#HealthFocusClinic #หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ)
เบาหวาน โรคที่ไม่หวานสมชื่อ เพราะเมื่อเป็นแล้วจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย และถึงแม้โรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปหรือควบคุมลงมาสู่ระดับของคนปกติได้หากรู้จักดูแลตนเองและมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ทาง Health Focus Clinic จึงรวบรวมความรู้ในด้านสุขภาพ จาก หมออรรถ(อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ) เพื่อเป็นความรู้ให้กับทุกคน
โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลินได้เลย (อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต) เบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีเบาหวานชนิดที่ 2 พบมากในคนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีหรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเหมือนขาดอินซูลินไประดับหนึ่ง ร่างกายต้องทดแทนโดยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น จนตับอ่อนทำงานมากขึ้นจนทำงานไม่ไหวถ้าไม่ช่วยแก้ไข นอกจากนี้ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ยังสร้างอินซูลินได้ไม่มากเท่าคนปกติด้วย จึงมีระดับอินซูลินที่ไม่พอเพียงแก่ความต้องการ สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ได้แก่ พันธุกรรม ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ดังนั้น หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากขึ้นเบาหวานชนิดที่ 3 เป็นเบาหวานชนิดที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ ตับอ่อนถูกตัด โรคที่มีเหล็กสะสมมากเกินไปในตับจนทำให้ตับเสียหาย การรับประทานยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การได้รับสารเคมี ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเบาหวานชนิดที่ 4 เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป แต่คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นเบาหวานได้อีกในอนาคต
อาการของโรคเบาหวาน
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
- หิวน้ำบ่อย
- หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด
- ผิวแห้ง
- เป็นแผลแล้วหายยาก
- ตาพร่ามัว
- ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ความรุนแรงของโรคเบาหวาน
ในแต่ละวันจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 200 คน หรือ 8 รายต่อชั่วโมง และมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีชีวิตอยู่โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ประเทศไทยมียอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละกว่า 8,000 คน และพบว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงขึ้นจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป
สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก โดยได้กำหนดสาระสำคัญประจำปี 2018-19 คือ “The Family and Diabetes” เพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโรคเบาหวานที่มีต่อบุคคลในครอบครัว นอกจากนี้ยังมุ่งให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตลอดจนการป้องกันโรคเบาหวานโดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอีกด้วย
บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และควรได้รับการตรวจคัดกรอง ได้แก่
- ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่อ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI มากกว่า 25) และมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
- มีโรคความดันโลหิตสูง
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีประวัติคลอดทารกน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- สตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome)
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
- รับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการในปริมาณที่พอดีกับที่ร่างกายต้องการ ไม่รับประทานมากจนเกินไป อาจแบ่งมื้ออาหารเป็นเช้า กลางวัน เย็น และมื้ออาหารว่างตอนสายหรือบ่าย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานแล้วมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น เช่น น้ำตาลทราย เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในแต่ละวันไม่ควรอยู่นิ่งๆ ควรมีการขยับเขยื้อนร่างกาย เช่น เดินขึ้นลงบันได จอดรถให้ไกลเล็กน้อยเพื่อจะได้เดิน
- หมั่นตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด
- ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
- พบแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือแพทย์ด้านสุขภาพโดยตรง
“ ตับอ่อนของเรามีหน้าที่ในการควบคุม และหลั่งอินซูลตับอ่อนพอเวลาทำงานหนักมากๆ มันจะเสื่อมสภาพ “
3 แนวทางการรักษาเบาหวานให้หายขาดโดยไม่ใช้ยา
โรคเบาหวานสามารถรักษาหายได้ โรคเบาหวานเป็นโรคที่คนทั่วไป หรือหลายๆ คนมักคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย
เวลาเป็นแล้วจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย เพราะเบาหวานเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
มีแนวทางการรักษา แบ่งเป็น 3 ข้อด้วยกัน
ข้อที่ 1 จะต้องฟื้นฟูตับอ่อนขึ้นมาให้ได้ เบาหวานเป็นโรคที่ตับอ่อนเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ได้ไม่ดีเท่าที่ควร เวลาที่เรากินน้ำตาลเข้าไปตับอ่อนจะทำหน้าที่โดยการหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อให้อินซูลินไปลดระดับน้ำตาลในเลือด ในคนที่กินหวานบ่อยๆ ตับอ่อนจะทำงานหนัก หลั่งอินซูลินออกมาเรื่อย ๆ เพื่อมาคุมระดับน้ำตาลในเลือด เวลาที่เรากินหวานเยอะเข้า ตับอ่อนพอเวลาทำงานหนักมาก ๆ จึงเกิดการเสื่อมสภาพ วันแรกที่เราถูกวินิจฉัยว่าเราเป็นเบาหวานแล้ว ตับอ่อนของเราเสื่อมสภาพไปแล้วกว่า 50% เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากหายขาดจากการเป็นเบาหวาน หลักสำคัญเลยคือ “เราต้องฟื้นฟูตับอ่อนของเราให้ได้” จึงจะสามารถกลับมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเป็นปกติ ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ สำหรับการฟื้นฟูตับอ่อนมีอยู่ 2 ส่วน ด้วยกัน
ส่วนที่ 1 ส่วนที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง คือการทำ IF (Intermittent Fasting) เป็นการกำหนดช่วงเวลาในการทานอาหารและหยุดทานอาหาร การทำ IF ที่นิยมมากที่สุดคือการทำ IF 16/8 (คือในหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง แบ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทานอาหารได้ 6 ชั่วโมง และแบ่งเป็นช่วงเวลาที่หยุดทานอาหาร 16 ชั่วโมง ซึ่งใน 16 ชั่วโมงนี้ให้ดื่มได้แต่น้ำเปล่าเท่านั้น ทานอาหารอื่นๆไม่ได้จนกว่าจะครบ 16 ชั่วโมง) ทุกครั้งที่เราทานอาหารตับอ่อนเราจะเริ่มทำงาน เพราะฉะนั้นการทำ IF คือการให้ตับอ่อนมีช่วงเวลาได้พักนานๆ ในช่วง 16 ชั่วโมง ที่เราไม่ทานอาหารเลย ตับอ่อนจะได้พักเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองขึ้นมา จึงเป็นการฟื้นฟูตัวอ่อนวิธีนึงที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
ในคนที่เป็นเบาหวาน จะทำ IF ได้ยาก เพราะเซลล์ของเราจะนำน้ำตาลไปใช้ไม่ค่อยได้ เลยกระตุ้นให้เราหิวบ่อย อาจจะทำ IF ยากนิดนึง ในช่วงแรกๆ หากยังมาสามารถทำได้ให้เริ่มจากจำนวนชั่วโมงที่น้อยกว่า เช่น 12/12 (แบ่งเป็นช่วงเวลาทานอาหาร 12 ชั่วโมง และแบ่งเป็นช่วงเวลาที่หยุดทานอาหาร 12 ชั่วโมง แล้วค่อยๆปรับบีบลดช่วงเวลาในการทานอาหารให้ลดลง จนได้ 16/8 แต่เพื่อผลที่ดีที่สุด ให้ลดลง จนถึง 18/6 คือระยะเวลาทานคือ 6 ชั่วโมง อีกวิธีที่มากไปกว่านั้นคือการใช้สารอาหารขนาดสูงในการฟื้นฟูตับอ่อน สามารถใช้สารอาหารบางชนิดที่ช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อน หรือเซลล์ตับของของเราแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมา หรือสารอาหารบางชนิด เช่น Vitamin D3 ประมาณวันละ 5,000 IU ซึ่งจะทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้มากขึ้น แล้วอินซูลินนี้ก็จะเข้าไปช่วยคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น
ส่วนที่ 2 ป้องกันภาวะทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เบาหวานเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนเยอะ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เรื่องของตาและผลข้างเคียงของตา อาจจะทำให้บางคนสูญเสียการมองเห็นได้เลย รวมไปถึงเรื่องของไต
แนวทางในการรักษาใน 2 ข้อนี้ เราต้องป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ไม่ให้เกิดในผู้ป่วยเบาหวานของเราเลย การที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ 1 ก็คือว่าสิ่งต่างๆทุกอย่างที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน เราต้องตรวจให้หมด และจะต้องมีการให้สารอาหารในการป้องกัน ตัวอย่างเช่น Vitamin B ในงานวิจัย การทาน Vitamin B1 กับ Vitamin B6 สองตัวนี้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานได้ B1 ที่ดีจะมาในฟอร์มที่ชื่อว่า Benfotiamine ส่วน B6 ฟอร์มที่ดีคือ Pyridoxamine หรือจริงๆ ที่คุณหมอนะนำมากกว่าคือ ให้ทาน B100 ตัวโรคเบาหวานเองทำให้เราขาด Vitamin B อยู่แล้ว ส่วนยาที่รักษาเบาหวานเองก็ทำให้ขาด Vitamin B เช่นเดียวกัน คนที่เป็นเบาหวานควรจะต้องรับประทานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ส่วนที่ 3 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับข้อนี้จนละเลยข้อที่ 1 – 2 ไป ซึ่งแพทย์แนะนำว่า ข้อที่ 1 และ 2 ก็มีความสำคัญไม่แพ้การคุมระดับน้ำตาลในเลือดเลย เริ่มแรกเลยคือเรื่องของการกิน การที่เราเป็นเบาหวานซึ่งที่ต้องคุมก็คือ ต้องคุมอาหารในหมวดหมู่คาร์โบไฮเดรต (ข้าว,แป้ง,น้ำตาล) น้ำตาลไม่แนะนำให้ทานอยู่แล้ว ส่วนคาร์โบไฮเดรตแนะนำให้ทานเป็นเชิงซ้อน (เช่น เผือก มัน ฟักทอง หรือ ข้าวโพด) ต่อมาคือเรื่องของการออกกำลังกายด้วยการเดินสัก 10-15 นาที นาที หลังมื้ออาหารทุกมื้อ ถ้าหากว่าทานอาหารในหนึ่งวัน 3 มื้อ ให้เดินทั้ง 3 มื้ออาหาร เพราะเวลาที่เราเดินกล้ามเนื้อจะดึงน้ำตาลที่เราทานในมื้อนั้นๆมาใช้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของเราไม่สูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สะดวก ให้ยืนก่อน ไม่ควรนั่งหรือนอนทันที หลังมื้ออาหาร สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการมาก อาจจะต้องทานยาไปก่อน ในส่วนของยารักษาเบาหวานอาจจะต้องตัดตัวยาเบาหวานที่ไม่ค่อยดีออกไปก่อน เนื่องจากบางตัวออกฤทธิ์ไม่ค่อยดี บางกลุ่มออกฤทธิ์โดยการที่ เฆี่ยนให้ตัวตับอ่อนหลั่งอินซูลินให้มากขึ้นไปอีก ถ้าเกิดเรากินยาเบาหวานในกลุ่มนี้จะทำให้เซลล์ตับอ่อนเราตายมากขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจะไม่มีวันดีขึ้นเลย จะมีแต่แย่ลงเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นส่วนนึงในการคุมน้ำตาลเราจะต้องอาศัยยาเบาหวานในหมวดที่ดีและปลอดภัย ซึ่งตรงนี้ต้องทำการพบคุณแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้การฟื้นฟูร่างกายก่อนว่าจะต้องเลือกใช้กลุ่มไหน ซึ่งการรักษาเบาหวานของผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาไม่เท่ากัน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้วเซลล์ตับอ่อนตายไปมากแล้วการฟื้นฟูเซลล์ตับอ่อนก็จะทำได้ช้ากว่า ซึ่งในช่วงแรกๆสำหรับการรักษาอาจจะต้องมียาบางส่วนอยู่ก่อน หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดยาลง ส่วนในผู้ป่วยยที่เพิ่งเริ่มเป็นจะฟื้นฟูได้ง่ายกว่า และเร็วกว่ามาก
เลือกบริโภค…เมื่อเป็น เบาหวาน
1. เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ประมาณ 55-60%โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%ไขมัน ประมาณ 25%2. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยรับประทานปรกติ และพยายามงด อาหารมันๆ ทอดๆ3. รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย4. หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา5. พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ6. หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม7. แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป
อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็น โรคเบาหวาน
1. น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้ง2. ผลไม้ที่มีรสหวาน หรือผลไม้แปรรูปที่มีรสหวาน3. น้ำอัดลมที่มีน้ำตาล น้ำหวาน ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ4. ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด
วิธีลดความเสี่ยง ภาวะสมองเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน
“สิ่งที่ดีต่อหัวใจ ย่อมดีต่อสมองของคนเราด้วย” คือ อาหาร ออกกำลังกาย และใจ สม่ำเสมอ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และท้าทายตัวเองอยู่เรื่อยๆ ทุกวัน เพื่อช่วยพัฒนาการฝึกความคิด ทักษะการทำงานของสมองอยู่เสมอ
นักกายภาพบำบัด มีบทบาทดูแลเรื่องการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและควบคุมน้ำตาล ถือเป็นการดูแลก่อนมีภาวะแทรกซ้อนเข้ามา โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 30-40 นาที โดยทำ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาที ต่อ สัปดาห์ ควบคู่กับการควบคุมอาหาร
เบาหวานยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ซึ่งเกิดได้หลายช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อม แต่ถ้าเป็นความเสื่อมตามอายุ ปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องของความจำระยะสั้น ความคิด บทบาทที่นักกายภาพต้องเข้าไปดูแลร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด ต้องฝึกการคิดเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อเป็นการฝึกสมอง เช่น การออกแบบการวางสิ่งของให้มีลักษณะเป็นที่ประจำ การฝึกการเคลื่อนไหวร่วมกับการฝึกความคิด เช่น การเดิน ร่วมกับการนับเลขเป็นต้น เพื่อรักษาทักษะการรู้คิดให้สามารถใช้งานได้ต่อไป