คุณเคยสงสัยตัวเองหรือไม่ว่าทำไมถึงรู้สึกง่วงนอนบ่อยครั้ง แม้กระทั่งหลังจากที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ในคืนที่ผ่านมา? การรู้สึกง่วงนอนอย่างต่อเนื่องอาจไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการนอนไม่พอ แต่อาจเป็นสัญญาณของ “โรคง่วงนอนผิดปกติ” ซึ่งเป็นสภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคุณ และควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ สัญญาณเสี่ยงโรคง่วงนอนผิดปกติ 1. มีความรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา: แม้ว่าจะได้นอนพักผ่อนเต็มที่ในตอนกลางคืนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังรู้สึกว่าตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกไม่สดชื่น และอาจมีอาการหงุดหงิดง่ายหรือเศร้าโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน 2. มีอาการแปลกๆ ระหว่างนอน: เช่น บางคนอาจรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมไต่ตามตัวในขณะที่นอนหลับ หรือรู้สึกว่ามีอาการหูแว่ว และบางครั้งอาจมีอาการยืนละเมอ 3. มีปัญหาการนอนหลับ: ผู้ที่มีนิสัยอดนอนบ่อยๆ นอนไม่เป็นเวลา หรือนอนดึกเป็นประจำ อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากยิ่งขึ้น 4. มีอาการโรคลมหลับ: เกิดจากการที่สารสื่อสารในสมองขาดหายไป ทำให้เกิดอาการหลับและตื่นอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นง่วงนอนมากจนฟุบหลับไม่รู้ตัวในขณะที่กำลังดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ขณะนั่งทำงานหรือกินข้าว 5. มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA): เป็นสภาวะที่มักเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบลง โดยผู้ป่วยจะมีอาการสำลักลมหายใจเป็นช่วงๆ ในขณะที่กำลังนอนหลับ ปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคทางหัวใจ 6. มีอาการปวดหัวหลังตื่นนอน: โดยเฉพาะในคนที่มีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย หลังตื่นนอนในช่วงเช้ามักจะมีอาการปวดหัว ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดในสมองตีบ การตรวจวินิจฉัยและรักษา หากคุณมีอาการดังกล่าว และสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคง่วงนอนผิดปกติ ก็ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทหรือโรคการนอนหลับเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ในบางกรณี อาจต้องทำการทดสอบการนอน […]
Author Archives: admin
นับวันร่างกายก็ถดถอยลง อายุมากขึ้น ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัย เตรียมรับมือหาทางแก้และเรียนรู้ให้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในผู้ชายและผู้หญิงวัยกลางคนหรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า ‘วัยทอง (Golden age)’ กันค่ะ ฮอร์โมนเพศหญิงและอาการวัยทอง เอสโตรเจน (Estrogen): ฮอร์โมนที่ช่วยให้ผิวพรรณดี ปกป้องมะเร็ง และเสริมความเป็นผู้หญิงโปรเจสเตอโรน (Progesterone): ช่วยปรับสมดุล ทำให้อารมณ์สงบ ลดลงก่อนเอสโตรเจนเมื่ออายุมากขึ้น อาการวัยทองของผู้หญิง: อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ผิวแห้ง นอนหลับยาก ฮอร์โมนเพศชายและอาการวัยทอง เทสโทสเตอโรน (Testosterone): ช่วยให้อารมณ์ดี มีความมั่นใจ และกล้าตัดสินใจ อาการวัยทองของผู้ชาย: สมรรถภาพทางเพศลดลง ขี้หงุดหงิด ซึมเศร้า เหนื่อยง่าย นอกจากอาการต่าง ๆ ในวัยทองแล้ว ความเสื่อมต่าง ๆ ของคนในวัยทองก็จะตามมา เช่น 1.โรคกระดูกพรุน2.โรคอัลไซเมอร์3.โรคคอเลสเตอรอล/ความดันสูง4.โรคหัวใจ5.โรคกล้ามเนื้อฟีบ ฮอร์โมนเพศเป็นฮอร์โมนที่ทำให้อายุยืนยาวปกป้องสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ กระดูก เป็นตัวบอกคุณภาพชีวิตในวัยสูงอายุได้ชัดเจนมาก ฮอร์โมนทั้งของเพศหญิงและเพศชายต้องสมดุลกัน ฮอร์โมนจะเริ่มรวนในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป […]
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่หากสะสมมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเมื่อ 80% ของโรคเรื้อรังมีสาเหตุมาจากความเครียด การรู้ทันสัญญาณเตือนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร? ปัจจุบัน หลายคนมีความเครียดสูงโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ 80% ของโรคเรื้อรังมีสาเหตุมาจากความเครียด มีคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หากใจมีความสุข ร่างกายก็แข็งแรง ในทางกลับกัน หากเครียด เศร้า กังวล ก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้มากขึ้น ความเครียดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ความเครียดทางใจ – รู้สึกทุกข์ เศร้า เครียด กังวล ความเครียดทางกาย – ร่างกายได้รับผลกระทบ เช่น นอนดึก พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือเข้ารับการผ่าตัด เมื่อความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียด แต่หากใช้งานมากเกินไป ฮอร์โมนนี้จะลดลงจนเกิดอาการผิดปกติ 3 อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีความเครียดสะสม 1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตื่นเช้ายาก ต้องการกาแฟเพื่อกระตุ้นร่างกายรู้สึกหมดไฟ ไม่สดชื่น […]
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับฮอร์โมนที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อมาแล้ว นั่นก็คือ “คอร์ติซอล” หรือที่หลายคนรู้จักกันในนามว่า “ฮอร์โมนความเครียด” นั่นเองค่ะ คอร์ติซอลคืออะไร และสำคัญอย่างไร? คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ช่วยในการตอบสนองต่อความเครียดในร่างกาย และยังมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด ควบคุมวงจรการตื่น-หลับ ต่อสู้กับอาการอักเสบ และช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย เป็นต้น จะเกิดอะไรขึ้นหากคอร์ติซอลเสียสมดุล? โดยปกติแล้ว ระดับค่าปกติคอร์ติซอลจะหลั่งอยู่ประมาณ 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีความเครียดสะสมเรื้อรัง หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะสูงขึ้นและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ไม่มีแรง มีปัญหาด้านการนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดภาวะสมองล้า (Brain Fog) ผิวช้ำง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว รวมถึงเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน และกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) หรือหากร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในระดับที่ต่ำเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิด “โรคแอดดิสัน” (Addison’s Disease) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียตลอดเวลา กล้ามเนื้ออ่อนแรง […]
ลิ่มเลือดอุดตันเป็นภาวะที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น หลอดเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) หรือ เส้นเลือดสมองตีบ (Stroke) ซึ่งหนึ่งในตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยตรวจสอบความเสี่ยงนี้คือ ค่า D-dimer D-dimer คืออะไร? D-dimer เป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสลายลิ่มเลือด หากตรวจพบค่า D-dimer สูง แสดงว่าร่างกายอาจมีลิ่มเลือดมากผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ใครบ้างที่ควรตรวจค่า D-dimer? ผู้ที่มีอาการสงสัยว่ามีลิ่มเลือดอุดตัน เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ขาบวมแดง หรือปวดขาโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือเพิ่งฉีดวัคซีนโควิด บางรายพบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่นั่งหรือนอนเป็นเวลานาน ผู้ที่มีภาวะอ้วน หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่รับฮอร์โมนทดแทน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ หรือโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด ค่า D-dimer สูง บ่งบอกถึงอะไร? หากตรวจพบค่า D-dimer สูง อาจหมายถึง มีการก่อตัวของลิ่มเลือดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ร่างกายกำลังพยายามสลายลิ่มเลือด แต่อาจยังมีความเสี่ยงที่ลิ่มเลือดบางส่วนจะอุดตันในอวัยวะสำคัญ ภาวะการอักเสบหรือการติดเชื้อในร่างกาย […]
ทุกวันนี้ ปริมาณการใช้ยาของหลายคนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพบแพทย์หลายแผนก อาจได้รับยาจากแต่ละแผนก 3-4 ตัว เมื่อรวมกันแล้วอาจกินยาหลายชนิดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ ผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา 1. ปริมาณของยา ยิ่งใช้ในขนาดสูง ยิ่งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น คนที่ใช้ยา 10 มก. อาจได้รับผลข้างเคียงน้อยกว่าคนที่ใช้ 80 มก. แต่ไม่ได้หมายความว่าใช้ขนาดต่ำจะปลอดภัยเสมอไป 2. จำนวนชนิดของยาที่ใช้ มีงานวิจัยใน Journal of Midlife Health (2016) พบว่า กินยา 2 ชนิด เสี่ยงเกิดผลข้างเคียง 13% กินยา 5 ชนิด ความเสี่ยงเพิ่มเป็น 58% กินยา 7 ชนิดขึ้นไป ความเสี่ยงพุ่งถึง 82% ยิ่งใช้ยาหลายชนิด ยิ่งเพิ่มโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interaction) ทำให้ร่างกายกำจัดยาออกไม่ทัน ส่งผลให้ระดับยาในร่างกายสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง 3. อายุของผู้ใช้ยา ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงมากกว่าคนอายุน้อยถึง […]
DHEA คืออะไร DHEA (Dehydroepiandrosterone) เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยจัดการความเครียด โดยปกติระดับควรอยู่ที่มากกว่า 280 µg/mL หากระดับฮอร์โมนนี้ลดต่ำลง อาจบ่งบอกว่าร่างกายเผชิญกับความเครียดหรือใช้งานฮอร์โมนนี้มากเกินไป สาเหตุของฮอร์โมน DHEA ต่ำ ความเครียดสะสมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ร่างกายใช้งาน DHEA มากเกินไป นอกจากนี้ การพักผ่อนไม่เพียงพอและพฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่เหมาะสมก็ส่งผลต่อการผลิตและฟื้นฟูฮอร์โมนตัวนี้ อาการที่บ่งบอกว่าฮอร์โมน DHEA ต่ำ ปัสสาวะบ่อยและใสมาก ดื่มน้ำมากแค่ไหนก็ขับออกหมด ความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากฮอร์โมนนี้มีหน้าที่ในการเก็บน้ำและเกลือในร่างกาย หากเก็บไม่ได้ ความดันโลหิตจะลดลง เพลีย รู้สึกไม่สดชื่นตั้งแต่ตื่นนอน แม้จะพักผ่อนแล้วก็ยังรู้สึกเหนื่อย ขาดความสดชื่นในช่วงกลางวัน อาจรู้สึกหมดแรงหรือไม่กระปรี้กระเปร่า ฟื้นฟู DHEA ได้อย่างไร? พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และควรเริ่มเข้านอนตั้งแต่สี่ทุ่ม ลดความเครียด ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิหรือจัดการเวลาดีขึ้น ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงต่อมหมวกไต เช่น อะโวคาโด ผักใบเขียว และไขมันดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมาย Line : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite […]
มีค่าการตรวจเลือด 3 ค่าที่มักสูงในคนที่เป็นมะเร็ง ซึ่งพบได้บ่อยเมื่อตรวจร่างกาย หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งหรือกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง แนะนำให้ตรวจค่าต่อไปนี้ในการตรวจสุขภาพประจำปี 1. Serum Ferritin (ซีรัมเฟอร์ริติน) ใช้ตรวจระดับธาตุเหล็กในร่างกาย เซลล์มะเร็งมักต้องใช้ธาตุเหล็กในการแบ่งตัวและสร้างหลอดเลือดใหม่ ทำให้ระดับซีรัมเฟอร์ริตินมักสูงในผู้ป่วยมะเร็ง 2. LDH (Lactate Dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ที่มะเร็งใช้ในกระบวนการสลายน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงานในภาวะปกติ ร่างกายไม่ใช้ LDH ในกระบวนการนี้ แต่ในผู้ป่วยมะเร็ง ค่า LDH มักสูงผิดปกติ 3. Fibrinogen (ไฟบรินโนเจน) โปรตีนที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือดการอักเสบที่มักเกิดร่วมกับมะเร็งกระตุ้นให้ระดับไฟบรินโนเจนสูงขึ้น หากผลตรวจพบค่าทั้ง 3 นี้สูง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม และตรวจเช็กว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจสุขภาพประจำปีช่วยให้เรารู้เท่าทันและป้องกันโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ ด่วน สนใจตรวจสุขภาพทั้ง 3 ค่านี้ พร้อมโปรโมชันส่งท้ายปี ซื้อ 1 แถม 1ทักหาแอดมินได้เลยนะคะ Line : https://line.me/R/ti/p/%40214byvpdWebsite : https://healthfocusclinic.co.th/Tel : 02-096-4945Location : The Grove Hathairaj (เดอะ […]
การบำรุงไตด้วยอาหารที่เหมาะสมเป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคต่างๆ อาหารที่ดีต่อไตควรมีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันในปริมาณต่ำ โดยหลักๆ จะเป็นอาหารเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ผัก และผลไม้สด ต่อไปนี้คือ 5 ตัวอย่างอาหารที่บำรุงไตและควรรวมอยู่ในเมนูประจำวันของคุณค่ะ 1. ปลาทะเล ปลาทะเลเป็นแหล่งโอเมก้า 3 ที่ดีมากค่ะ ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ยังมีประโยชน์ต่อไตด้วยการลดการอักเสบและปกป้องหลอดเลือดในไต ปลาทะเลที่แนะนำ เช่น ปลาแซลมอน มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังได้ 2. อกไก่ไร้หนัง อกไก่ไร้หนังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีไขมันและโซเดียมต่ำ ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันโรคไต นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัสในปริมาณต่ำ ทำให้เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะไตทำงานลดลง 3. ผักตระกูลกะหล่ำ ผักกลุ่มนี้มีวิตามินซี วิตามินเค และไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคไต อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต่อต้านการอักเสบและทำให้ไตแข็งแรง 4. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผลไม้ชนิดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการอักเสบและป้องกันความเสียหายต่อไต อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมต่ำ ทำให้เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณโพแทสเซียมในอาหาร 5. น้ำมันมะกอก อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดเดี่ยว ช่วยลดการอักเสบและลดความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง น้ำมันมะกอกยังมีประโยชน์ในการลดความดันโลหิตและป้องกันโรคหัวใจที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไต การเลือกอาหารเพื่อบำรุงไตไม่ใช่แค่การป้องกันโรคไต แต่ยังช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ก็อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำลายไต เช่น อาหารที่มีโซเดียมสูง […]
ทุกคนคงทราบดีว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเรานั้นมีความสำคัญที่สุด ภูมิไม่ตกไว้เป็นดีร่างกายจะได้แข็งแรง แต่ทราบมั้ยคะว่าระบบภูมิคุ้มกันแท้จริงแล้วมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงอย่างคาดไม่ถึงกับลำไส้ของเราค่ะ ลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน 70% ของระบบภูมิคุ้มกันของคนเรานั้นอยู่ที่ลำไส้ค่ะ เหตุเพราะในลำไส้นั้นเป็นที่อยู่ของหนึ่งในเม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญที่สุดนั่นคือเซลล์เพชฌฆาตหรือ NK Cell (Natural Killer Cell) โดยมีหน้าที่หลักคือ เป็นแนวหน้าในการป้องกันและทำลายเชื้อโรค จัดการเซลล์มะเร็งและเซลล์ติดเชื้อ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่างๆ โดยปกติร่างกายคนเราจะมี NK Cell อยู่ประมาณ 2000-5000 ล้านเซลล์ ไม่ควรต่ำกว่านี้ ลำไส้เป็นแหล่งจุลินทรีย์ ลำไส้คือที่พำนักของจุลินทรีย์จำนวนมหาศาลค่ะ เหล่าจุลินทรีย์ดี เช่น โพรไบโอติกส์มีหน้าที่ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีชนิดอื่น ช่วยรักษาสมดุลในลำไส้ นอกจากนั้นจุลินทรีย์ในลำไส้ยังมีผลต่อการหลั่งสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ (Psychobiotics) ได้แก่ 1. เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารสื่อประสาทชนิดนึง ถูกผลิตขึ้นในลำไส้และทางเดินอาหารมากถึง 80-90% ค่ะเซโรโทนินมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก รวมถึงความยากอาหาร หากร่างกายของเราที่มีปริมาณเซโรโทนินเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ในทางตรงกันข้าม หากร่างกายคนเราไม่ผลิตเซโรโทนินออกมา จะส่งผลต่อความผิดปกติทางจิตใจ 2. โดปามีน (Dopamine) เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมอารมณ์และความรู้สึก หากจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสมดุลแข็งแรง ก็จะสามารถปล่อยสารสื่อประสาทชนิดนี้ออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ […]