ผอมใครว่าไม่เสี่ยงป่วย ❓ สารพัดโรคร้าย ที่คนผอมก็เสี่ยงเป็นได้ ‼️

หลายคนคงทราบกันดีว่า “ความอ้วน” นั้นเป็นปัจจัยให้ก่อเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ แต่จริงๆ แล้ว คนที่ผอมเกินไปหรือมีน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์ เมื่อไปตรวจสุขภาพก็อาจพบว่าตนเองมีค่าไขมันในเลือดหรือความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน โดยโรคที่คนผอมมักเสี่ยงเป็นโดยไม่รู้ตัวมีดังต่อไปนี้ค่ะ

1️⃣ ไขมันในเลือดสูง

แม้ว่าโรคไขมันในเลือดสูงจะพบบ่อยในคนที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมก็มีปัจจัยเสี่ยงเช่นกันค่ะ เพราะไขมันในร่างกายนั้นประกอบด้วยไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง คนผอมที่กินอย่างไรก็ไม่อ้วนเนื่องด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม แต่จริงๆ แล้วร่างกายยังสามารถสะสมไขมันไว้ในกระแสเลือดได้ ซึ่งหากปล่อยไว้ก็อาจเสี่ยงภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ค่ะ

2️⃣ ความดันโลหิตสูง

หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่าความดันโลหิตสูงนั้นเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วคนอ้วนหรือผอมก็สามารถตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้ค่ะ โดยปัจจัยเสี่ยงนั้นอาจมาจากอายุ (40-50 ปีขึ้นไป) เพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ความเครียดและวิตกกังวล หรือมาจากพันธุกรรมได้ถึง 30-40% ในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่พบโดยการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาภายหลัง

3️⃣ โรคไทรอยด์

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือเรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย และระดับไขมันในเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด หากไม่รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางกระดูกได้ค่ะ

4️⃣ โรคกระดูกพรุน

คนที่มีน้ำหนักน้อยมักมีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ค่ะ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวเองว่ามีภาวะกระดูกพรุน จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มหรือกระแทกจนกระดูกหัก โดยผู้ที่มีภาวะเสี่ยงคือ ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน (อายุ 50 ปีขึ้นไป) และผู้ที่มีค่า BMI ต่ำกว่า 20 ดังนั้น หากมีปัจจัยดังกล่าวก็ควรตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกอยู่เสมอนะคะ

⚠️ แบบไหนที่เรียกว่าผอมเกินไป?

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย (BMI) ในการตรวจสอบคนที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน โดยมีสูตรคำนวณคือ น้ำหนักตัว[กก.] / (ส่วนสูง[ม.] ยกกำลังสอง)

สำหรับผู้ใหญ่ชาวเอเชียที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.90 แสดงว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่ามีน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์หรือผอมเกินไปค่ะ

⚠️ ปัจจัยที่ทำให้มีภาวะผอม

ผู้ที่มีภาวะผอมอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ :

1. พันธุกรรม: บางคนมีค่า BMI ต่ำโดยธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพภายในครอบครัว
2. เมตาบอลิซึมสูง: การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูงอาจเป็นสาเหตุของความผอม
3. การออกกำลังกายเป็นประจำ: นักกีฬาหรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง เช่น นักวิ่ง
4. โรคทางกายหรือโรคเรื้อรัง: เช่น โรคที่มีต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มะเร็ง โรคเบาหวาน
5. ปัญหาสุขภาพจิต: เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอนอเร็กเซีย (anorexia) และบูลีเมีย (bulimia)

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหนก็เสี่ยงโรคได้เช่นกัน การหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคนค่ะ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียดที่ไม่จำเป็น และหมั่นพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออยู่เสมอนะคะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย
💬Line : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpd
🖥Website : https://healthfocusclinic.co.th/
📞Tel : 02-096-4945
📍Location : The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)
_________________________________________________
🔗ทำความรู้จักกับหมออรรถ (อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)
https://hfocusclinic.com/หมออรรถ-อย่าฝากชีวิตไว้/

🔗ทำไมต้องมาตรวจสุขภาพที่ Health Focus Clinic
https://hfocusclinic.com/ทำไมต้องเรา/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *