ความไม่สมดุลของฮอร์โมนส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ในรูปแบบของความผิดปกติทั่วไป เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ภาวะมีบุตรยาก ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ และฮอร์โมนเอสโตรเจนครอบงำ
เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลมักจะมีอาการรู้สึกกระวนกระวาย เหนื่อย หงุดหงิดง่าย น้ำหนักขึ้นหรือลด นอนหลับไม่สนิท และสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในความต้องการทางเพศ การมีสมาธิจดจ่อ และความอยากอาหาร ซึ่งสาเหตุของความไม่สมดุลของฮอร์โมนนั้นเกิดจากสุขภาพลำไส้ไม่ดี การอักเสบ ความเครียดสูง ความอ่อนแอทางพันธุกรรม น้ำหนักเกิน และความเป็นพิษในร่างกาย หากคุณมีอาการเหล่านี้ เรามีวิธีปรับสมดุลฮอร์โมนที่อาจเป็นตัวช่วยที่ช่วยให้คุณหายจากอาการเหล่านี้ได้
1. เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นไขมันเพื่อสุขภาพ
ร่างกายต้องการไขมันหลายชนิดเพื่อใช้ในสร้างฮอร์โมน ซึ่งไขมันจำเป็นเหล่านี้ ยังช่วยรักษาระดับการอักเสบให้ต่ำ เพิ่มการเผาผลาญ และช่วยในการลดน้ำหนัก ซึ่งไขมันดีมีผลตรงกันข้ามกับคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นตัวนำไปสู่การอักเสบ และอาจส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนได้ อาหารที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าว อะโวคาโด และปลาแซลมอน ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตแปรรูป และน้ำมันพืช เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของความไม่สมดุลของฮอร์โมน
2. อาหารเสริมเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการ
แม้ว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสุขภาพทุกด้าน แต่บางครั้งก็จำเป็นต้องเสริมเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการที่อาจนำไปสู่ความไม่สมดุลของฮอร์โมนอาหารเสริมอันดับต้น ๆ ที่ควรเน้นเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมน :
👉 Vitamin D : เป็นวิตามินที่ดีที่สุดสำหรับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เนื่องจากมันเกือบจะทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนภายในร่างกาย และมีหน้าที่สำคัญต่อการรักษาระดับการอักเสบให้ต่ำอีกด้วย ควรเสริมวิตามินดี 3 ประมาณ 2,000–5,000 IU ต่อวัน
👉 Probiotic : เป็นแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถช่วยในการผลิตและการควบคุมฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น อินซูลิน เกรลิน และเลปติน พวกมันยังสามารถช่วยในการซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ของคุณ ซึ่งจะทำให้ฮอร์โมนของคุณสมดุล Probiotic สามารถหาได้จากอาหารมักดอง เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ กะหล่ำปลีดอง และจากอาหารเสริมแคปซูล Probiotic
3. จัดการกับความไม่สมดุลทางอารมณ์
อารมณ์มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ซึ่งอารมณ์ต่าง ๆ ส่งผลต่อฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ทำให้เกิดโรคในอวัยวะสืบพันธุ์ ไต และต่อมหมวกไต ซึ่งส่งผลต่อระดับคอร์ติซอล อาจะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก อารมณ์หงุดหงิด ใจร้อน อารมณ์วิตกกังวลอาจทำให้เกิดปัญหากับระดับอินซูลินของคุณซึ่งอาจส่งผลต่อฮอร์โมนหลายชนิด คุณสามารถจัดการกับความไม่สมดุลของอารมณ์ได้โดยการลดระดับความเครียด ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ฝึกสมาธิ และการฝึกหายใจเข้าลึกๆ
4. นอนหลับให้มากขึ้น
การนอนหลับช่วยรักษาฮอร์โมนความเครียดให้สมดุล อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพลังงาน และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี ความเครียดและการนอนไม่พอนั้นมีความสัมพันธ์กันกับ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงขึ้น ภูมิคุ้มกันลดลง มีปัญหาในการทำงาน รู้สึกวิตกกังวล น้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีภาวะซึมเศร้า ดังนั้นเพื่อเพิ่มการทำงานของฮอร์โมนให้ดีขึ้น ควรเข้านอนก่อน 22.00 น. และพยายามนอนให้ครบ 7-8 ชั่วโมง
5. การใช้ฮอร์โมนเสริม
เป็นการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อปรับความสมดุลกันของฮอร์โมน โดยการใช้ฮอร์โมนธรรมชาติเสริม ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีโครงสร้างตามธรรมชาติของร่างกาย ใช้เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนให้กับร่างกาย คือ
👉 ฮอร์โมนแบบทา Female Hormones สำหรับผู้หญิง
👉 ฮอร์โมนแบบทา Bioidentical Testosterone สำหรับผู้ชาย
***ฮอร์โมนตัวนี้ไม่สามารถใช้แทนการคุมกำเนิด
การใช้ฮอร์โมน แนะนำให้ใช้ร่วมกับสารสกัดป้องกันมะเร็งตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า DIM ซึ่ง DIM ประกอบด้วยสาร Indole-3 Carbinol เป็นอาหารเสริมที่สกัดจากบล็อกโคลีและผักกะหล่ำมีคุณสมบัติช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยป้องกันมะเร็งได้