ไขมันพอกตับ ⚠️ ภัยเงียบของคนชอบดื่มหนัก – กินอาหารไขมันสูง ⛔

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการกินของทอด ของมัน แถมยังดื่มหนักๆ เป็นประจำ คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเดินเข้าสู่ความเสี่ยงของ “ภาวะไขมันพอกตับ” ซึ่งเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นค่ะ

📌ภาวะไขมันพอกตับคืออะไร?

ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของไขมันในตับเกินกว่าปกติ โดยปกติตับไม่ควรมีไขมันเกิน 5-10% ของน้ำหนักตับ เมื่อไขมันสะสมมากขึ้น ก็อาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุดค่ะ😱 ถือเป็นภัยเงียบเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่จะค่อยๆ ส่งผลร้ายต่อตับโดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจากมักไม่มีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจน🤔

สาเหตุหลักๆ ของไขมันพอกตับ

  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ🍷
  • การบริโภคอาหารไขมันสูง ของทอด Junk Food🍟
  • โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน📈
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อตับ เช่น ยาสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส💊

📌ระยะของไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ค่ะ:

  • ระยะที่ 1: ไขมันสะสมในตับโดยไม่มีอาการอักเสบ
  • ระยะที่ 2: ตับเริ่มมีอาการอักเสบ อาจนำไปสู่อักเสบเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา
  • ระยะที่ 3: ตับถูกทำลายและเริ่มมีการสร้างพังผืดจากอาการอักเสบรุนแรง
  • ระยะที่ 4: ตับถูกทำลายอย่างรุนแรง ทำให้เกิดโรคตับแข็งและเสี่ยงต่อมะเร็งตับ

📌สัญญาณเตือนโรค

ภาวะไขมันพอกตับมักไม่ค่อยมีอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก แต่อาจมีสัญญาณเบื้องต้น เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หรือความรู้สึกตึงใต้ชายโครงด้านขวา แต่หากอยู่ในระยะที่ 4 อาจแสดงอาการชัดเจนขึ้น เช่น ปวดท้องด้านขวา คลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวเหลือง ท้องและขาบวม รู้สึกเหนื่อยล้าหรือสับสน สัญญาณเหล่านี้ไม่ควรมองข้ามเพราะอาจบ่งบอกถึงระยะที่เป็นอันตรายได้

📌แนวทางดูแลรักษา

แม้จะไม่มียารักษาโรคไขมันพอกตับโดยตรง แต่สามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้โรคลุกลามได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นดังนี้ค่ะ:

  • หลีกเลี่ยงหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ 🍸
  • ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้อาการแย่ลงได้⚖️
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150-200 นาทีต่อสัปดาห์🏃‍♂️
  • ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงหรือพลังงานสูง และเน้นอาหารที่มีกากใยสูง 🥗

นอกจากนี้ ก็ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะช่วยให้สามารถพบภาวะไขมันพอกตับได้ในระยะเริ่มต้น และลดโอกาสในการพัฒนาไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของตับและชีวิตที่มีคุณภาพของเรานะคะ 💖

อ้างอิง:
https://www.phyathai.com/th/article/1675-obesity_cause_pyt3
https://www.samitivejhospitals.com/…/fatty-liver
https://chulalongkornhospital.go.th/…/fatty-liver…/

#healthfocusclinic #ไขมันพอกตับ #ดื่มหนัก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *