7 ข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และนมวัว

7-ข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และนมวัว

ในหลายมักคิดว่า เมื่อเราต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นก็ทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ในคนที่เล่นกล้ามก็จะไปทานโปรตีนจากพวกเวย์โปรตีน จากนม ซึ่งการทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โปรตีนจากนมนั้นก็มีข้อเสียที่บางคนอาจยังไม่รู้เช่นกัน แต่ในปัจจุบันคนเริ่มหันมาทานโปรตีนจากพืชเพิ่มมากขึ้น ทั้งนักกีฬาต่างๆ เช่น นักกีฬาวิ่ง นักกล้าม คนที่เล่นเวท แล้วพบว่าความแข็งแรง ความเร็ว พละกำลัง ดีขึ้นเมื่อกินโปรตีนจากพืช ทำให้มี Performance ในการเล่นกีฬาได้ดีกว่า แล้วโปรตีนจากสัตว์หรือนมมีข้อเสียอะไรบ้าง วันนี้เราจึงนำข้อเสียของการทานโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากนมมาฝากกันค่ะ

1. มีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมัน คือ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เนื้อสัตว์รสชาติอร่อยถูกปากกว่าพืชผักมาก แต่ก็ตามมาด้วยโทษเช่นกัน ไขมันในเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่แล้วเป็นไขมันอิ่มตัวแล้วถูกจัดว่าอยู่ในไขมันประเภทเลว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจ

2. มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากโปรตีนสัตว์หรือโปรตีนที่มาจากนมจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าโปรตีนจากพืชอยู่แล้ว ในโปรตีนพืชจะไม่มีคอเลสเตอรอลเลย

3. ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มาจากนมวัวจะทำให้เกิดภูมิแพ้ได้สูง เพราะโปรตีนที่มาจากนมวัวจะมีเคซีน (Casein) เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ง่าย

4. ไตทำงานหนักขึ้น เพราะว่าโปรตีนจากสัตว์หรือโปรตีนจากนมทำให้ร่างกายเป็นกรดมากขึ้น เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการขับกรดส่วนเกินออกจากร่างกายจึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้น

5. เกิดกระดูกบางกระดูกพรุน คนที่ทานโปรตีนจากสัตว์หรือนมจะทำให้เกิดกระดูกบางกระดุกพรุนมากขึ้น การศึกษาพบว่า ประเทศที่มีทานการนมในปริมาณมาก เช่น ในโซนยุโรปหรืออเมริกา เมื่อเทียบกับประเทศที่กินทานนมวัวน้อย เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่า ประเทศที่ทานนมวัวน้อยจะเกิดกระดูกบางกระดูกพรุนได้น้อยกว่าประเทศที่ทานนมวัวในปริมาณมาก เมื่อร่างกายเราเป็นกรดมากขึ้น ทำให้กระดูกต้องสลายแคลเซียมออกมาเพื่อไปบาลานซ์ความเป็นกรดของร่างกาย ซึ่งหากเราทานโปรตีนจากพืชเราจะได้แร่ธาตุต่างๆ เนื่องจากพืชปลุกมาจากดินมีการดูดซึมแร่ธาตุจากดินเข้ามา มีสารต้านอนุมูลอิสระที่โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากนมไม่มี เมื่อทานโปรตีนจากพืชเราจะได้แร่ธาตุเข้ามาจึงทำให้ร่างกายเป็นด่าง ในกระดูกของเราไม่ได้มีเฉพาะแคลเซียมยังมีแร่ธาตุตัวอื่นๆ อีกด้วย แล้วเมื่อแร่ธาตุเหล่านี้ไปเกาะที่กระดูกก็จะทำให้กระดูกแข็งแรง ซึ่งวิตามินที่จะทำให้แร่ธาตุไปเกาะที่กระดูก คือ วิตามิน K2 จะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ไม่เปราะ ไม่หักง่าย

6. อายุสั้นลง การที่คนจะมีอายุยืนยาวหรืออยู่เกิน 100 ปี โดยมากแล้วจะทานอาหารที่มีกรดอะมิโนเมไทโอนีน (Methionine) ต่ำ ซึ่งกรดอะมิโนเมไทโอนีนส่วนมากจะพบในเนื้อสัตว์ นม เพราะฉะนั้นหากต้องการมีชีวิตที่ยืนยาวควรทานกรดอะมิโนเมไทโอนีนให้น้อยๆ ซึ่งการทานโปรตีนจากพืชจะมีสัดส่วนของกรดอะมิโนเมไทโอนีนที่ต่ำ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

7. มีโอกาสเกิดมะเร็ง การทานเนื้อสัตว์สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง โดย WHO ได้จัดตั้งองค์กร IARC (International Agency for Research on Cancer) คือ องค์กรที่มุ่งวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง ได้ศึกษาดูว่ามีสารอะไรบ้างที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยได้กำหนดสารที่ก่อมะเร็งออกมา คือ 1. เนื้อสัตว์แปรรูป 2. เนื้อแดง เช่น วัว หมู ในประเทศที่ทานเนื้อแดงปริมาณมากมีโอกาสทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง หากต้องการทานเนื้อแดงแนะนำควรทานเนื้อแดง 400 กรัม/สัปดาห์ ซึ่งการกินเนื้อแดงต่ำกว่า 400 กรัม/สัปดาห์ โอกาสเกิดมะเร็งจะลดลง

หากทานโปรตีนจากพืช แนะนำโปรตีนที่ไม่ได้ทำมาจากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองจะมารบกวนการทำงานของฮอร์โมน ซึ่งในถั่วเหลืองจะมีไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งในผู้ชายที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อไม่ได้ต้องการไฟโตเอสโตรเจน โดยมันจะไปรบกวนฮอร์โมนจึงทำให้การสร้างกล้ามเนื้อทำได้ยากขึ้น แล้วในถั่วเหลืองยังมีการทำ GMOs (Genetically Modified Organisms) หรือการตัดต่อพันธุกรรมเยอะจึงควรเลี่ยงโปรตีนที่ทำมาจากถั่วเหลืองจะดีกว่า แนะนำให้ใช้โปรตีนจากพืช พีโปรตีน (Pea Protein) เช่น โปรตีนจากถั่วลันเตา ถั่วดาวอินคา อัลมอนด์ เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) ซึ่งในเมล็ดแฟลกซ์จะได้โอเมก้า 3 ที่ช่วยลดการอักเสบ แต่ในโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีโอเมก้า 6 ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ

จะเห็นได้ว่า เหตุผลที่ไม่ควรทานโปรตีนจากสัตว์มีหลายอย่างด้วยกัน และเป็นบ่อทำลายสุขภาพของเราได้ การเลือกทานโปรตีนจากพืชจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ส่วน ยังไงก็อย่าลืมหาโปรตีนพืชมาทานกันนะคะ เพื่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรงของเราค่ะ

นพ.​ อรรถ​สิทธิ์​ ศักดิ์​สุธา​พร (หมออรรถ)
ประจำอยู่ที่ Health Focus Clinic
📍The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *