“ไขมันพอกตับ” โรคฮิตของคนยุคนี้ที่เป็นได้โดยไม่รู้ตัว!

ไขมันพอกตับ

‘ตับ’ คือ อวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย เป็นแหล่งเก็บพลังงาน ช่วยย่อยอาหาร ขจัดสารพิษ กรองสารที่เป็นอันตรายออกจากเลือด เป็นแหล่งกักเก็บวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย หากตับของคุณป่วยลงจะทำให้ระบบในร่างกายไม่เสถียรและมีปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะโรคที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือ โรคไขมันพอกตับ เป็นอาการของตับแข็งที่เกิดขึ้นเมื่อมีไขมันอยู่ในตับ การที่มีไขมันในตับเพียงเล็กน้อยอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีไขมันมากเกินไปจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพ เกิดเป็นโรคไขมันพอกตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ มะเร็งตับได้

พฤติกรรมของคนในยุคนี้มีการสังสรรค์ จัดปาร์ตี้ เลี้ยงฉลอง ในโอกาสต่างๆ แล้วเกือบทุกงานสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งหากใครที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ดื่มบ่อยครั้ง ดื่มมากจนเกินไป หรือดื่มมาเป็นเวลานานเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนั้นจะมีความเสี่ยงเกิดไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ (AFLD) สูงขึ้น เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แอลกอฮอล์จะไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการเผาผลาญในตับจึงนำไปสู่การก่อตัวของไขมันส่วนเกินในตับ

ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ (AFLD) ปัจจัยที่สำคัญเลยคือ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ งานวิจัยพบว่า ผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์ 40-80 กรัม/วัน และผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ 20-40 กรัม/วัน ในช่วง 10-12 ปี จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไขมันพอกตับ นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์มากไปแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงของอายุที่มากขึ้น ระบบการเผาผลาญทำงานได้ลดลง กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่บ่อย ความอ้วนได้อีกด้วย

ในยุคนี้อาหารที่คนส่วนมากรับประทานจะเป็นอาหารจำพวกน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมหวาน เนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารแปรรูป อาหารทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะมีรสชาติที่อร่อยถูกปาก หากินได้ง่าย กินสะดวก ราคาจับต้องได้จึงเป็นที่นิยมของคนในยุคนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า หากกินอาหารเหล่านี้มากเกินไปจะทำให้ไขมันสะสมในตับเป็นจำนวนมาก แล้วหากมีการเผาผลาญที่ไม่ดีจะยิ่งเสี่ยงทำให้เกิดไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) ได้ โดยโรคนี้จะพบในคนที่น้ำหนักเกินหรืออ้วนบ่อยที่สุด แต่ที่น่ากังวลของโรคนี้คือคนส่วนใหญ่จะไม่รู้มาก่อนว่ามีความผิดปกติกับตับของตัวเองจะมารู้ก็ต่อเมื่อตรวจพบเจอโดยบังเอิญ หรือไปตรวจสุขภาพถึงจะพบ

ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD)

🔸คนที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
🔸ทานอาหารที่มีพลังงานสูงจำพวกไขมัน แป้ง น้ำตาลมากเกินไป
🔸โรคที่เพิ่มขึ้นของเมตาบอลิซึมซินโดรม เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง
🔸มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
🔸อายุมากขึ้น เพราะระบบการเผาผลาญทำงานน้อยลง
🔸มีประวัติการติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบบี
🔸อาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS)
🔸สัมผัสกับสารพิษที่เป็นอันตรายบางชนิด

สัญญาณต่อไปนี้อาจบ่งบอกว่าตับของคุณมีปัญหา เมื่อเรารู้แล้วว่าไขมันพอกตับเกิดจากอะไรและมีอะไรบ้างที่เป็นจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ก็ถึงเวลาที่มารู้จักอาการทั่วไปของไขมันพอกตับ อย่างที่รู้กันว่าโรคนี้ช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไรที่บ่งชี้แน่ชัดว่าเป็นไขมันพอกตับ ในบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ แต่จะพบจากการไปตรวจสุขภาพถึงจะรู้ว่าเป็นไขมันพอกตับแล้วนั่นเอง ยังไงมาลองสังเกตสัญญาณเหล่านี้กันค่ะ
🔸น้ำหนักมากเกินไป อ้วนลงพุง หรือมีไขมันสะสมในช่องท้อง
🔸เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
🔸เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
🔸เจ็บตึงๆ บริเวณชายโครงฝั่งขวา
🔸เป็นเบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอลสูง
🔸ตาเหลือง ตัวเหลือง (เกิดจากการที่ตับถูกทำลายอย่างมาก)

อาหารที่ดีต่อสุขภาพของตับ

1. อาหารเมดิเตอร์เรเนียน งานศึกษาพบว่า อาหารเมดิเตอร์เรเนียนจะช่วยลดไขมันพอกตับ โดยเน้นทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว น้ำมันมะกอก อาหารไขมันดี เช่น น้ำมันปลา ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน จะไม่เน้นกินเนื้อแดง หรือผลิตภัณฑ์นมเหมือนประเทศตะวันตกอื่นๆ แล้วการศึกษายังพบอีกว่า อาหารเมดิเตอร์เรเนียนช่วยปรับปรุงอาการของผู้ที่เป็นไขมันพอกตับจากกลุ่มอาการเมตาบอลิซึมได้อีกด้วย

2. อาหารเพิ่มพลังงานตับ ควรทานอาหารที่มาจากส่วนประกอบของพืชเป็นหลักมากขึ้น ทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบของตับ ช่วยให้ร่างกายได้ใช้อินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ
🔸อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วต่างๆ
🔸อาหารที่อุมไปด้วยกรดไขมันดี เช่น น้ำมันปลา ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เมล็ดเจีย เมล็ดแฟล็กซ์
🔸อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน E เช่น เมล็ดทานตะวัน ถั่วอัลมอนด์
🔸อาหารที่อุมไปด้วยคาเทชินช่วยลดไขมันในร่างกายและป้องกันโรคอ้วน โดยเฉพาะชาเขียว

3. อาหารเสริมที่ส่งเสริมสุขภาพตับ เมื่อเราทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตับแล้วแต่บางครั้งอาจไม่เพียงพอ การเสริมด้วยอาหารเสริมให้ตับแข็งแรงมากขึ้นก็เป็นทางเลือกที่ดี
🔸วิตามิน E (Tocopherol) ปกป้องเซลล์ตับไม่ให้เกิดการอักเสบ
🔸วิตามิน B100 เน้นการเผาผลาญไขมันที่พอกอยู่ที่ตับให้หายไป
🔸วิตามิน D การขาดวิตามิน D ส่งผลให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้
🔸Multiminerals Plus ช่วยสร้างสารต้านอนุมูล​อิสระ​ภายในร่างกาย ช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติดีในทุกๆ ระบบ
🔸โปรไบโอติก เพราะลำไส้และตับเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาเกิดโรค NAFLD ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ เพราะหากลำไส้ไม่แข็งแรงจะช่วยสนับสนุนให้เกิดโรค NAFLD
🔸น้ำมันปลา ช่วยลดการอักเสบของตับ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
🔸เควอซิติน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย พบมากในพืช ผักไม้ เช่น แอปเปิ้ล องุ่น เบอร์รี่ หอมแดง หัวหอม มะเขือเทศ เป็นต้น ซึ่งเควอซิตินจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีไขมันพอกตับ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้

อาหารสมุนไพรที่ดีต่อตับ

🔸กระเทียม สาร S-allylmercaptocysteine ​​​​(SAMC) ที่มาจากกระเทียมมีประโยชน์ต่อโรคไขมันพอกตับที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูิลอิสระ มีความสามารถในการควบคุมการจัดเก็บไขมันและการเผาผลาญกลูโคส
🔸อบเชย อาจช่วยปรับปรุงการดื้อต่ออินซูลิน และช่วยจัดการความเครียด
🔸ขมิ้น มีสารเคอร์คูมิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพ ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดไขมันสะสมในตับ ป้องกันการเกิดไขมันในตับไขมัน
🔸ชาเขียว จะมีสารกลุ่ม Catechin ที่พบมากในชาเขียว ที่ช่วยป้องกันภาวะไขมันพอกตับได้ โดยจะลดการดูดซึมไขมันและคาร์โบไฮเดรตในอาหาร

ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบที่แฝงอยู่ในร่างกายในช่วงแรกแทบจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา จนถึงช่วงที่อันตรายที่สุดถึงจะเริ่มมีอาการออกมา เมื่อถึงตอนนั้นก็เป็นช่วงที่เข้าสู่ความอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะตับได้ถูกทำลายไปมากแล้ว ดังนั้นควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ทั้งการกิน การใช้ชีวิต ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มการเผาผลาญไขมันให้กับร่างกาย ยังไงก็ดูแลสุขภาพตับของเราอย่างดีกันนะคะ เพราะตับของเราหากเราไม่ดูแล ตับจะยิ่งแย่ลงทุกวัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *