ความดัน

ความดัน

#HealthFocusClinic #หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ทาง Health Focus Clinic จึงรวบรวมความรู้ในด้านสุขภาพ จาก หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ) เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน

สาเหตุของภาวะความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยร่วมบางอย่างที่ทำให้ความดันโลหิตสูง โดยมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ

พันธุกรรมและพฤติกรรม และน้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูงจากการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด หรือการเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไต เป็นต้น

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

หลอดเลือดสมองแตก พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก
ความดัน โรคหลอดเลือดสมอง

ความหมายของค่าความดันโลหิตแต่ละระดับ

ความดันโลหิตซีสโตลิก (มิลลิเมตรปรอท)

  • น้อยกว่า 120 ความดันโลหิตปกติ
  • 120-139 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 140 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (มิลลิเมตรปรอท)

  • น้อยกว่า 80 ความดันโลหิตปกติ
  • 80-89 ระดับก่อนการเป็นความดันโลหิตสูง
  • 90 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร

ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

ความดันโลหิตแบบไหนเรียกว่าสูงและแบบไหนเรียกว่าดี

ความดันโลหิตที่ดีที่สุดที่ถือว่าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจะอยู่ที่ 110/70

ค่าความดันจะมีอยู่สองตัว คือ ตัวเลขค่าความดันบน และตัวเลขค่าความดันด้านล่าง

ส่วนค่าความดันที่เป็นปกติ จะต่ำกว่า 120/80 หรือต่ำกว่านี้ แต่หากค่าความดันที่เกิน 120 ขึ้นไป จัดว่าเป็นความดันสูง ไม่ว่าจะเกินตัวบนหรือเกินตัวล่าง ตัวอย่างเช่น 125/80 หรือ 120/85 ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

แต่เมื่อความดันโลหิตเริ่มสูงถึง 140/90 จัดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่จะต้องได้รับยาในการรักษา

140/90 เป็นความดันโลหิตสูงระดับที่ 1

160/100 เป็นความดันโลหิตสูงระดับที่ 2

ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจผิดว่าความดันโลหิตสูงไม่ถึง 140/90 ยังไม่จัดเป็นความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง 120/80 ก็ถือเป็นความดันโลหิตสูงแล้วแต่ยังไม่จำเป็นต้องกินยา

ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่มีอาการ

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไตวาย และโรคอัมพาต ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ การตรวจวัดความดันสม่ำเสมอจะช่วยวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก และการควบคุมความดันโลหิตให้ได้ถึงเกณฑ์ปกติ ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยจะช่วยให้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

จะทำอย่างไร..เมื่อรู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เริ่มเป็น หรือระดับความดันโลหิตยังสูงไม่มาก จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ความดันโลหิตกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ (ความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท) โดยไม่ต้องอาศัยการรับประทานยา

หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความดันโลหิตสูง

1. ลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)
2. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
3. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. งดบุหรี่
5. ลดแอลกอฮอล์

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตและลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่หากหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ การรักษาโรคโดยการใช้ยาเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอหลังจากที่ทราบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบทำลายหัวใจ

1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท)

2. ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ ดังนั้นถ้าป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจได้

3. ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล

4. นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

5. สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการ ลดกินเกลือ (โซเดียม) เพิ่มการรับประทานผักผลไม้(รสหวานน้อย) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่

นพ.​ อรรถ​สิทธิ์​ ศักดิ์​สุธา​พร (หมออรรถ)
ประจำอยู่ที่ Health Focus Clinic
📍The Grove Hathairaj (เดอะ โกรพ หทัยราษฏร์)

ลดยา ลดโรค, รักษาโรคเบาหวาน, ไขมันสูง, ความดัน, หลอดเลือดหัวใจและสมอง, มะเร็ง โดยแพทย์เฉพาะทาง ที่ตั้งใจอยากให้ทุกคนสามารถดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี ปัญหาสุขภาพที่หลาย ๆ คนนั้นไม่ทราบวิธีดูแล หรือยังทำพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพลงไปทุกวัน ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่ไม่ทราบถึงพฤติกรรม หรือ การดูแลสุขภาพ ทาง NCD Clinic จึงรวบรวม ความรู้ในด้านสุขภาพ จาก คุณหมออรรถสิทธิ์(เจ้าของเพจอย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ) เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน