ความเสี่ยง และ วิธีป้องกัน Stroke (สโตรก) หลอดเลือดในสมองตีบ

ความเสี่ยง และ วิธีป้องกัน Stroke (สโตรก) หลอดเลือดในสมองตีบ 

Stroke หรือ “โรคหลอดเลือดสมอง” เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองบางส่วนตายและสูญเสียการทำงานไป หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ บทความนี้ ทีมแพทย์ “Health Focus Clinic” จะมาเจาะลึกถึงปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกัน Stroke โดยเฉพาะสาเหตุจาก “เส้นเลือดสมองตีบ” ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเริ่มต้นดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง 

สโตรก คืออะไร 

“Stroke (สโตรก) คือภาวะที่สมองได้รับความเสียหายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นๆ ตายภายในเวลาอันสั้น ซึ่งมีผลทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหว การพูด ความคิดความเข้าใจ หรือการรับรู้ผิดปกติไป ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อสมองส่วนใดได้รับผลกระทบ “อาการสโตรกมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้านานนัก ผู้ป่วยจึงมักจะไม่ทันตั้งตัว และเข้ารับการรักษาล่าช้า ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีอาการรุนแรงมากขึ้นไปอีก 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง 

ปัจจัยที่มีผลเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 

  1. อายุ ยิ่งสูงอายุ ความเสี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป 
  2. เพศ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะวัยกลางคนขึ้นไป 
  3. พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า  
  4. ความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดสมองเสื่อมและแตกง่าย   
  5. เบาหวาน น้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจะทำลายผนังหลอดเลือดและเพิ่มการสร้างคราบไขมัน 
  6. ระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และคอเลสเตอรอลชนิดร้ายสูง เป็นต้น 
  7. การสูบบุหรี่ จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบ เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ และลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย 
  8. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะเป็นการเพิ่มความดันโลหิต นำไปสู่ความเสียหายของหลอดเลือดสมอง 
  9. โรคอ้วนลงพุง ผู้ที่มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง  
  10. การใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีวัยทองที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีก

ใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบ 

คนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด Stroke จากหลอดเลือดสมองตีบ ได้แก่ 

  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป   
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็น Stroke หรือหัวใจวาย 
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ 
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วนลงพุง 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผนังหัวใจห้องบนซ้ายหนา  
  • ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ทำงานนั่งโต๊ะนานๆ  
  • ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม 

อาการสโตรกที่ต้องระวัง 

อาการสโตรกที่พบบ่อยและควรสังเกต มีดังนี้ 

  • อ่อนแรงหรือชาที่ใบหน้า แขน ขา โดยเฉพาะครึ่งซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย 
  • พูดลำบาก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก 
  • มองเห็นภาพซ้อน ตามัว หรือตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น 
  • เดินเซ หน้ามืด เวียนศีรษะ ทรงตัวลำบาก 
  • ปวดหัวรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้อาเจียน 

หากพบอาการข้างต้น ต้องโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อส่งตัวไปรับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลใหญ่ ที่มีระบบ “Stroke fast track” โดยเร็วที่สุด  

“Stroke fast track” คืออะไร 

“Stroke fast track” คือระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยเข้าได้กับโรคหลอดเลือดสมอง ที่ต้องให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงที ภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการลดความรุนแรงของโรค ป้องกันความพิการ และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วย  

การป้องกัน Stroke จากเส้นเลือดสมองตีบ ทำได้อย่างไร 

แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองจากการตีบตันของเส้นเลือด มีดังนี้ 

  1. คัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป โดยการตรวจสุขภาพประจำปี  
  2. ควบคุมโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ให้อยู่ในระดับปกติ 
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบ DASH คือ กินผัก ผลไม้ ธัญพืช ไขมันดี ลดอาหารเค็ม หวาน มัน 
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและเพียงพอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที  
  5. ลดน้ำหนัก รักษารูปร่างให้เหมาะสม เส้นรอบเอวไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 
  6. เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
  7. จัดการความเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง 
  8. ตรวจร่างกายประจำปี เพื่อประเมินความเสี่ยงและคัดกรองโรค

นอกจากนี้ ปัจจุบัน “Health Focus Clinic” ยังมีโปรแกรมป้องกันและลดความเสี่ยง Stroke ซึ่งเป็นการผสมผสานแนวคิด Anti-aging กับเวชศาสตร์ชะลอวัย เข้ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และวิถีชีวิต เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำ พร้อมชะลอวัยได้อย่างเป็นองค์รวม ภายใต้การดูแลด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะ “โรคหลอดเลือดสมอง” นั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ถ้าเกิดความผิดปกติอะไรขึ้นมา ต้องไปพบแพทย์ตรวจโดยเร็วที่สุด อย่าประมาทกันนะครับ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *