การตรวจสุขภาพในแต่ละครั้งมักจะมี 7 ค่าเลือดสำคัญที่คนส่วนมากไม่ได้ตรวจ แล้วโดยทั่วไปก็จะไม่มีในแพ็คเก็จตรวจสุขภาพ ซึ่งค่าเลือดเหล่านั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อสุขภาพของเรา วันนี้เราจึงพามารู้จักกับ 7 ค่าเลือดที่สำคัญที่เราควรตรวจกันค่ะ 1. ค่า CRP (C-Reactive Protein) เป็นค่าที่บ่งบอกการอักเสบของร่างกาย บ่งบอกการอักเสบของหลอดเลือด โดยสมาคมโรคหัวใจที่อเมริกา (AHA) กำหนดค่านี้ว่า เป็นค่าที่บ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย ซึ่งค่านี้ถ้าต่ำกว่า 1 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถ้าอยู่ในช่วง 1-3 ถือเป็นค่ากลางๆ แต่ถ้ามากเกินกว่า 3 ขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจ หากค่า CRP สูง หลอดเลือดจะยิ่งอักเสบ คอเลสเตอรอลจะยิ่งไปเกาะ แต่ถ้าคอเลสเตอรอลสูงแล้วค่า CRP ไม่ได้สูงตาม หลอดเลือดไม่ได้มีการอักเสบ โอกาสที่คอเลสเตอรอลไปเกาะก็จะลดลง แต่หากตรวจแล้วค่า CRP สูงเกิน 3 หรือบางคนเกิน 5 ถือว่า อันตรายเป็นอย่างมาก ข้อแนะนำ คือ ดูน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดโดยตรง เป็นตัวหลักที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ดังนั้นคนเป็นเบาหวานส่วนมากค่า CRP จะสูง เพราะมีน้ำตาลสูงจึงควรไปคุมน้ำตาลเพื่อไม่ให้น้ำตาลไปทำให้หลอดเลือดอักเสบ […]
Category Archives: บทความที่เกี่ยวข้อง
หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย 1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา 2.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์ 3. ลดเค็ม ลดโซเดียม การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ของหมักดองต่าง […]
ไม่ใช่แค่โควิด-19 ที่น่าสงสัย แต่เมื่อไรก็ตามที่จมูกเริ่มไม่ค่อยได้กลิ่น อาจสงสัยว่าเป็นโรคเหล่านี้ได้ด้วย ผศ. นพ.วิชิต ชีวเรืองโรจน์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึงสาเหตุที่อาจทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น หรือความสามารถในการรับรู้กลิ่นน้อยลง ดังนี้ สาเหตุของปัญหาจมูกไม่ได้กลิ่น การอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก โพรงไซนัส ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น เนื้องอกอุดกลั้น ทำให้กลิ่นขึ้นไม่ถึงปลายประสาทรับกลิ่น อุบัติเหตุที่ศีรษะที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ (หน้าผาก ท้ายทอย) บาดเจ็บ หรือฉีกขาด ส่งผลต่อการได้กลิ่นที่ลดลง หรืออาจไม่ได้กลิ่นเลย การได้รับสารเคมีบางอย่างที่ทำลายการรับกลิ่น อาทิ การได้รับกลิ่นฟอร์มาลีนเป็นเวลานาน อาจทำให้ปลายประสาทอักเสบและตายลงบางส่วน ส่งผลให้การรับกลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่นเลย ผิดปกติทางพันธุกรรม อาจไม่มีปลายประสาทรับกลิ่นหรือมีความผิดปกติที่ปลายประสาทรับกลิ่น อายุที่เพิ่มขึ้นและโรคทางสมองบางชนิด ลักษณะอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น อาจเกิดอาการจมูกไม่ได้รับกลิ่น หรือได้รับกลิ่นลดน้อยลงอย่างเฉียบพลัน และเรื้อรัง ไม่ได้รับกลิ่นอย่างเฉียบพลัน มักเกิดจากอุบัติเหตุ บางรายเกิดทันทีหลังผ่าตัด ไม่ได้รับกลิ่นเรื้อรัง มักเกิดจากการอักเสบที่เยื่อบุโพรงจมูก เนื้องอก การได้รับสารเคมี อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อาการค่อยๆ ดำเนินไป วิธีการรักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น อาการที่สามารถรักษาได้ คือ เกิดจากการอักเสบ หวัด ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น […]
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อพบว่าเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกันที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายและติดต่อได้ง่าย เนื่องจากเวลารับประทานอาหารต้องถอดหน้ากากอนามัยและอาจมีการสนทนาระหว่างมื้ออาหารทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้มากขึ้น พฤติกรรมเสี่ยงระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน การสนทนากันระหว่างรับประทานอาหาร ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อผ่านละอองน้ำลายขณะพูดคุย การหันหน้าเข้าหากันขณะรับประทานอาหารร่วมกัน เนื่องจากไม่มีการเว้นระยะห่างในโต๊ะรับประทานอาหาร ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสูง การใช้ภาชนะรับประทานอาหารร่วมกัน เช่น ช้อนกลางจาน แก้ว หรือการเผลอใช้ช้อนตนเองตักอาหารจากจานอื่น ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็น โรคที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหารภายในร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึง โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน และ ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรง อาหารที่ไม่ควรรับประทานสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลทุกชนิด เช่น เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสมทุกชนิด , ชา , กาแฟ , น้ำตาลปิ๊ป , น้ำตาลก้อน และ ยังรวมไปถึงขนมหวานต่างๆเช่น คุกกี้ , โดนัท , ไอศกรีม , เค้กเป็นต้น ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมข้น , นมเปรี้ยว , โยเกิร์ตที่ไม่ใช่รสธรรมชาติ , นมรสหวาน ผลไม้กวน หรือ ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กระป๋อง ผลไม้ทั้งหลายที่ผ่านกระบวนการตกแต่งรสชาติทั้งหลาย อาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว หรือ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น ไส้กรอก แกงกะทิต่างๆ เป็นต้น อาหารที่คนเป็นเบาหวานสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่จำกัด 1.ข้าว หรือ […]
ความดันโลหิตสูง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม – ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในภาวะคงที่สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ทันที เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด 19 ขึ้นมา – ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น มีความดันโลหิตตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท หรือยังต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ไม่ควรฉีดวัคซีน ต้องควบคุมอาการให้คงที่ก่อนจึงสามารถฉีดได้ เตรียมตัวอย่างไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด สำหรับการเตรียมตัวของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ได้แตกต่างจากการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิดของบุคคลทั่วไปมากนัก โดยมีข้อแนะนำตามนี้ค่ะ ควบคุมความดันโลหิตของตัวเองไม่ให้เกินเกณฑ์ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ กินยาลดความดันโลหิตและยาประจำตัวอื่น ๆ ได้ตามปกติไม่ควรหยุดยาเองหรือปรับยาเพื่อฉีดวัคซีน เว้นแต่กรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนแม่นยำขึ้น กรณีกินยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ระดับ INR (ค่าการแข็งตัวของเลือด) ไม่ควรเกิน 3 เท่า ดื่มน้ำอย่างน้อย 3-5 แก้ว ในช่วง 12 ชั่วโมง ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น คืนก่อนฉีดวัคซีนควรนอนให้หลับ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาให้ครบ ถ้ากังวลมากอาจรับประทานยาคลายกังวลก่อนนอน เช้าวันฉีดวัคซีนควรกินอาหารเช้า กินยา ดื่มน้ำให้เรียบร้อย สามารถดื่มกาแฟได้ตามปกติถ้าเป็นคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้ามีไข้ มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีนบริเวณต้นแขน […]