมันสูงแล้วหรือยัง?

ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งการประเมินระดับไขมันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคำนวณดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ตรวจระดับคอเลสเตอรอล นำค่าคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) หารด้วยค่า HDL (ไขมันดี) หากผลลัพธ์มากกว่า 4 แสดงว่าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง การประเมินนี้ช่วยให้ทราบความเสี่ยงเบื้องต้นในการมีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ นำค่าไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หารด้วยค่า HDL (ไขมันดี) หากผลลัพธ์มากกว่า 2 แสดงว่าคุณมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ความเสี่ยงจากไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้หลอดเลือดอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตรกลีเซอไรด์สูงทำให้ไขมันสะสมที่ตับ เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) และตับอักเสบได้ หากตับอักเสบเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับในระยะยาว การประเมินไขมันในเลือดด้วยวิธีนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ควรตรวจสุขภาพกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมปรับพฤติกรรม เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกาย ใครคำนวณแล้วได้เท่าไหร่ มาแชร์กันได้นะคะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย Line […]

ผอมใครว่าไม่เสี่ยงป่วย ❓ สารพัดโรคร้าย ที่คนผอมก็เสี่ยงเป็นได้ ‼️

หลายคนคงทราบกันดีว่า “ความอ้วน” นั้นเป็นปัจจัยให้ก่อเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ แต่จริงๆ แล้ว คนที่ผอมเกินไปหรือมีน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ เมื่อไปตรวจสุขภาพก็อาจพบว่าตนเองมีค่าไขมันในเลือดหรือความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน โดยโรคที่คนผอมมักเสี่ยงเป็นโดยไม่รู้ตัวมีดังต่อไปนี้ค่ะ ไขมันในเลือดสูง แม้ว่าโรคไขมันในเลือดสูงจะพบบ่อยในคนที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมก็มีปัจจัยเสี่ยงเช่นกันค่ะ เพราะไขมันในร่างกายนั้นประกอบด้วยไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง คนผอมที่กินอย่างไรก็ไม่อ้วนเนื่องด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม แต่จริงๆ แล้วร่างกายยังสามารถสะสมไขมันไว้ในกระแสเลือดได้ ซึ่งหากปล่อยไว้ก็อาจเสี่ยงภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ค่ะ ความดันโลหิตสูง หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่าความดันโลหิตสูงนั้นเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วคนอ้วนหรือผอมก็สามารถตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้ค่ะ โดยปัจจัยเสี่ยงนั้นอาจมาจากอายุ (40-50 ปีขึ้นไป) เพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ความเครียดและวิตกกังวล หรือมาจากพันธุกรรมได้ถึง 30-40% ในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่พบโดยการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาภายหลัง โรคไทรอยด์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือเรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย และระดับไขมันในเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด หากไม่รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางกระดูกได้ค่ะ โรคกระดูกพรุน […]