Author Archives: admin

7 ข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และนมวัว

7-ข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และนมวัว

ในหลายมักคิดว่า เมื่อเราต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นก็ทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ในคนที่เล่นกล้ามก็จะไปทานโปรตีนจากพวกเวย์โปรตีน จากนม ซึ่งการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โปรตีนจากนมนั้นก็มีข้อเสียที่บางคนอาจยังไม่รู้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันคนเริ่มหันมาทานโปรตีนจากพืชเพิ่มมากขึ้น ทั้งนักกีฬาต่างๆ เช่น นักกีฬาวิ่ง นักกล้าม คนที่เล่นเวท แล้วพบว่าความแข็งแรง ความเร็ว พละกำลัง ดีขึ้นเมื่อกินโปรตีนจากพืช ทำให้มี Performance ในการเล่นกีฬาได้ดีกว่า แล้วโปรตีนจากสัตว์หรือนมมีข้อเสียอะไรบ้าง วันนี้เราจึงนำข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากนมมาฝากกันค่ะ 1. มีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมัน คือ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เนื้อสัตว์รสชาติอร่อยถูกปากกว่าพืชผักมาก แต่ก็ตามมาด้วยโทษเช่นกัน ไขมันในเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่แล้วเป็นไขมันอิ่มตัวแล้วถูกจัดว่าอยู่ในไขมันประเภทเลว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจ 2. มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากโปรตีนสัตว์หรือโปรตีนที่มาจากนมจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าโปรตีนจากพืชอยู่แล้ว ในโปรตีนพืชจะไม่มีคอเลสเตอรอลเลย 3. ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากนมวัวจะทำให้เกิดภูมิแพ้ได้สูง เพราะโปรตีนที่มาจากนมวัวจะมีเคซีน (Casein) เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย 4. ไตทำงานหนักขึ้น เพราะว่าโปรตีนจากสัตว์หรือโปรตีนจากนมทำให้ร่างกายเป็นกรดมากขึ้น เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการขับกรดส่วนเกินออกจากร่างกายจึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้น 5. เกิดกระดูกบางกระดูกพรุน คนที่ทานโปรตีนจากสัตว์หรือนมจะทำให้เกิดกระดูกบางกระดุกพรุนมากขึ้น การศึกษาพบว่า ประเทศที่มีทานการนมในปริมาณมาก เช่น ในโซนยุโรปหรืออเมริกา เมื่อเทียบกับประเทศที่กินทานนมวัวน้อย เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่า […]

7 ค่าเลือดสำคัญที่คนส่วนมากไม่ได้ตรวจ

ค่าเลือด

การตรวจสุขภาพในแต่ละครั้งมักจะมี 7 ค่าเลือดสำคัญที่คนส่วนมากไม่ได้ตรวจ แล้วโดยทั่วไปก็จะไม่มีในแพ็คเก็จตรวจสุขภาพ ซึ่งค่าเลือดเหล่านั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อสุขภาพของเรา วันนี้เราจึงพามารู้จักกับ 7 ค่าเลือดที่สำคัญที่เราควรตรวจกันค่ะ 1. ค่า CRP (C-Reactive Protein) เป็นค่าที่บ่งบอกการอักเสบของร่างกาย บ่งบอกการอักเสบของหลอดเลือด โดยสมาคมโรคหัวใจที่อเมริกา (AHA) กำหนดค่านี้ว่า เป็นค่าที่บ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ด้วย ซึ่งค่านี้ถ้าต่ำกว่า 1 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถ้าอยู่ในช่วง 1-3 ถือเป็นค่ากลางๆ แต่ถ้ามากเกินกว่า 3 ขึ้นไปถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหัวใจ หากค่า CRP สูง หลอดเลือดจะยิ่งอักเสบ คอเลสเตอรอลจะยิ่งไปเกาะ แต่ถ้าคอเลสเตอรอลสูงแล้วค่า CRP ไม่ได้สูงตาม หลอดเลือดไม่ได้มีการอักเสบ โอกาสที่คอเลสเตอรอลไปเกาะก็จะลดลง แต่หากตรวจแล้วค่า CRP สูงเกิน 3 หรือบางคนเกิน 5 ถือว่า อันตรายเป็นอย่างมาก ข้อแนะนำ คือ ดูน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดโดยตรง เป็นตัวหลักที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ดังนั้นคนเป็นเบาหวานส่วนมากค่า CRP จะสูง เพราะมีน้ำตาลสูงจึงควรไปคุมน้ำตาลเพื่อไม่ให้น้ำตาลไปทำให้หลอดเลือดอักเสบ […]

หากไม่อยากกินยา จะลดความดันได้อย่างไร?

ลดความดัน

หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย 1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา 2.ออกกำลังกาย ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์ 3. ลดเค็ม ลดโซเดียม การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ของหมักดองต่าง […]

เรื่องที่ควรรู้ก่อนฉีดวัคซีน

ความดันโลหิตสูง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม – ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในภาวะคงที่สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ทันที เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด 19 ขึ้นมา – ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น มีความดันโลหิตตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท หรือยังต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ไม่ควรฉีดวัคซีน ต้องควบคุมอาการให้คงที่ก่อนจึงสามารถฉีดได้ เตรียมตัวอย่างไรก่อนฉีดวัคซีนโควิด สำหรับการเตรียมตัวของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ได้แตกต่างจากการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิดของบุคคลทั่วไปมากนัก โดยมีข้อแนะนำตามนี้ค่ะ ควบคุมความดันโลหิตของตัวเองไม่ให้เกินเกณฑ์ หากมีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ กินยาลดความดันโลหิตและยาประจำตัวอื่น ๆ ได้ตามปกติไม่ควรหยุดยาเองหรือปรับยาเพื่อฉีดวัคซีน เว้นแต่กรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนแม่นยำขึ้น กรณีกินยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ระดับ INR (ค่าการแข็งตัวของเลือด) ไม่ควรเกิน 3 เท่า ดื่มน้ำอย่างน้อย 3-5 แก้ว ในช่วง 12 ชั่วโมง ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อช่วยให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น คืนก่อนฉีดวัคซีนควรนอนให้หลับ พักผ่อนให้เพียงพอ กินยาให้ครบ ถ้ากังวลมากอาจรับประทานยาคลายกังวลก่อนนอน เช้าวันฉีดวัคซีนควรกินอาหารเช้า กินยา ดื่มน้ำให้เรียบร้อย สามารถดื่มกาแฟได้ตามปกติถ้าเป็นคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้ามีไข้ มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีนบริเวณต้นแขน […]