โคเอนไซม์คิวเทน เคยได้ยินกันมาบ้างใช่มั้ยคะ น่าจะเป็นวิตามินอะไรซักอย่างแน่ๆ ที่ดีต่อร่างกาย
CoQ10 โคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10)
CoQ10 หรือ โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) คือสารที่มีความคล้ายวิตามินค่ะ เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานของไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อ ร่างกายสามารถผลิต CoQ10 ได้เองในปริมาณหนึ่ง พบได้มากในอวัยวะที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่น หัวใจ ปอด ไต ตับ ตับอ่อน
CoQ10 หน้าที่และประโยชน์
CoQ10 นั้นไม่ได้ให้พลังงานโดยตรงต่อร่างกายนะคะ แต่เป็นตัวกระตุ้นให้เอนไซม์เริ่มทำงาน เราจึงเรียกมันว่า โคเอนไซม์ค่ะ
มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
เนื่องจาก CoQ10 ละลายในไขมัน จึงจะกระจายรอบผนังเซลล์อันเป็นสภาวะไขมันที่ CoQ10 ละลายได้ดี โดยจะทำหน้าที่ปกป้องผนังเซลล์ปกป้องไมโตคอนเดรียและดีเอ็นเอไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอและช่วยฟื้นฟูความเสื่อมของเซลล์ CoQ10 ยังเป็นตัวช่วยให้วิตามิน E ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดนึงสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้
ลด Oxidative Stress
Oxidative Stress คือ ภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนเสียสมดุล ทำให้ดีเอ็นเอ โปรตีน และเยื่อหุ้มเซลล์อักเสบถูกทำลายซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคต่างๆที่เพิ่มขึ้น โดย CoQ10 จะเป็นตัวช่วยปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายค่ะ
ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
งานวิจัยมากมายพบว่า CoQ10 นั้นดีต่อเซลล์หัวใจ มีบทบาทสำคัญในการช่วยปกป้องปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดตีบแข็ง ช่วยให้หัวใจแข็งแรงและลดความเสี่ยงของโรคต่างๆที่เกี่ยวกับหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคผนังเส้นเลือดแดงแข็ง โรคความดันโลหิตสูง
โรคเกี่ยวกับสมอ
เซลล์สมองประกอบไปด้วยไมโตคอนเดรียจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวสร้างพลังงานหลักของเซลล์สมอง จึงจำเป็นต้องมี CoQ10 ช่วยในการกระตุ้นร่วมสร้างพลังงาน นอกจากนั้น CoQ10 ยังช่วยปกป้องชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองจากภาวะ Oxidative Stress และงานวิจัยพบว่าสามารถช่วยชะลอการเกิด หรือการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสันได้ด้วยค่ะ
โรคทาลัสซีเมีย
มีงานวิจัยทดลองกับผู้ป่วยทาลัสซีเมียพบว่าการให้ผู้ป่วยได้รับ CoQ10 เพิ่มเป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกันนั้นช่วยลด Oxidative Stress และทำให้การต่อต้านอนุมูลอิสระทำงานได้ดีขึ้นด้วย
โรคเหงือก
CoQ10 มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับเหงือกและเหงือกอักเสบ จากการศึกษาพบว่าเมื่อให้คนไข้ที่เป็นปริทันต์อักเสบได้รับ CoQ10 ทุกวันเป็นเวลาสามเดือนแล้วนั้น ผลคือการอักเสบของเหงือกลดลงเล็กน้อย
โรคเกี่ยวกับปอด
พบว่าระดับ CoQ10 ที่ต่ำและการเกิดภาวะ Oxidative Stress อาจส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดได้ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่เมื่อเสริม CoQ10 ให้กับผู้ป่วยแล้วพบว่าการอักเสบของหลอดลมในผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้นลดลง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยค่ะ
โรคเบาหวาน
CoQ10 นั้นมีประสิทธิภาพในการช่วยอินซูลินดึงน้ำตาลออกจากหลอดเลือดเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานได้มากขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม กระตุ้นการสลายไขมัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานแบบที่ 2 ได้
ปรับสมดุลฮอร์โมน
CoQ10 มีฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและกระตุ้นประสิทธิภาพการเผาผลาญของต่อมไทยรอยด์ จึงทำให้ฮอร์โมนสมดุล เมื่อฮอร์โมนสมดุลเราก็จะมีสมองที่ปลอดโปร่ง มีความจำที่ดี นอกจากนั้นยังช่วยลดอาการซึมเศร้าด้วยค่ะ
ช่วยในการเจริญพันธุ์
CoQ10 ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของไมโตคอนเดรียในเซลล์ไข่ของผู้หญิง เพิ่มคุณภาพของเซล์ไข่และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ค่ะ
ดูแลผิวพรรณชะลอริ้วรอย
CoQ10 เป็นตัวตึงด้านดูแลริ้วรอยค่ะ
– มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันเซลล์ผิวหนังจากการถูกทำลายด้วยรังสี UVA UVB และช่วยลดริ้วรอย
– เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการปกป้องคอลลาเจนและอีลาสตินไม่ให้ถูกทำลาย
– เป็นสารที่ให้พลังงานแก่เซลล์ผิวทำให้การทำงานต่างๆของผิว เช่น การผลัดเซลล์ผิว การซ่อมแซมผิว และการสร้างผิวใหม่ทำได้ดีขึ้น
CoQ10 ในอาหาร
หมวดอาหารที่อุดมไปด้วย CoQ10 มีดังนี้ค่ะ
เครื่องในสัตว์
CoQ10 โดยปกติจะมีหนาแน่นที่บริเวณอวัยวะสำคัญ เครื่องในสัตว์ เช่น หัวใจ ตับ ปอด จึงเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วย CoQ10
เนื้อวัว เนื้อไก่
มี CoQ10 สูงค่ะโดยเฉพาะเนื้อวัวบริเวณสันนอก และน่องไก่
เนื้อปลาที่มีกรดไขมันจำเป็น
เนื่องจาก CoQ10 นั้นละลายได้ในไขมันจึงมีความต้องการไขมันเพื่อดูดซึม ยิ่งไขมันมาก CoQ10 ก็จะยิ่งมาก ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูงจึงเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วย CoQ10 ค่ะ จัดไปเลยค่ะดังนี้ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแฮร์ริ่ง ปลาเทราต์
บรอกโคลี ผักโขม
สำหรับหมวดผักที่มี CoQ10 สูง ก็ต้อง บรอกโคลี หรือผักโขมเลยค่ะ
ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
ถั่วลิสง ถั่วเหลืองมี CoQ10 สูง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
อาหารเสริม CoQ10
ปริมาณ CoQ10 ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันคือ 30 มิลลิกรัม ค่ะแต่ในขณะที่โดยปกติคนเราจะได้รับ CoQ10 จากอาหารเฉลี่ยเพียงประมาณ 3-5 มิลลิกรัม ต่อวันเท่านั้น การเติม CoQ10 ด้วยอาหารเสริมจึงทำได้และเป็นสิ่งที่แนะนำนะคะ และเนื่องจาก CoQ10 นั้นเป็นสารประกอบที่ละลายในไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมได้ช้า แต่ถัาเราทานอาหารเสริม CoQ10 พร้อมกับอาหารที่มีไขมันจะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึม CoQ10 ได้เร็วและมากขึ้นค่ะ