หลายคนมีความเชื่อว่าการรักษาความดันโลหิตสูงจะต้องทานยาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการรักษาความดันโลหิตสูงมีวิธีอื่นๆ นอกจากทานยา และสามารถลดความดันได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
1. มีเครื่องวัดความดันที่บ้าน
การวัดความดันที่บ้านสามารถบ่งบอกความดันของผู้ป่วยได้ดีกว่าวัดที่โรงพยาบาล เนื่องจากเราอยู่บ้านเป็นประจำสามารถตรวจได้บ่อยมากกว่า แนะนำให้วัดความดันทุกวัน 2 ช่วงเวลา คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า 1 ชั่วโมง และก่อนนอน หากใครที่รักษาด้วยการทานยาควรวัดก่อนทานยา
2.ออกกำลังกาย
ออกกำลังกายให้รู้สึกแค่เหนื่อยเพียงเล็กน้อย ไม่หักโหมเกินไป อาจเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิก เดินเร็ว หรือจ็อกกิ้ง ตามความเหมาะสมของร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที แต่หากวัดความดันแล้วสูงเกินกว่า 180/100 มิลลิเมตรปรอท ควรงดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์
3. ลดเค็ม ลดโซเดียม
การกินเค็มทำให้ความดันเพิ่มขึ้นได้ และทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันได้ ลดเค็ม คือ ลดเกลือโซเดียมให้ต่ำกว่า 2 กรัม/วัน เทียบกับกับเกลือแกงเท่ากับ 1 ช้อน/วัน เทียบกับซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา เท่ากับ 4 ช้อน/วัน นอกจากเครื่องปรุงต่างๆ แล้ว อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง ของหมักดองต่าง ๆ ก็มีปริมาณโซเดียมสูงเช่นกันเพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยง เมื่อลดเค็มแล้วควรเพิ่มผักผลไม้ ปริมาณ 20-30 กรัม/วัน แต่ควรระวังผลไม้ที่มีรสหวาน และคนที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
4. เลิกเหล้า เลิกบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ส่วนการสูบบุหรี่นั้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวของโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะฉะนั้นควรเลิกให้เด็ดขาด
5. เพิ่มตัวช่วย
แนะนำ Bluvas จะเป็นตัวช่วยในการลดความดันโลหิต ลดกรดยูริกที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ป้องกันหลอดเลือดเสื่อมสภาพ และไตวายได้ สำหรับคนที่ทานยาความดันอยู่แล้ว ให้ทาน Bluvas เสริมในช่วงที่ไม่ได้ทานยา หรือทานเสริมในช่วงที่ความดันคุมได้ไม่ดี Bluvas ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดยาความดันลงอีกด้วย
นอกจาก 5 ข้อนี้แล้วการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ และไปพบแพทย์ตามนัดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแพทย์จะช่วยตรวจประเมินผลการรักษาได้ หากทำได้ครบทุกข้อแล้ว มั่นใจได้เลยค่ะว่าความดันของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
นพ. อรรถสิทธิ์ ศักดิ์สุธาพร (หมออรรถ)
ประจำอยู่ที่ Health Focus Clinic
📍The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)