“Stroke” ในวัยทำงาน ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือ Stroke” เป็นภาวะฉุกเฉินทางสมองที่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับพบว่าคนวัยทำงานเป็น Stroke กันมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป วันนี้ Health Focus Clinic จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการสำคัญ ตลอดจนแนวทางการป้องกัน Stroke ที่เหมาะสำหรับคนวัยทำงานที่ไม่อาจมองข้าม  

สาเหตุที่ Stroke ไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงอายุ แต่พบมากขึ้นในวัยทำงาน 

ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ป่วย Stroke ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่พบในผู้สูงอายุเป็นหลัก จากข้อมูลจากสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจาก Stroke ปีละกว่า 50,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยวัยทำงานอายุ 15-59 ปี มากถึง 30% โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งการกิน การทำงาน การพักผ่อน ความเครียด ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ในวัยหนุ่มสาว  

ปัจจัยเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน 

  • ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่พบได้บ่อยในคนทำงาน 
  • พฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เพราะนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานานติดต่อกัน 
  • เครียดจากงาน แรงกดดันจากเป้าหมาย พักผ่อนน้อย นอนดึก ทำให้ขาดการผ่อนคลาย 
  • สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เพื่อคลายเครียด  
  • การทำงานเป็นกะ มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนเครียดและการทำงานของระบบประสาท 

สัญญาณเตือน “โรคหลอดเลือดสมอง” ที่คนวัยทำงานควรระวัง 

  • อาการปวดศีรษะรุนแรงหรือต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยปวดศีรษะมาก่อน 
  • มีอาการชา อ่อนแรง หน้าเบี้ยว พูดลำบาก ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด  
  • หูอื้อ เสียงในหูผิดปกติ เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ หน้ามืด 
  • สับสน ง่วงซึมผิดปกติ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง หรือชักโดยไม่มีไข้ 

ผลกระทบของ “โรคหลอดเลือดสมอง” ต่อชีวิตการทำงานและเศรษฐกิจ 

  • ผู้ป่วย Stroke ส่วนใหญ่ต้องหยุดงานเป็นระยะเวลานาน เพื่อทำกายภาพบำบัดและฟื้นฟูสภาพร่างกาย 
  • บางรายอาจมีความพิการหลงเหลือ ไม่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ ต้องเปลี่ยนลักษณะงาน 
  • ส่งผลกระทบต่อรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว  
  • นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ฟื้นฟูสภาพเป็นจำนวนมาก 
  • การขาดกำลังแรงงานที่มีศักยภาพ ย่อมกระทบต่อประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันขององค์กร 

แนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” ในวัยทำงาน 

  • ปรับการกิน ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน เลือกเมนูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม 
  • ลดน้ำหนัก ควบคุมรูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนลงพุง 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตการทำงาน ไม่จำเป็นต้องหักโหม 
  • เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หาวิธีคลายเครียดที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ 
  • จัดการความเครียด วางแผนการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้สมดุล พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ 
  • ตรวจสุขภาพประจำปี คัดกรองและควบคุมความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

บทบาทขององค์กรในการสร้างเสริมสุขภาพพนักงาน เพื่อลดความเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” ในที่ทำงาน 

  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น โครงการ 10,000 ก้าวต่อวัน งดสูบบุหรี่ในที่ทำงาน กิจกรรมคลายเครียด  
  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น จัดมุมพักผ่อน ปรับโต๊ะทำงานให้ถูกหลักการยศาสตร์ 
  • จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ 
  • สนับสนุนการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน ให้มีการประเมินความเสี่ยงและคัดกรองโรคแต่เนิ่นๆ 
  • มีสวัสดิการด้านสุขภาพ ประกันสุขภาพ หรือค่ารักษาพยาบาล ที่ครอบคลุมและเหมาะสม 

“Health Focus Clinic” เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำเพื่อคัดกรองและลดความเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” ในคนวัยทำงาน โดยหากคุณกำลังกังวลว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สามารถมาปรึกษาทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราได้เลย

เรามีโปรแกรมการประเมินความเสี่ยง Stroke เพื่อคัดกรองตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม พร้อมให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตการทำงานของแต่ละคน และยังมีแพ็กเกจตรวจสุขภาพเชิงลึกเพื่อประเมินสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม และสภาพแวดล้อม เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงแฝงที่อาจมองข้าม  

เราเชื่อว่า การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงเริ่มจากวันนี้ ที่จะใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น ปรับเปลี่ยนไปสู่พฤติกรรมเชิงบวก เพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน แม้จะเป็นวัยทำงานที่มีภาระหน้าที่มากมาย แต่อย่าลืมภาระสำคัญที่สุดในชีวิต นั่นคือ การมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง เพื่อจะได้มีพลังในการขับเคลื่อนตัวเองและองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาวนั่นเอง 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *