Author Archives: admin

แมกนีเซียม คู่หูสำคัญของคนความดันสูง

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ คือ อาหาร โดยเฉพาะเกลือที่ควรเลี่ยง เพราะเกลือทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จึงควรทำอาหารทานเองเพื่อกำหนดวัตถุดิบในการทำอาหาร ควรเลี่ยงอาหารแปรรูป เลี่ยงทานน้ำซุปหรือน้ำแกง เน้นทานอาหารที่โพแทสเซียมสูง เช่น ฝรั่ง กล้วย อะโวคาโด รวมถึงทานอาหารที่แมกนีเซียมสูง เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วต่างๆ เพราะการขาดแมกนีเซียมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง หากได้รับแมกนีเซียมเพียงพออาจช่วยให้ความดันดีขึ้นรวมถึงอาจช่วยลดการทานยาความดันลงได้ จึงอาจพิจารณาเสริม แมกนีเซียม ที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยคลายหลอดเลือด ช่วยลดปวดไมเกรน และช่วยป้องกันตะคริวได้

อาการหลอดเลือดหัวใจ เป็นเมื่อไหร่ให้ไปพบแพทย์

“คนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ” เคยได้ยินนานละ แต่ยิ่งพออายุเพิ่มขึ้น คนที่รู้จักรอบตัวเริ่มจะเป็นกันเยอะขึ้น เลยเหมือนว่าโรคนี้จะใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกทีรึเปล่านะ ⚠️ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) โรคหลอดเลือดหัวใจ คือโรคที่เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจนั้นตีบหรือตันค่ะ 💬 หลอดเลือดหัวใจตีบ ตีบอย่างไร ❓ หลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันนั้นคือการที่หลอดเลือดแดง ซึ่งโดยปกติมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ นั้นแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้ช่องว่างภายในหลอดเลือดแดงตีบหรือแคบลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดแดงสามารถผ่านช่องนี้ได้น้อยลง จึงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแคบลงมากถึงขั้นอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ค่ะ ⛔ หลอดเลือดหัวใจตีบ ตีบแล้วอาการเป็นอย่างไร ❓ เมื่อหลอดเลือดอุดตันเข้าขั้นอันตราย ส่วนมากอาการเป็นดังนี้ค่ะ ⚠️ เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง จะมีลักษณะเฉพาะ คือรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรมากดทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอกเหนือลิ้นปี่ อาการเจ็บอาจร้าวถึงบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้างโดยเฉพาะข้างซ้ายค่ะ จะเป็นหนักเวลาต้องออกแรง เวลาเป็นทีนึงจะเป็นนาน 2-3 นาที ⚠️ เหนื่อยง่าย เมื่อต้องออกแรงหรือออกกำลังกาย จะมีการอาการเหนื่อยง่ายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ หรือบางครั้งเรื้อรังลากนานเกิน 3 […]

6 สาเหตุ ที่ทำให้ ‘ยูริกสูง’

ยูริก คือ ภัยเงียบคุกคามสุขภาพของเรา บางคนไม่คิดเลยว่า ยูริกจะอันตราย คิดว่าเป็นแค่ค่าๆ หนึ่ง ที่จริงแล้วยูริกเป็นตัวหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยบอกโรคต่างๆ ที่จะตามมาได้หากยูริกสูงหรือไม่ได้ดูแลยูริก ซึ่งยูริกสูงทำให้เกิดโรคโรคเกาต์ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง วันนี้เราจึงพามารู้จักกับสาเหตุที่ทำให้ยูริกสูง เพื่อที่เราจะได้ดูแลยูริกได้อย่างใกล้ชิดและปลอดภัยกันนะคะ 1. เกิดจากอาหาร 50% ของยูริกที่สูงอยู่ในเลือดเกิดจากอาหาร เช่น เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, น้ำซุป น้ำแกง กุ้ง, หอย, ปลาซาร์ดีน, ปลาอินทรีย์, หน่อไม้, ดอกกะหล่ำ, ชะอม, เห็ด, ถั่วแดง, ถั่วเหลือง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เป็นต้น 2. ร่างกายสร้างขึ้นเอง 50% ของยูริกสูงเกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง เวลาที่เรากินเยอะก็จะมีอนุมูลอิสระเยอะ แล้วก็จะมียูริกออกมาเยอะด้วย ยูริกเปรียบเหมือนสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ปกติกระบวนการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะมียูริกออกมาด้วย ยิ่งกินเยอะมากเท่าไหร่ เวลาที่ร่างกายเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงานออกมาก็จะมีของเสียออกมาด้วย ของเสียเหล่านั้นเรียกว่า อนุมูลอิสระ เมื่อมีอนุมูลอิสระเยอะ ร่างกายจะต้องสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมา เวลาที่ร่างกายจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาจะมียูริกออกมาด้วย 3. […]

6 ประเภท “โรคหัวใจ” ที่คุณควรรู้จักและเฝ้าระวัง !

ในปัจจุบัน “โรคหัวใจ” (Heart Disease) เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่มากที่สุดในโลก โดยความผิดปกตินั้นอาจเกิดขึ้นได้ในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน จึงทำให้มีอาการที่แตกต่างกันได้ หากเราเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจและทราบถึงปัจจัยเสี่ยง ก็จะมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน 6 ประเภทของโรคหัวใจที่ควรรู้จักและเฝ้าระวัง ดังนี้ค่ะ 1️⃣ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการตีบหรืออุดกั้นของหลอดเลือดที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวาย เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ⚠️ ปัจจัยเสี่ยง: ความอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ 🫀 อาการ: รู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ ตัว อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้ 2️⃣ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นสภาวะที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบนำส่งสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ และอาจนำไปสู่ความผิดปกติของร่างกายได้ ⚠️ ปัจจัยเสี่ยง: โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ความเครียด และการใช้สารเสพติด 🫀 อาการ: หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม 3️⃣ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ […]

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุม “เบาหวาน” ไม่ได้?

เบาหวานเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อระบบร่างกายหลายอย่าง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสมจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว การไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้นหมายถึง ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในตอนเช้าสูงกว่า 130 mg/dl หรือระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือน (HbA1C) มากกว่า 7 mg% ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาได้ ดังเช่น ❌ โรคหลอดเลือดสมอง: การเป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการและความตายที่มากขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน ❌ ไตวายจากเบาหวาน: เบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต ทำให้การกรองของไตลดลง ส่งผลสู่ไตวายในระยะยาว ❌ เส้นประสาทเสื่อม: ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เส้นประสาทเสื่อมและเกิดอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หรือสมรรถภาพทางเพศลดลง ❌ เบาหวานขึ้นจอประสาทตา: การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ทำให้ต้อกระจกและเสี่ยงต่อการเสียวิสัย ❌ โรคหลอดเลือดเลือดหัวใจ: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่การขาดเลือดที่กล้ามเนื้อหัวใจ และหัวใจวาย ความเสี่ยงนี้ยิ่งสูงขึ้นถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด ❌ สูญเสียประสาทรับรู้ที่เท้า: เบาหวานสามารถทำให้เสียประสาทรับรู้ที่เท้า นำไปสู่การเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นแผลหายยาก ในกรณีที่รักษาไม่ได้ อาจจำเป็นต้องตัดเท้า ดังนั้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงตามมา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี อาทิ ✅ ควบคุมอาหาร […]

โรคหัวใจ ไม่เลือกวัย อายุน้อยก็เสี่ยงได้!

ในสมัยก่อน “โรคหัวใจ” นั้นเคยถือว่าเป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันคงไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากมีคนป่วยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อยสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จากข้อมูลในปี 2564 พบว่า “โรคหัวใจขาดเลือด” คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 ของคนไทย (รองจากโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง และปอดบวม) โดยมีผู้เสียชีวิตมากถึงปีละกว่า 20,000 คน! แล้วสาเหตุเป็นเพราะอะไร? ลองมาฟังคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญกันดูค่ะ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ระบุว่า เหตุผลที่โรคหัวใจเกิดขึ้นในกลุ่มวัยหนุ่มสาวมากขึ้นก็คือ ในปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้คนเสี่ยงต่อโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยกันมากขึ้น ได้แก่ การมีภาวะโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งคนเริ่มเป็นกันมากขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 35 ปี นอกจากนี้ การสูบบุหรี่หรือมลพิษในอากาศก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจนั่นเองค่ะ แต่ในข่าวร้ายยังมีข่าวดี เพราะโรคหัวใจส่วนใหญ่นั้นมักมีสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ไม่ยาก และรักษาได้ทันก่อนที่จะสายเกินไป โดยอาการที่ควรสังเกตและเฝ้าระวังนั้น ได้แก่ : มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีของหนักกดทับ เจ็บหน้าอกร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง มีภาวะหัวใจล้มเหลว […]

‘10 ตัวช่วย’ ลดคอเลสเตอรอลอย่างเห็นผลโดยพึ่งยาน้อยที่สุด

หากเรามีคอลเลสเตอรอลสูง เราอาจอยากรู้ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้โดยไม่ต้องพึ่งยา ซึ่งการปล่อยให้คอเลสเตอรอลสูงจะเพิ่มโอกาสเกิดหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่เราจะต้องควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอลของเราอย่างใกล้ชิด ซึ่งการลดคอเลสเตอรอลโดยไม่ต้องกินยา สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงอาหารและกิจวัตรประจำวันของเราเอง ทั้งกินอาหารที่ดีต่อการลดคอเลสเตอรอลเป็นพิเศษ การออกกำลังกายที่เราสามารถทำได้เอง ✨ ตัวช่วยดูแลคอเลสเตอรอล เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า การคุมคอเลสเตอรอลให้ดี ควรกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือการเลือกกินอาหารเสริมเป็นแนวทางแรกๆ ที่จะช่วยคุมคอเลสเตอรอลได้  🔹 1. กระเทียม การกินกระเทียมดีต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลลงได้ ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย 🔹 2. ขิง  ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และยังช่วยเพิ่มไขมันดี HDL อีกด้วย อาจทานเป็นขิงสดหรือปรุงในอาหาร หรือเป็นอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน 🔹 3. เมล็ดแฟลกซ์  ไม่ว่าจะที่เป็นเมล็ดหรือเป็นน้ำมันที่สกัดออกมาต่างก็เป็นแหล่งไขมันโอเมก้า 3 ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล รวมถึงเพิ่มระดับ HDL ได้  🔹 4. ข้าวยีสต์แดง  เป็นข้าวที่หมักด้วยยีสต์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ที่เรียกว่า Monacolins จะไปขัดขวางการผลิตคอเลสเตอรอล มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกับกลุ่ม statin ชื่อ lovastatin ที่เป็นยาลดคอเลสเตอรอล […]

‘คอเลสเตอรอลสูง’ ไม่อยากกินยา ทำอย่างไรดี?

ปกติร่างกายของเราจะผลิตคอเลสเตอรอลได้เองตามธรรมชาติ แต่การใช้ชีวิตที่ไม่ดีส่งผลทำให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) ออกมามากกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอล (LDL) สูงในคนส่วนใหญ่ ปกติคอเลสเตอรอลมาจากการกิน 20% และมาจากร่างกายสร้างขึ้นเอง 80% ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมามีอยู่ 2 ประเด็น คือ ➥ 1.) กิน Trans Fat ถ้ากินไขมันทรานส์เข้าไปก็จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลขึ้น ➥ 2.) ปัญหาเรื่องฮอร์โมน คอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการไปสร้างฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งฮอร์โมนในร่างกายมีเยอะ แต่มีฮอร์โมนอยู่จำนวนหนึ่งที่สร้างจากคอเลสเตอรอล ถ้าร่างกายมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนในกลุ่มที่สร้างจากคอเลสเตอรอลก็จะทำให้มีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ลดคอเลสเตอรอลโดยใช้ยาน้อยที่สุด เลี่ยงไขมันทรานส์ ➠ ทั้งที่เป็นมาการีน เนยเทียม ไขมันพืช คอฟฟี่เมตต่างๆ โดยเฉพาะในอาหารกลุ่มพวกที่เป็นเบเกอรี่ ขนมปัง พยายามเลี่ยงกลุ่มพวกนี้ให้หมด เพราะมีแนวโน้มสูงที่จะมีไขมันทรานส์ผสมอยู่ ถ้าเราเลี่ยงกลุ่มนี้ได้และเราไม่ได้บริโภคไขมันทรานส์เข้าไปเพิ่ม การที่มีไขมันทรานส์จะไปกระตุ้นให้เราสร้างคอเลสเตอรอลเยอะขึ้น กินอาหารดีต่อสุขภาพ ➠ เน้นกินอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด สัตว์ปีก ปลา ถั่ว และจำกัดการกินเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารและเครื่องดื่มที่มีโซเดียมและอาหารที่มีน้ำตาล ลดอาหารทอด […]

ความดันโลหิตสูงอาจเชื่อมโยงกับโรคอัลไซเมอร์

ความดันโลหิตสูง จะเกิดขึ้นเมื่อแรงดันในเส้นเลือดมีมากเกินไป มีผลให้ประสิทธิภาพของหลอดเลือดและหลอดเลือดหัวใจลดลงและต้องทำงานหนักขึ้น เมื่อแรงดันแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยเข้า เนื้อเยื่อในเส้นเลือดจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนเสียหาย เป็นแผล เป็นผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการแข็งตัว ทั้งไขมันเลว คอเลสเตอรอลตัวร้ายก็จะมาเกาะอยู่รอบแผลนี้และหนาตัวขึ้นจนบีบให้หลอดเลือดแคบลง อาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเพราะขาดเลือด หรือเส้นเลือดแตกจนเสียชีวิตได้ค่ะ สาเหตุที่แรงดันนั่นเพิ่มขึ้นเป็นไปได้หลายสาเหตุ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาจากพฤติกรรม เช่น การทานไขมันเป็นประจำ กินจุเกินไป สูบบุหรี่ ทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์บ่อยและความเครียด เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าความดันโลหิตสูงนั่นเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า? ความดันโลหิตสูงยังเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ด้วยนะคะ จากผู้เข้าร่วมทดลองอายุ 65 ปีหรือสูงกว่าถึง 1,288 คน โดยมีการเช็คความดันโลหิตและระบบประสาทอย่างสม่ำเสมอ เก็บข้อมูลประวัติการรักษาและสุขภาพของผู้เข้าร่วมก่อนหน้านี้ รวมทั้งชันสูตรสมองเมื่อผู้เข้าร่วมทดลองเสียชีวิต ผลที่ได้ก็คือ นักวิจัยพบว่าในผู้เข้าร่วมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงกว่ามาตรฐานจะพบเนื้อเยื่อสมองที่ตายจากการขาดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดถูกปิดกั้น ในสมองยังพบโปรตีนที่จับกันเป็นก้อน (plaques) และ เส้นใยโปรตีนที่พันกัน (tangles) ทั้งสองอย่างนี้เป็นโปรตีนในรูปแบบที่เป็นพิษต่อร่างกาย มันจะไปหยุดการส่งสัญญาณของสมองทำให้เซลล์สมองตาย การพบโปรตีนสองอย่างนี้ถือว่าเป็นอีกหลักฐานหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมค่ะ แม้การวิจัยชิ้นนี้จะเป็นการวิจัยแบบสำรวจผลไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างอย่างชัดเจน แต่ตัวเลขที่นักวิจัยพบก็ยืนยันได้ว่าความดันและอาการอัลไซเมอร์นั่นมีแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกันสูงมากๆ วิธีคงระดับความดันโลหิตให้เห็นปกตินั่นทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้ค่ะ ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ทานไขมันดี งดทานเค็มและอาหารที่มีโซเดียมสูง  เลิกสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณแอลกอฮอร์ ดูแลจิตใจให้แข็งแรง โดยสรุปแล้ว อะไรก็ตามที่ดีต่อหัวใจ ก็ดีต่อสมองด้วยนั่นเองค่ะ ความดันโลหิตสูงอาจไม่ได้อันตรายด้วยตัวมันเอง […]

หากไม่อยากกินยา จะลดความดันได้อย่างไร?

หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย 🟦 1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา 🟦 2.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์ 🟦 3. ลดเค็ม ลดโซเดียม การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว […]