#HealthFocusClinic #หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำ หนดขึ้น ซึ่งค่าปกตินี้ได้มาโดยการเก็บข้อมูลทางสถิติของระดับไขมันในเลือดของคนทั่วไป โดยพบว่าเมื่อมีค่าเกินระดับหนึ่งแล้วบุคคลนั้นๆก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและตามมาคือโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) การที่บุคคลใดควรจะมีระดับไขมันเท่าใด และจะเลือกการรักษาแบบไหนขึ้นอยู่กับว่ามีความเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วยอีกกี่ความเสี่ยง
ทาง Health Focus Clinic จึงรวบรวมความรู้ในด้านสุขภาพ จาก หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ) เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน
ดังนั้นการกำหนดระดับไขมันในแต่ละคนจึงอาจไม่เท่ากัน โดยรวมโรคนี้พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าคนเชื้อชาติเอเชีย และพบในคนที่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าในเขตชนบท สำหรับในประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้เก็บรวบ รวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีโรคไขมันในเลือดสูง แต่อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่โรคนี้จะพบมากขึ้นเรื่อย ๆสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและการบริโภคเป็นสำคัญ
ชนิดของไขมันในเลือด
- คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากตับและลำไส้ หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ จะพบมากในไขมันสัตว์ ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร คอเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และการตีบตันของหลอดเลือดในอนาคต จะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณคอเลสเตอรอล และปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน และไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น คนปกติจะต้องมีค่าคอเลสเตอรอลรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล.
- ไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 170 มก./ดล. ไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับคอเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายและนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. ส่วนไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล. คอเลสเตอรอลรวมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ High-Density Lipoprotein (HDL) เป็นไขมันชนิดดี มีความหนาแน่นสูง ทำหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ การมีไขมัน HDL สูงจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดลดลง ซึ่งการทำให้ HDL สูงนั้นต้องออกกำลังกายเท่านั้น Low-Density Lipoprotein (LDL) เป็นไขมันชนิดไม่ดีที่มาจากไขมันสัตว์ ถ้าไขมันชนิดนี้สูงจะไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้ตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจากน้ำตาล และแป้ง หรือจากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน นอกจากนี้ ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง หรือพบว่าไขมันในเลือดสูงในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือด ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูง
-
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
- ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่เบาหวาน
กลุ่มไขมันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ไขมันกลุ่มคอเลสเตอรอล คือไขมันที่เกิดจากสัตว์ แบ่งเป็นไขมันดี ไขมันเลว
ไขมันกลุ่มไตรกลีเซอไรด์ คือไขมันที่มาจากพืช หรือจาก แป้ง น้ำตาล
3 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล
1.ความเข้าใจผิด คอเลสเตอรอลสูงห้ามทานไข่แดงและอาหารทะเล หลายๆคนพอมีคอเลสเตอรอลสูงไม่กล้ากินไข่แดงเลย จริงๆแล้วการกินไข่แดงหรืออาหารทะเลมันมีผลกระทบเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ตัวอย่างเช่น มีคนกลุ่มหนึ่งไม่กินคอเลสเตอรอล คือกลุ่มคนกินมังสวิรัติ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ก็มีคอเลสเตอรอลสูงได้ แม้จะไม่ได้กินคอเลสเตอรอลเข้าไป เพราะฉะนั้นคอเลสเตอรอลเกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง 75% เกิดจากการทานอาหารเพียงแค่ 25% เท่านั้น หลายๆคนพอมีคอเลสเตอรอลสูงแล้วไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล แล้วคุณหมอให้คุมอาหารก็จะลดคอเลสเตอรอลได้เพียง 10 – 15 % เท่านั้นเอง ซึ่งตัวไข่แดงและอาหารทะเลไม่ได้มีผลต่อคอเลสเตอรอลขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือร่างกายของเราว่าทำไมถึงสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นมา ส่วนใหญ่คนไข้ที่คอเลสเตอรอลสูงจะมีปัญหาเรื่องฮอร์โมน เช่น หมดประจำเดือน หรือ ช่วงวัยทอง เพราะคอเลสเตอรอลคือสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมน เพราะเนื่องจากร่างกายคนเราต้องการคอเลสเตอรอลเพื่อที่จะไปสร้างเป็นฮอร์โมนต่อ พอถึงช่วงเวลาที่ประจำเดือนหมด ฮอร์โมนลดลงไป ร่างกายจะรู้สึกว่าฮอร์โมนไม่มี หรือมีไม่พอ ตับจึงทำหน้าที่สร้างคอเลสเตอรอลเยอะขึ้น เพื่อให้เอาคอเลสเตอรอลไปสร้างเป็นฮอร์โมนต่อ หรือในหลายๆคนที่มีเรื่องของความเครียด ก็ทำให้คอเลสเตอรอลขึ้นได้เหมือนกัน เพราะเวลาที่เรามีความเครียด มันจะต้องมีฮอร์โมนตัวหนึ่ง ที่มาซัพพอร์ตความเครียดของเรา พอเวลาเครียดเยอะๆ แล้วฮอร์โมนตัวนี้ไม่พอ ร่างกายก็จะสร้างคอเลสเตอรอลเยอะขึ้น เพื่อให้มาสร้างฮอร์โมนที่คอยซัพพอร์ตความเครียดนี้
2.ความเข้าใจผิด เปลี่ยนจากการบริโภคเนยแท้ มาทานเนยเทียม เพราะเชื่อว่ามีคอเลสเตอรอล จึงไปทานเนยเทียม ซึ่งคือมาการีนนั่นเอง เพราะคิดว่าเนยแท้ หรือไขมันจากสัตว์เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดหัวใจ โดยคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่ามาการีนไม่ก่อให้เกิดโรคหัวใจเพราะเป็นไขมันจากพืชนั่นเอง แต่ตัวมาการีนเองก็ก่อให้เกิดอัตราโรคหัวใจที่สูงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นงานวิจัยหนึ่ง ให้ครอบครัวอเมริกันกลุ่มหนึ่งทานเนยแท้ อีกกลุ่มหนึ่งทานเนยเทียม โดยติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยค้นพบว่ากลุ่มคนที่ทานเนยเทียมมีคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอย่างมาก Tran Fat เหล่านี้ไปออกฤทธิ์ในระดับยีน ที่กระตุ้นให้ร่างกายเราสร้างคอเลสเตอรอลให้สูงขึ้น ถึง 3-5 เท่าเลย แต่เนยเทียมมีการใช้อย่างแพร่หลายเพราะราคาถูก และอยู่ได้ยาวนาน
3.ตัวร้ายที่ไม่ใช่คอเลสเตอรอล ก็คือแป้งและน้ำตาล ซึ่งแป้งและน้ำตาล คือตัวที่ทำให้ไขมันมาอุดตันในเส้นเลือดซึ่งการตรวจคอเลสเตอรอลจะได้ค่ามาเป็น 4 ค่า ได้แก่
3.1 ค่าคอเลสเตอรอลรวม
3.2 HDL ไขมันดี
3.3 LDL ไขมันเลว
3.4 ไตรกลีเซอไรด์ (ไขมันพืช) แป้ง , น้ำตาล
เวลาเช็คค่าคอเลสเตอรอลว่าสูงเกินไปหรือไม่ จะเช็คที่ LDL ต่อ HDL ถ้าสูงเกิน 3 เท่า จัดว่ามีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ถ้า HDL 50 / LDL จะไม่เกิน 150 ซึ่งหากจะเช็คว่า LDL ดีหรือไม่จะต้องดูค่า ไตรกลีเซอไรด์ร่วมด้วย
น้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดโดยตรง ทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบ ถ้าเป็นหลอดเลือดปกติไขมันจะไม่ค่อยเกาะแต่หากมีน้ำตาลเยอะ จนทำให้หลอดเลือดอักเสบไขมันจะยิ่งไปเกาะได้ง่าย ร่วมกับทำให้ไขมันตัวเล็กลง หรือ คอเลสเตอรอลตัวเล็กลงด้วย ก็จะยิ่งไปเกาะง่ายขึ้นไปด้วย
ข้อควรปฏิบัติ เมื่อไขมันในเลือดสูง
- ควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด
- รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งมีกรดไลโนเลอิกเป็นตัวนำ คอเลสเตอรอลไปเผาผลาญซึ่งจะช่วยในการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
- ควรเพิ่มอาหารประเภทผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้กากและใย เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก ให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น เพื่อช่วยในการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
- การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับของ HDL ควรทำอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที การออกกำลังกายที่ดี เช่น การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน
- งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ HDL ในเลือดต่ำลง เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- ปรึกษาแพทย์ ติดตามผล การปฏิบัติตัวบางระยะอาจต้องใช้ยาช่วยปรับระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและติดตามผลการรักษาต่อไป
5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันได เดินขึ้นเนิน หรือออกกำลังกายเบาๆ ก็เหนื่อย
- เวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
- ปวดศีรษะมาก เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน หรือลุกนั่งเร็วๆ
- ใจสั่น ใจเต้นเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น
- แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ