Author Archives: admin

วิตามินบี ทานก่อนนอนทำให้นอนไม่หลับจริงหรือ?

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ห้ามทานวิตามินบีก่อนนอน เพราะจะทำให้ตื่นตัวและนอนไม่หลับ” แต่รู้ไหมคะว่าความเชื่อนี้ไม่เป็นความจริง! งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน PubMed ปี 2019 พบว่า วิตามินบีบางชนิด เช่น B3, B6 และ B12 มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการสร้าง เมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ ดังนั้น การทานวิตามินบีก่อนนอนไม่เพียง ไม่ทำให้นอนไม่หลับ แต่ยังอาจช่วยให้หลับได้ดีขึ้นอีกด้วย วิตามินบีสามารถทานได้ทั้งตอนเช้าและก่อนนอน หากคุณมีปัญหานอนไม่หลับ ลองทานวิตามินบีก่อนนอนดู อาจช่วยให้คุณหลับสบายขึ้นนะคะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย Line : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)

“ฮอร์โมนเพศ” กุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดีและอายุยืน✨

ฮอร์โมน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างมาก หากพูดถึงปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ สามารถแบ่งออกเป็น 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. ไลฟ์สไตล์ : การใช้ชีวิต การกิน การนอน และระดับความเครียด2. โภชนาการ : สารอาหารที่ได้รับจากอาหารและเครื่องดื่ม3. ฮอร์โมน : ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดสุขภาพโดยรวม ฮอร์โมนเพศเป็นตัวแปรสำคัญของสุขภาพ มีงานวิจัยที่พบว่าดัชนีที่สำคัญที่สุดที่จะบอกว่าคนคนนี้จะมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวคือ “ฮอร์โมนเพศ” อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือน มักไม่ค่อยมีโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหัวใจ ในขณะที่ผู้ชายมีแนวโน้มเป็นโรคเหล่านี้ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเพศลดลง 80% ของการเสียชีวิตทั่วโลก มีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งล้วนเริ่มต้นจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง หากสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้มีอายุยืนยาวขึ้น ฮอร์โมนเพศไม่ได้มีแค่เรื่องระบบสืบพันธุ์ หลายคนเข้าใจว่าฮอร์โมนเพศมีบทบาทเฉพาะในการเจริญพันธุ์เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ฮอร์โมนเพศช่วยให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทในการป้องกันโรคหลายชนิด เช่น  ป้องกันสมองเสื่อม ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ […]

จากความดันโลหิตสูงสู่เส้นเลือดในสมองแตก

จากความดันโลหิตสูงสู่เส้นเลือดในสมองแตก ภัยเงียบที่คนความดันสูงไม่ควรมองข้าม คุณรู้หรือไม่? ความดันโลหิตสูง…ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความดันสูงต่อเนื่องยาวนาน ความเสี่ยง “เส้นเลือดในสมองแตก” ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่า 80% ของผู้ที่มีเส้นเลือดในสมองแตกมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อเส้นเลือดในสมองแตกจะทำให้เกิดอาการร้ายแรงตามมาเช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือในบางรายอาจต้องนอนติดเตียงและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน บางครั้งเส้นเลือดอาจแตกโดยที่ไม่ทันตั้งตัว ทำให้เกิดอาการทันที ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตจึงเป็นสิ่งสำคัญลด ละ เลี่ยงอาหารเสี่ยงเกิดโรค อาหารรสเค็มจัด เช่น น้ำปลา ซุปก้อน การซดน้ำซุปหรือน้ำแกงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ไส้อั่ว แหนม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอาหารที่มีโซเดียมสูง ปรับพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิต ทานอาหารที่มีโพแทสเซียม แมกนีเซียมสูง เช่น กล้วย ฝรั่ง ผักโขม แมกนีเซียม เมล็ดฟักทอง ถั่วต่างๆควบคุมระดับกรดยูริก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวาย และส่งผลต่อความดันโลหิตวัดความดันเป็นประจำ ตรวจสอบความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอปรึกษาแพทย์ รับคำแนะนำและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลตนเองและหมั่นปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพค่ะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย Line : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel […]

💢พฤติกรรมทำลายไต ที่อาจทำไปโดยไม่รู้ตัว 😖

“ไต” เป็นอวัยวะที่จำเป็นมากๆ สำหรับร่างกายเรา เพราะมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำและเกลือในร่างกาย หากไตเสื่อม ไตวาย หรือไตพัง จะส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง และโอกาสที่จะฟื้นฟูให้มันกลับมาเป็นเหมือนเดิมนั้นยากมากค่ะ ดังนั้น การดูแลไต ถนอมไต บำรุงไตให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ หลายคนไปตรวจสุขภาพหรือเจาะเลือดดูค่าไตแล้วพบว่าค่าไตขึ้นสูง การทำงานของไตต่ำลง เพราะบางคนอาจยังไม่รู้ว่ามีพฤติกรรมบางอย่างที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวัน แล้วส่งผลร้ายต่อไต ทำให้ไตวาย ไตเสื่อม ไตพังได้โดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาแชร์กันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้าง ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป การออกกำลังกายที่หนักเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ไตวาย ไตเสื่อม ไตพังได้ หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวคนวิ่งมาราธอน ปีนเขา ไตรกีฬา แล้ววูบเป็นลมหมดสติหรือเสียชีวิต โดยเฉพาะในสภาวะอากาศที่ร้อนจัด หากเหงื่อระบายออกมาไม่ทัน อุณหภูมิร่างกายก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิน 40 องศา ก็จะส่งผลให้เกิดโรคลมร้อน (Heatstroke) และไตทำงานผิดปกติได้ ดังนั้น เราจึงควรออกกำลังกายในปริมาณเหมาะสม ไม่ควรหักโหมจนเกินกำลัง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในอากาศร้อนจัด และดื่มน้ำให้เพียงพอหลังออกกำลังกายนะคะ ทานยาแก้ปวด (กลุ่มเอนเสด) บ่อยๆ สำหรับคนที่มีอาการปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลังบ่อยๆ จนต้องพึ่งพายาแก้ปวดบ่อยๆ โดยเฉพาะยาแก้ปวดในกลุ่มเอนเสด […]

เช็กให้ดี แค่ขี้เซาหรือเป็น “โรคง่วงนอนผิดปกติ” 😴

คุณเคยสงสัยตัวเองหรือไม่ว่าทำไมถึงรู้สึกง่วงนอนบ่อยครั้ง แม้กระทั่งหลังจากที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ในคืนที่ผ่านมา? การรู้สึกง่วงนอนอย่างต่อเนื่องอาจไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการนอนไม่พอ แต่อาจเป็นสัญญาณของ “โรคง่วงนอนผิดปกติ” ซึ่งเป็นสภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคุณ และควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ สัญญาณเสี่ยงโรคง่วงนอนผิดปกติ 1. มีความรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา: แม้ว่าจะได้นอนพักผ่อนเต็มที่ในตอนกลางคืนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังรู้สึกว่าตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกไม่สดชื่น และอาจมีอาการหงุดหงิดง่ายหรือเศร้าโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน 2. มีอาการแปลกๆ ระหว่างนอน: เช่น บางคนอาจรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมไต่ตามตัวในขณะที่นอนหลับ หรือรู้สึกว่ามีอาการหูแว่ว และบางครั้งอาจมีอาการยืนละเมอ 3. มีปัญหาการนอนหลับ: ผู้ที่มีนิสัยอดนอนบ่อยๆ นอนไม่เป็นเวลา หรือนอนดึกเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากยิ่งขึ้น 4. มีอาการโรคลมหลับ: เกิดจากการที่สารสื่อสารในสมองขาดหายไป ทำให้เกิดอาการหลับและตื่นอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นง่วงนอนมากจนฟุบหลับไม่รู้ตัวในขณะที่กำลังดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ขณะนั่งทำงานหรือกินข้าว 5. มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA): เป็นสภาวะที่มักเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบลง โดยผู้ป่วยจะมีอาการสำลักลมหายใจเป็นช่วงๆ ในขณะที่กำลังนอนหลับ ปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคทางหัวใจ 6. มีอาการปวดหัวหลังตื่นนอน: โดยเฉพาะในคนที่มีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย หลังตื่นนอนในช่วงเช้ามักจะมีอาการปวดหัว ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดในสมองตีบ การตรวจวินิจฉัยและรักษา หากคุณมีอาการดังกล่าว และสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคง่วงนอนผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทหรือโรคการนอนหลับเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ในบางกรณี อาจต้องทำการทดสอบการนอน […]

วัยทองไม่ต้องกลัว❗ ดูแลได้ด้วยฮอร์โมน👌👩‍🦳👨‍🦳

นับวันร่างกายก็ถดถอยลง อายุมากขึ้น ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัย เตรียมรับมือหาทางแก้และเรียนรู้ให้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในผู้ชายและผู้หญิงวัยกลางคนหรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ‘วัยทอง (Golden age)’ กันค่ะ ฮอร์โมนเพศหญิงและอาการวัยทอง เอสโตรเจน (Estrogen): ฮอร์โมนที่ช่วยให้ผิวพรรณดี ปกป้องมะเร็ง และเสริมความเป็นผู้หญิงโปรเจสเตอโรน (Progesterone): ช่วยปรับสมดุล ทำให้อารมณ์สงบ ลดลงก่อนเอสโตรเจนเมื่ออายุมากขึ้น อาการวัยทองของผู้หญิง: อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ผิวแห้ง นอนหลับยาก ฮอร์โมนเพศชายและอาการวัยทอง เทสโทสเตอโรน (Testosterone): ช่วยให้อารมณ์ดี มีความมั่นใจ และกล้าตัดสินใจ อาการวัยทองของผู้ชาย: สมรรถภาพทางเพศลดลง ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า เหนื่อยง่าย นอกจากอาการต่าง ๆ ในวัยทองแล้ว ความเสื่อมต่าง ๆ ของคนในวัยทองก็จะตามมา เช่น 1.โรคกระดูกพรุน2.โรคอัลไซเมอร์3.โรคคอเลสเตอรอล/ความดันสูง4.โรคหัวใจ5.โรคกล้ามเนื้อฟีบ ฮอร์โมนเพศเป็นฮอร์โมนที่ทำให้อายุยืนยาวปกป้องสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ กระดูก เป็นตัวบอกคุณภาพชีวิตในวัยสูงอายุได้ชัดเจนมาก ฮอร์โมนทั้งของเพศหญิงและเพศชายต้องสมดุลกัน ฮอร์โมนจะเริ่มรวนในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป […]

3 อาการที่บอกว่า คุณเครียดมากเกินไป😰

ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่หากสะสมมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเมื่อ 80% ของโรคเรื้อรังมีสาเหตุมาจากความเครียด การรู้ทันสัญญาณเตือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร? ปัจจุบัน หลายคนมีความเครียดสูงโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ 80% ของโรคเรื้อรังมีสาเหตุมาจากความเครียด มีคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หากใจมีความสุข ร่างกายก็แข็งแรง ในทางกลับกัน หากเครียด เศร้า กังวล ก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้มากขึ้น ความเครียดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ความเครียดทางใจ – รู้สึกทุกข์ เศร้า เครียด กังวล ความเครียดทางกาย – ร่างกายได้รับผลกระทบ เช่น นอนดึก พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือเข้ารับการผ่าตัด เมื่อความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียด แต่หากใช้งานมากเกินไป ฮอร์โมนนี้จะลดลงจนเกิดอาการผิดปกติ 3 อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีความเครียดสะสม 1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตื่นเช้ายาก ต้องการกาแฟเพื่อกระตุ้นร่างกายรู้สึกหมดไฟ ไม่สดชื่น […]

ดูแลฮอร์โมน “คอร์ติซอล”  เพื่อรับมือกับความเครียด และคืนสมดุลให้ร่างกาย 

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับฮอร์โมนที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อมาแล้ว นั่นก็คือ “คอร์ติซอล” หรือที่หลายคนรู้จักกันในนามว่า “ฮอร์โมนความเครียด” นั่นเองค่ะ คอร์ติซอลคืออะไร และสำคัญอย่างไร? คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ช่วยในการตอบสนองต่อความเครียดในร่างกาย และยังมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด ควบคุมวงจรการตื่น-หลับ ต่อสู้กับอาการอักเสบ และช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย เป็นต้น จะเกิดอะไรขึ้นหากคอร์ติซอลเสียสมดุล? โดยปกติแล้ว ระดับค่าปกติคอร์ติซอลจะหลั่งอยู่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีความเครียดสะสมเรื้อรัง หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะสูงขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ไม่มีแรง มีปัญหาด้านการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog) ผิวช้ำง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว รวมถึงเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน และกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) หรือหากร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในระดับที่ต่ำเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิด “โรคแอดดิสัน” (Addison’s Disease) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียตลอดเวลา กล้ามเนื้ออ่อนแรง […]

ลิ่มเลือดอุดตันแน่! ถ้าปล่อยให้สิ่งนี้สูง

ลิ่มเลือดอุดตันเป็นภาวะที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น หลอดเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) หรือ เส้นเลือดสมองตีบ (Stroke) ซึ่งหนึ่งในตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยตรวจสอบความเสี่ยงนี้คือ ค่า D-dimer D-dimer คืออะไร? D-dimer เป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสลายลิ่มเลือด หากตรวจพบค่า D-dimer สูง แสดงว่าร่างกายอาจมีลิ่มเลือดมากผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ใครบ้างที่ควรตรวจค่า D-dimer?  ผู้ที่มีอาการสงสัยว่ามีลิ่มเลือดอุดตัน เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ขาบวมแดง หรือปวดขาโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือเพิ่งฉีดวัคซีนโควิด บางรายพบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่นั่งหรือนอนเป็นเวลานาน ผู้ที่มีภาวะอ้วน หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่รับฮอร์โมนทดแทน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ หรือโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด ค่า D-dimer สูง บ่งบอกถึงอะไร? หากตรวจพบค่า D-dimer สูง อาจหมายถึง  มีการก่อตัวของลิ่มเลือดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ร่างกายกำลังพยายามสลายลิ่มเลือด แต่อาจยังมีความเสี่ยงที่ลิ่มเลือดบางส่วนจะอุดตันในอวัยวะสำคัญ ภาวะการอักเสบหรือการติดเชื้อในร่างกาย […]

กินยาหลายตัว ระวังผลข้างเคียงสะสม! ⚠💊

ทุกวันนี้ ปริมาณการใช้ยาของหลายคนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพบแพทย์หลายแผนก อาจได้รับยาจากแต่ละแผนก 3-4 ตัว เมื่อรวมกันแล้วอาจกินยาหลายชนิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ ผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา 1. ปริมาณของยา ยิ่งใช้ในขนาดสูง ยิ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น คนที่ใช้ยา 10 มก. อาจได้รับผลข้างเคียงน้อยกว่าคนที่ใช้ 80 มก. แต่ไม่ได้หมายความว่าใช้ขนาดต่ำจะปลอดภัยเสมอไป 2. จำนวนชนิดของยาที่ใช้ มีงานวิจัยใน Journal of Midlife Health (2016) พบว่า  กินยา 2 ชนิด เสี่ยงเกิดผลข้างเคียง 13% กินยา 5 ชนิด ความเสี่ยงเพิ่มเป็น 58% กินยา 7 ชนิดขึ้นไป ความเสี่ยงพุ่งถึง 82% ยิ่งใช้ยาหลายชนิด ยิ่งเพิ่มโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction) ทำให้ร่างกายกำจัดยาออกไม่ทัน ส่งผลให้ระดับยาในร่างกายสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง 3. อายุของผู้ใช้ยา ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากกว่าคนอายุน้อยถึง […]