Author Archives: admin

 7 สัญญาณเตือนว่า คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคไต

“โรคไต” เป็นภัยเงียบที่หลายคนอาจไม่ตระหนักถึงความรุนแรงจนกว่าจะถึงจุดที่ยากจะแก้ไขได้  การสังเกตสัญญาณเตือนจึงเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและจัดการกับโรคไตให้เร็วที่สุด วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 7 สัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงต่อโรคไต เพื่อช่วยให้คุณและคนรอบข้างสามารถเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพไตของตนเองได้อย่างทันท่วงทีนะคะ  สัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเสี่ยง “โรคไต” ปกติในการสังเกตอาการโรคไตนั้น สามารถพิจารณาได้ 2 ทาง คือ จากลักษณะปัสสาวะที่ผิดปกติ กับอาการทางกายที่ผิดปกติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ อาการทางปัสสาวะ 1. ปัสสาวะมีเลือดปน  อาจเป็นสัญญาณของหลายๆ โรค เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในไต หรือภาวะไตอักเสบ ในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับเนื้องอกหรือมะเร็งไต หากพบเห็นเลือดในปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 2. ปัสสาวะเป็นฟอง ถ้าฟองไม่หายไปหลังจากปัสสาวะแล้วช่วงหนึ่ง หรือภายใน 1 นาที อาจบ่งบอกถึงโปรตีนหลุดรั่วไปในปัสสาวะ เนื่องจากมีความผิดปกติทางระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับไต หรืออาการของโรคเบาหวาน ซึ่งควรไปตรวจดูว่ามีโปรตีนหรือน้ำตาลมากเกินไปในปัสสาวะหรือไม่ 3. ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หากคุณมีอาการปัสสาวะน้อยลงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด แม้จะดื่มน้ำในปริมาณเท่าเดิมหรือดื่มมากขึ้นก็ตาม นั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาในไต เช่น ภาวะไตเสื่อม หรือทางเดินปัสสาวะอุดกั้น 4. ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน การต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะหลายครั้งในช่วงกลางคืน อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติอื่นๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงโรคไต […]

น้ำมันปลาที่ดี ควรดูอย่างไร

ทุกคนคงรู้กันแล้วใช่ไหมคะ ว่าน้ำมันปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะช่วยเรื่องต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการปวดข้อ ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเรื่องความจำให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยค่ะ น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดมาจากปลาจากแหล่งธรรมชาติค่ะ โดยในน้ำมันปลาจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เข้มข้นอยู่ค่ะ ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายเราอย่างมากเลยล่ะคะ แต่ร่างกายเราก็ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ค่ะ แล้วในกรดไขมันโอเมก้า 3 จะมีกรดไขมันสำคัญอยู่ 2 ตัวที่เราต้องการ นั่นคือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ค่ะ  โดย EPA จะช่วยเรื่องหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อมได้ค่ะ  ส่วน DHA จะช่วยเรื่องสมองและดวงตา ช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตาให้ดีขึ้นได้ค่ะ แล้วอย่างที่บอกไปค่ะว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริม ทุกวันนี้จึงมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลา (โอเมก้า 3) วางจำหน่ายกันอย่างมากในท้องตลาดเลยค่ะ แต่ละยี่ห้อ แต่ละแบรนด์ก็มีส่วนผสมในน้ำมันปลาที่แตกต่างกันออกไปค่ะ ในท้องตลาดส่วนมากเรามักเห็นน้ำมันปลาขนาดเม็ดละ 1,000 mg ใช่ไหมคะ […]

🩺 กรดยูริก สาเหตุความดันสูง หลอดเลือดเสื่อม ไตวาย 🫁🩸

ภาวะกรดยูริกสูง เคยได้ยินกันบ่อยเลยใช่มั้ยคะ เพราะสิ่งนี้คือสาเหตุหลักของโรคโรคเกาต์แน่ๆ แต่ทราบไหมคะ ว่านอกจากโรคเกาต์แล้ว กรดยูริกยังเป็นตัวต้นเรื่องของอีกหลายโรคและเราควรทำอย่างไรจึงจะรักษาระดับกรดยูริกในร่างกายของเราไว้ไม่ให้มันสูงเกิน กรดยูริก “กรดยูริก” (Uric Acid) ในร่างกายของเรานั้นเกิดมาจากสองอย่างค่ะ อย่างแรกร้อยละ 80 คือ เกิดจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายขณะที่ร่างกายมีการสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ อย่างที่สองร้อยละ 20 คือ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีกรดยูริกสูง เมื่อกรดยูริกสูง การที่ร่างกายของเรามีกรดยูริกสูง หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง” (Hyperuricemia) นั้นหลักๆ เลย คือเกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายมากเกินกว่าความสามารถของไตที่จะขับออกหรือละลายกรดได้ (Monosodiumurate) หรือจากปัญหาในการทำงานของไตเอง จึงทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติสำหรับผู้ชายคือสูงกว่า 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนในผู้หญิงคือสูงกว่า 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตรค่ะ โรคเกาต์ หากเรามีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงติดต่อกันนานหลายปี จะก่อให้เกิดการตกผลึกของยูเรต (Urate Crystal) ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย อันเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบหรือโรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง จากการศึกษาพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงกับความดันโลหิตสูงนั้นแปรผันตามกัน กรดยูริกที่สูงจะทำให้หลอดเลือดแดงที่เข้าสู่ไตหนาขึ้น ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาค่ะ หลอดเลือดเสื่อม เมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วนั้น แน่นอนหลอดเลือดเสื่อมย่อมตามมา เนื่องจากแรงดันเลือดจากหัวใจสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เสื่อมเร็ว และแตกง่าย โรคไต ผลจากการที่มีระดับยูริกสูงมากๆ […]

โรคไต มาแน่❗ถ้ายังชอบกินอาหารเหล่านี้ 😱

คุณคงเคยได้ยินว่า “ไต” นั้นสำคัญแค่ไหนกับร่างกายเรา เพราะมันทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งหากไตของเรามีปัญหา ก็จะส่งผลต่อการขับของเสียในร่างกาย เกิดอาการตัวบวม และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายหรือไตล้มเหลวก็ได้! โดยในประเทศไทยมีประชากรกว่า 17.5% ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ซึ่งไม่ใช่แค่คนที่อายุมากแค่นั้นนะคะ แต่เด็กๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ด้วยเช่นกันค่ะ ดังนั้น การดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้ ซึ่งอาหารที่เราเลือกมาทานก็มีส่วนในการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตมากมายเลยทีเดียว อย่างเช่น อาหารรสเค็ม ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูง ผงชูรส ผงปรุงรส และซอสต่างๆอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักกาดดองอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน ซึ่งมีสารปรุงแต่งหลายอย่างอาหารกระป๋อง เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องปลากระป๋อง ซึ่งมักจะใส่สารกันบูดและมีปริมาณโซเดียมสูงอาหารที่มีไขมันสูงและคอเลสเตอรอลสูง เช่น กะทิ ไข่แดง หมูสามชั้น เนื้อสัตว์ติดมันอาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก คุกกี้ เบเกอรี่ ของหวาน ขนมที่ใส่กะทิ แต่ไม่ต้องห่วง วันนี้เรามีข้อแนะนำการเลือกทานอาหารที่ดีต่อไตมาฝากกันค่ะ ตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์ ควรรับประทานจำพวกปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำและโอเมก้า 3 หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันไข่ขาววันละ 2-3 […]

กินอยู่อย่างไรให้หัวใจแข็งแรง

 หัวใจเป็นอวัยวะในร่างกายที่สำคัญอย่างยิ่ง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขนาดเท่ากำปั้น ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลา เริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาเลยล่ะค่ะ สภาวะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจมีได้ตั้งแต่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจ โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ และโรคของผนังหุ้มหัวใจ มาดูกันค่ะว่าเราจะดูแลหัวใจของเราให้แข็งแรงได้อย่างไรบ้าง   เคล็ดลับการดูแลหัวใจให้แข็งแรงโรคหัวใจเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ เพศ และประวัติด้านสุขภาพของคนในครอบครัว และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การสูบบุหรี่ การมีไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะโรคเบาหวาน เป็นต้น การจัดการอาหารและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงเป็นส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้ มาดูกันเลยค่ะว่าอาหารและกิจกรรมหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวมีอะไรบ้าง  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นพื้นฐานการกินอาหารของผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ ในแต่ละมื้อ อาหารควรมีผัก 2 ส่วน ข้าวและเนื้อสัตว์อย่างละส่วนโดยประมาณ   เลือกกินข้าวและแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสี เป็นการเพิ่มใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ควินัว เป็นต้น […]

😰หุ่นผอมเพรียว ไม่มีพุง อาจเสี่ยง.. “ไขมันในเส้นเลือดสูง” ได้ ⚠️

🧀🥓  หลายคนมีรูปร่างดี สมส่วน ไม่อ้วน แต่พอไปตรวจร่างกายกลับพบว่ามี “ไขมันในเลือดสูง” โดยเฉพาะคนที่อ้วนยาก กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน ก็เลยย่ามใจกินอาหารไขมันสูงๆ ขนมหวาน เบเกอรี่ อาหารบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง ชาบู ฯลฯ หากใครมีพฤติกรรมเช่นนี้ คุณอาจกำลังเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการอย่างภาวะไขมันในเลือดสูงอยู่ก็เป็นได้ค่ะ เพราะ “ไขมันส่วนเกิน” หรือ “คอเลสเตอรอล” ที่สะสมในร่างกาย ไม่ได้อยู่แต่ในชั้นพุงค่ะ แต่จะถูกสะสมอยู่ใน 3 ส่วนหลักๆ คือ  ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ไขมันในเส้นเลือด ดังนั้น คนที่กินตามใจปาก แต่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จริงๆ แล้วไขมันอาจจะไม่ได้หายไปไหน แต่สะสมอยู่ในหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตานั่นเองค่ะ เมื่อร่างกายมีไขมันในเลือดมากเกินไป ก็จะทำให้ไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด กลายเป็นกำแพงคราบไขมันที่เกาะตัวหนา (Plaque) ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายไม่สะดวก ซึ่งอาจนำมาสู่ภาวะหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน (Stroke) จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนอ้วนง่ายหรืออ้วนยาก ก็ต้องระวังภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงพอๆ […]

ไขความลับ! ดูแลวัยทองอย่างตรงจุด

หงุดหงิดตลอดเวลา ใครทำอะไรก็รู้สึกขัดหูขัดตา ผิวแห้งใช้อะไรก็ไม่ดีขึ้น นอนหลับก็ยาก บางครั้งก็ร้อนวูบวาบขึ้นมา จะคิดอะไรก็รู้สึกงงๆ เบลอๆ ทำงานอยู่ดีๆ ก็คิดไม่งานออก สมาธิก็หาย เราเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้ ผู้ชายหรือผู้หญิงวัยกลางคนหลายคนมักเจอ เป็นอาการที่บ่งบอกว่า คุณอาจเป็นวัยทอง ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่น่าหนักใจและรำคาญใจของใครหลายๆ คน คนเป็นวัยทองจึงควรดูแลฮอร์โมนตัวเองให้สมดุล ซึ่งอาจพิจารณาเสริมฮอร์โมนที่มีโครงสร้างตามธรรมชาติของร่างกาย โดยผู้หญิงควรใช้ Female Hormones จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยให้ผิวพรรณ​ดี​ หลับสบาย​ ส่วนผู้ชายควรใช้ Bioidentical Testosterone จะช่วยให้อารมณ์ดี ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งควรใช้คู่กับ DIM จะช่วยขับสารก่อมะเร็งและสารพิษออกจากร่างกายได้ #อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #Disease #วัยทอง #ร้อนวูบวาบ #หงุดหงิด

พูดไม่ชัด พูดไม่ออก พูดช้า 🤐🚫 อาจเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” 🧠

หากตัวคุณเองหรือคนในบ้านอยู่ๆ ก็มีอาการพูดช้า พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก อย่าชะล่าใจเป็นอันขาด! ต้องได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทำให้สมองขาดเลือดและส่งผลให้เซลล์สมองตาย หรืออาจมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุทางศีรษะ เนื้องอกในสมอง การติดเชื้อในสมอง โดยรูปแบบของอาการที่อาจมาจากโรคหลอดเลือดสมองมีดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ฟังและอ่านไม่เข้าใจ แต่พูดคล่อง 🧠 ผู้ป่วยจะไม่เข้าใจภาษาที่ได้ยินหรืออ่าน แต่สามารถพูดได้คล่อง ถามอย่างจะตอบอีกอย่าง เพราะผู้ป่วยไม่เข้าใจคำพูดของตัวเอง การอ่าน การเขียน ตกหล่น แต่ถ้าเป็นมากจะอ่านหรือเขียนไม่ได้เลย 2. มีปัญหาด้านการพูด แต่ฟังอ่านเข้าใจ 💬 ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัด ใช้ไวยากรณ์ผิด นึกคำศัพท์นาน หากรุนแรงอาจพูดไม่ได้ แต่สามารถเขียนได้ ทำตามคำสั่งได้ เช่น บอกให้ยกมือ ผู้ป่วยสามารถยกมือได้เพราะฟังรู้เรื่อง 3. นึกคำศัพท์ไม่ออก แต่ฟังเข้าใจ พูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ 🤔 ผู้ป่วยอาจใช้คำพูดอ้อมค้อม เพราะนึกคำศัพท์ไม่ออก เช่น พูดว่า “สิ่งที่ใช้เขียน” แทนที่จะพูดว่า “ปากกา” ทำให้การพูดช้าลง 4. มีปัญหาทั้งด้านการพูดสื่อสารและรับรู้ภาษา […]

“Health Focus Clinic” เผยปัจจัยเสี่ยงของ “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่คุณอาจมองข้าม

“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ Stroke เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากหลอดเลือดในสมองแตก อุดตัน หรือ “หลอดเลือดสมองตีบ” นับว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 และโรคที่ทำให้เกิดความพิการสูงสุดในคนไทย โดยพบผู้ป่วยรายใหม่กว่า 2 แสนรายต่อปี และมีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อยๆ มี “อาการสโตรก” ที่สำคัญ ได้แก่ อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย พูดลำบาก สับสน มองเห็นภาพผิดปกติ นอกจากปัจจัยเสี่ยงหลักอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่หลายคนอาจละเลย  “Health Focus Clinic” เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้กันให้มากขึ้น โดยเฉพาะตัวการที่หลายคนอาจมองข้าม ซึ่งแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว เพื่อลดโอกาสที่จะเป็น Stroke อย่างกะทันหัน มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้างครับ  ปัจจัยเสี่ยงของ “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่หลายคนมักละเลย   ตัวการเงียบจากภาวะ “รสหวานมัน เค็มจัด”  การบริโภคน้ำตาลและเกลือในปริมาณสูง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน   น้ำตาลที่สูงเกินเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมและเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง  โซเดียมที่ได้จากเกลือ ทำให้ร่างกายเก็บน้ำ เพิ่มปริมาณเลือด ความดันโลหิตสูงขึ้น  ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ย 28 […]

“Stroke” ในวัยทำงาน ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ “Stroke” เป็นภาวะฉุกเฉินทางสมองที่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับพบว่าคนวัยทำงานเป็น Stroke กันมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป วันนี้ “Health Focus Clinic” จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการสำคัญ ตลอดจนแนวทางการป้องกัน Stroke ที่เหมาะสำหรับคนวัยทำงานที่ไม่อาจมองข้าม   สาเหตุที่ Stroke ไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุ แต่พบมากขึ้นในวัยทำงาน  ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ป่วย Stroke ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่พบในผู้สูงอายุเป็นหลัก จากข้อมูลจากสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจาก Stroke ปีละกว่า 50,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยวัยทำงานอายุ 15-59 ปี มากถึง 30% โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งการกิน การทำงาน การพักผ่อน ความเครียด ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ในวัยหนุ่มสาว   ปัจจัยเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน  ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่พบได้บ่อยในคนทำงาน  พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย […]